มหกรรมการจัดการความรู้สุขภาพดีวิถีพอเพียง อำเภอสองแคว


กระบวนการแบ่งปันความรู้ แบ่งปันความสุข และสร้างมิตรภาพ ลดทุกข์ สร้างสุข ด้วยวิถีแห่งความพอเพียง

 

อ.สองแคว อำเภอชายแดนของจังหวัดน่านที่เป็นรอบตะเข็บติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และลาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดสายน้ำสำคัญ ๓ สาย ได้แก่ น้ำยอด, น้ำยาว, และขุนน้ำพริก มีผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ อาทิเช่น ชนพื้นเมือง, ขมุ, เมี่ยน, ม้ง, ก่อ, ไทลื้อ เป็นต้น แต่ก็อยู่อาศัยร่วมกันอย่างสันติสุข

 

ชุมชนที่นี่ส่วนใหญ่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น และด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและเป็นต้นกำเนิดสายน้ำ วิถีชีวิตของคนที่นี่จึงอยู่กับป่า กับน้ำ หากินจากป่า จากน้ำ ควบคู่ไปกับการปลูกพืชผักต่างๆ ของป่าที่สำคัญได้แก่ มะแขว่น, ต๋าว(ลูกชิด), ก๋ง, หน่อไม้, หัวปลี, หน่อหวาย เป็นต้น รวมถึงสมุนไพรต่างๆ พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นจำพวกข้าว, ข้าวโพด

ตีกลองสะบัดไชย และฟ้อนเจิง รุ่นเล้ก รุ่นใหญ่

 

แต่ด้วยกระแสพัฒนาที่มุ่งการหารายได้เป็นหลัก ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป การเกษตรที่ทำแบบพออยู่พอกินก็มีการทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น มีการใช้สารเคมีมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

 

คุณฌัชภัทร พานิช สาธารณสุขอำเภอ และทีมงานสุขภาพอำเภอสองแคว ได้เล็งเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้รณรงค์ให้โรงพยาบาล สถานีอนามัยโรงเรียน และชาวบ้าน ได้นำเอาจุลินทรีย์ท้องถิ่นมาใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดการใช้สารเคมี เช่น การบำบัดน้ำเสีย, การทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน, การใช้ในแปลงนา, สวนผัก, และพืชผลการเกษตรต่างๆ ทำให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีลง ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม และมีการขยายแนวคิด วิธีการต่างๆ ไปยังเครือข่ายต่างพื้นที่ เช่น ต.เปือ อ.เชียงกลาง, ต.ผาสิงห์ อ.เมือง, ต.ถืมตอง อ.เมือง, ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา, ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง เป็นต้น

 

วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ เครือข่ายสุขภาพอำเภอสองแคว ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้สุขภาพดีวิถีพอเพียง ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสองแคว มีการจัดแสดง สาธิตและจำหน่ายสินค้าสุขภาพจากเครือข่ายต่างๆ ผลผลิตจากหัวไร่ปลายนา การคัดกรองสุขภาพ การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดอาหารพื้นบ้าน การจัดเวทีถอดบทเรียนเครือข่าย กรถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียน และอีกหลากหลายกิจกรรม

สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสองแคว นำนายอำเภอสองแควเยี่ยมชมนิทรรศการ

 

เวทีถอดบทเรียนเครือข่ายสุขภาพ

นิทรรศการผลงานและการแสดงต่างๆ

ตัวอย่างผลงาน

รพ.สองแคว การนำจุลินทรีย์มาใช้ในโรงพยาบาล เช่น บำบัดน้ำเสีย, ถูพื้น, ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์, ล้างจาน, รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

ตำบลยอด การนำจุลินทรีย์มาใช้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในครัวเรือน, การใช้ในแปลงนา, การเกษตร

โรงเรียนบ้านผาหลัก การทำธนาคารขยะ

ต.เปือ อ.เชียงกลาง การเลี้ยงไส้เดือนดิน

ต.ผาสิงห์ อ.เมือง การส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

ต.ถืมตอง อ.เมือง การจัดการขยะในชุมชน

ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา การนำจุลินทรีย์มาใช้ในนาข้าว, การทำผลิตภัณฑ์เครื่องหวาย

ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง กลุ่มชีววิถี ผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น แชมพู ยาสระผม สบู่ เป็นต้น

และอื่นๆ อีกมากมาย

ผักกูด, หน่อไผ่ตง, จะข้าน, มะต๋าว(ลูกชิด), มะแขว่น, หัวปลี

ผลิตจากกล่องนม, แชมพู, สบู่, ยาสมุนไพร, และกบ

หลากหลายผลงานของเครือข่ายชุมชน

ผ้าทอ, จิ้งหรีด, กระบุง, มะก่อ, ขันโตก, น้ำหมักหอยเชอรี่, ยาสมุนไพร, ถ่านอัดแท่ง ฯลฯ

เด็กๆ เยาวชน ศึกษาและเรียนรู้อย่างสนใจ

 

เป็นกระบวนการแบ่งปันความรู้ แบ่งปันความสุข และสร้างมิตรภาพ ลดทุกข์ สร้างสุข ด้วยวิถีแห่งความพอเพียง

หมายเลขบันทึก: 294698เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เห็นความมุ่งมั่นของทีมสุขภาพสองแควแล้วน่ายกย่องค่ะ เป็นอำเภอเล็กๆแต่มีศักยภาพในการพัฒนาหลายด้าน ไม่เพียงแต่ด้านสุขภาพเท่านั้น การดำรงชีวิตแบบพอเพียง วิถีสุขภาพแบบพอเพียง แม้แต่การอยู่ร่วมกับชุมชนที่เป็นธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีของน่านต่อไป

สวัสดีค่ะคุณพ่อน้องซอมพอ

สบายดีนะคะ  เห็นบรรยากาศชุมชนแล้วยอมรับเลยค่ะวา

ที่เมืองสองแควชุมชมเข้มแข็งมากๆ เป็นกำลังใจค่ะ

เห็นผลิตภัณฑ์แต่ละตำบลแล้ว ครบถ้วนกระบวนพอเพียงเลยนะคะ

 

จริงๆแล้วพี่อิชก้ได้ไอเดียมาจาก สสอ.สองแควในหลายเรื่อง

ที่ชื่นชอบเมื่อสสอ.สองแควไปจัดบู๊ทงาน มหกรรมสุขภาพที่เมืองทองธานี

ขอชมเชยสาธารณสุขอำเภอที่แบ่งปันความสุขและเข้าใจในวิถีสุขภาพแบบพอเพียง

ใช้ชีวิตตามวิถีสุขภาพแบบพอเพียง พึ่งพาตนเอง ลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่หลงไปตามกระแสสังคม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม น่าชื่นชม และ นำไปเป็นแบบอย่างจริงๆเลยค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องชาว สองแควทุกท่านที่มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีดีมาช่วยให้พวกท่านมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานสาธารณสุขทุกท่าน

ผมยังขาดเขียนบทสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการถอดบทเรียนของเครือข่ายที่สองแคว อดใจรออ่านอีกนิดนะครับ

ดีใจกับความสำเร็จของงานวันที่ 4 ด้วยนะคะ

จะรอผลสรุปการถอดบทเรียน

ขอบคุณมากครับ สำหรับคุณถนัด กับการถ่ายทอดบทเรียนที่เยี่ยมมาก ลำพังคนสองแคว อาจจะมองเห็นตัวตนไม่ชัด มุมมองจากคนภายนอกถือเป็นกระจกเงาส่องสะท้อนให้แก่พวกเราอีกมาก งานมหกรรมสุขภาพดี บนวิถีพอเพียงในครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ ต้องขอขอบคุณภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกๆเครือข่าย โดยเฉพาะพี่น้องเครือข่ายจากน้ำเกี๋ยน ถืมตอง ผาสิงห์ ดอนตัน และเปือ ที่ให้ความกรุณาแก่พวกเราได้อุตส่าห์ข้ามเขาข้ามดอยไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพวกเราชาวสองแคว ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงนะครับ

ขอชื่นชมอ.สองแควและเครือข่าย ที่ยังอนุรักษ์ของมีค่าที่มีอยู่ดั้งเดิมในชุมชน ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ต่อไปถึงชั่วลูกชั่วหลานเหลนและโหลน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องตระหนัก และหวังว่าจะมีสิ่งดีๆมาให้เราได้เรียนรู้ต่อไป

ขอชื่นชม อ.สองแควและเครือข่าย ที่อนุรักษ์สิ่งดีงามไว้ ชมเวบแล้ว คงหาโอกาสไปเที่ยวแน่นอน

นานแล้วไม่ได้ไปเที่ยวถิ่นเดิม ยอมรับว่าที่นั่นน่าอยู่มาก ธรรมชาติสุดๆๆๆ ประชาชนในพื้นที่มีความสามารถหลายด้าน มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง จนท.สาสุขมีความสามารถค่ะ มักมีอะไรใหม่ๆเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท