beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

Mobile Unit 4/2549 : เรื่องเล่าจากโรงเรียนบ้านสันป่าไร่ (๒)


คนที่สำเร็จ (95 %) เป็นคนที่ขยันทำงาน คนที่ล้มเหลว (5 %) เป็นคนขี้เกียจ

   เรื่องเล่าจากโรงเรียนบ้านสันป่าไร่ตอนนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2549 เป็นเรื่องที่เกิดจากการพูดคุยกับ ผอ.ขวัญชัย นันต๊ะ,คุณครูพิทักษ์ ฉิมสุด และ คุณครูประมาณ อุนเกียว ครูผู้สอนรวม 3 ท่าน นะครับ

   ขอเล่าข้อมูลพื้นฐานก่อนครับ ที่ตำบลพระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตากนี่ มีอยู่ 8 หมู่บ้านครับ ความน่าสนใจก็คือ ในหมู่ 8 นี้ มีประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • ไทยล้วน 3 หมู่
  • ไทยภูเขา (กะเหรี่ยง) 5 หมู่ ใน 5 หมู่นี้อยู่บนดอย 2 หมู่ และ อยู่กระจายในที่ราบอีก 3 หมู่นะครับ
   
ภาพที่ ๑ ครูประมาณ อุนเกียว (ส้ม)
และ ผอ.ขวัญชัย นันต๊ะ (ขาว)
ภาพที่ ๒ ผอ.ขวัญชัย และ
คุณครูพิทักษ์ ฉิมสุด (เสื้อเทา)
   

      ความเก่งของชาวบ้าน (ในเขตบริการของโรงเรียน)

  • หมู่ 5 เก่งด้านเครื่องปั้นดินเผา
  • หมู่ 3 และ หมู่ 2 เก่งทางทอผ้าชิ้น

     ปัญหาบางส่วนของชาวบ้าน

  • ปัญหาการแพร่ระบาดของวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ดี ในหมู่เยาวชน
  • ปัญหาของแรงงานอพยพ ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรไปทำงานที่อื่น อีก 70 % ทำงานในพื้นที่

     อาชีพของเกษตรกร ที่สำคัญคือ ทำนา กับ ทำไร่ (ประเดี๋ยวจะกลับมาพูดอีกครั้ง) อีกส่วนหนึ่งคือการรับจ้าง คนไทยได้ค่าแรงวันละ 100-120 บาท/วัน แต่ก็มีแรงงานส่วนหนึ่งที่ถูกกว่าคือแรงงานชาวพม่าครับ

     ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน คือ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียน 120-130 คน มี 10 ชั้นเรียน อัตรากำลังมี ผู้บริหาร 1 ครู 9 และอัตราจ้าง 2

    ประเพณี/วัฒนธรรม : งานใหญ่ของตำบลพระธาตุคือ การสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งจะกระทำกันหลังสงกรานต์ มีคนมาร่วมงาน 2-3 พันคน

    อาชีพหลัก : ที่นี่ มีอาชีพหลักอยู่ 2 อย่าง คือ ทำนา กับทำไร่
    การทำนา จะทำหน้าฝน ประมาณ 6 เดือน (เป็นนาปี) หลังจากนั้นก็จะต่อด้วยข้าวโพด (เดิมปลูกถั่วเหลือง มีปัญหาเพราะใช้น้ำมาก เวลาเก็บเกี่ยวหน้าฝนแล้วเจอฝนก็อาจทำให้ถั่วเหลืองเน่าได้ง่าย) ข้าวโพดชอบอากาศที่แล้งกว่า (ใช้น้ำน้อยกว่า) โดยจะมีน้ำของชลประทานไหลมาตามเหมือง
    ที่นี่เขาจะมีนายเหมือง (ชาวบ้าน) มาจัดการเรื่องน้ำ เป็นภูมิปัญญาการจัดการเรื่องน้ำ

    สำหรับที่ดอน บางแห่งก็ทำนา แต่บางแห่งก็ทำข้าวโพด โดยเป็นข้าวโพดที่อาศัยน้ำจากน้ำฝน เขาก็จะทำพร้อมข้าวนาปี

   ข้าวโพด : ข้าวโพดหน้าฝน จะเป็นพันธุ์ที่เขาปลูกสำหรับเลี้ยงสัตว์ ส่วนข้าวโพดหน้าแล้วง จะเป็นข้าวโพดที่ปลูกสำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีบริษัทใหญ่ 2 บริษัท มาส่งเสริมและรับซื้อ คือ ซีพีและคาร์กิล  เป็นต้น คนที่ทำข้าวโพดในพื้นที่นี้ อยู่ได้ไม่ขาดทุน

   ข้อคิดที่ได้จากการพูดคุย

  1. อาชีพเกษตรกร ใครมีที่ดินทำกินก็อยู่ได้ คนทีมีปัญหาคือคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน
  2. คนที่สำเร็จ (95 %) เป็นคนที่ทำงาน และหยุดงานตามประเพณี หยุดงานไปช่วยทำบุญขึ้นบ้านใหม่/งานบุญ พวกนี้อยู่ได้
  3. คนที่ล้มเหลว (5 %) เป็นคนขี้เกียจ เป็นคนแบบตำข้าวสารกรอกหม้อ พวกนี้ก็เป็นพวกคนไม่มีอันจะกิน

   สิ่งที่คิดว่าเป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียน คือการได้ทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม..ครับ

   
ภาพที่ ๓ ท่านอาจารย์เสมอ ถาน้อย
ผู้ช่วยอธิการบดี มอบค่าใช้จ่ายช่วย
ค่าน้ำ-ค่าไฟ ให้ทางโรงเรียน
ภาที่ ๔  beeman กำลังคุยกับ
คุณครูประมาณ อุนเกียว
   
หมายเลขบันทึก: 29417เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เห็นอาจารย์นั่งคุยอยู่กับชาวบ้านเป็นนานสองนาน แถมยังจดรายละเอียดต่างๆ อย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ที่แท้อาจารย์พยายามเก็บข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ต่อนี่เองค่ะ  เห็นแล้วทีมผู้ประสานงานรู้สึกชื่นชมค่ะ  ทีมผู้ประสานงานของหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจในการทำงานของอาจารย์ต่อไปค่ะ

  • ความจริงยังบันทึกไม่จบดี แต่พรุ่งนี้ GotoKnow จะเปลี่ยนไปก็เลยต้องรีบตีพิมพ์
  • ขอบคุณชาวโมบายครับ

ดีใจที่ได้รับรู้ความก้าวหน้า เป็นกำลังใจให้ค่ะ

  • ขอบคุณ คุณสิริวัน ที่มาเยี่ยมครับ

สวัสดครับครู

บ้านเราดีที่สุดครับ

  • อยู่ที่ไหนไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท