งานวิจัยเชิงคุณภาพคืออะไร


จินตนาการสำคัญกกว่าความรู้

งานวิจัยหากแบ่งออกเป็น 2 ค่าย

สามารถแบ่งได้เป็น

1 งานวิจัยเชิงปริมาณ  เน้น  วัด ประเมิน  หน่วยจำนวน  ตัวเลข

2 งานวิจัยเชิงคุณภาพ  เน้น  เก็บข้อมูลเชิงคุณลักษณะ  เก็บข้อมูล จำแนก  แจกแจง

ทำประวัติ   ข้อคิดเห็น  มุมมอง  และ บอกเล่าเรื่องราว

งานวิจัยทางมานุษยวิทยา เชิงวัฒนธรรม  เน้น  การเข้าใจผู้คน   การให้ความหมาย   การตีความ  ความคิดเห็น   ที่ซ่อนอยู่ ในรหัสวัฒนธรรม

งานวิจัยเชิงคุณภาพที่ดี  จะต้องได้มุมมองแง่คิดใหม่ๆ    ที่เกิดโลกความรู้  ความเข้าใจ

ให้แง่คิดใหม่ๆ   รื้อถอน  ความคิด  ความเชื่อเดิมๆ   เปิดโอกาส ให้คิดและประยุกต์ต่อมากมายครับ

Touchscreen

หมายเลขบันทึก: 294077เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

พี่ครับ รหัสวัฒนธรรม เป็นงัยครับ

รบกวนเล่าเรื่องหน่อยสิครับ...

ใน วัฒนธรรม ที่แสดง ออก จะมี สิ่ง ต่างๆ ซ่อนอยู่

เช่น งานบุญบั้งไฟ ของชาวอีสาน

จะมี ความหมาย ว่า เป็นพิธีกรรม ของเพศชาย

มีสัญลักษณ์ หำเทียมปลายสีแดง หรือตุ๊กตากระเด้ากัน

การพูดจา ลามก หยาบโลน สามารถทำไ้ด้

เป็นการปลดปล่อยพลังทางเพศ ของผู้ชาย

นอกจากนี่้ ยังมีการดื่มสุรา และแข่งขัน+พนัน บั้งไฟกันอีกด้วย

ไม่ใช่แห่บั่งไฟเพื่อขอฝนเฉยๆ ที่เข้าใจ

แต่มีความเป็นชาย ในพิธีกรรม กำกับอยู่ชัดเจน

และนี่คือรหัสวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ครับ

ได้เจอ ตัวจริงแล้วครับ ครูอรวรรณ

 

นำสื่อดีๆ ที่เห็นมิติของบุญกุศล
และองค์ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติในการเรียนการสอนมาฝากครับ


 

อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี

การแสดงออกทางเพศในพิธีกรรม เช่น การใช้ปลัดขิกอันใหญ่ยักษ์ หรือตุ๊กตาที่แสดงท่าทางร่วมเพศ สิ่งเหล่านี้มักถูกใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เช่น บุญบั้งไฟ หรือพิธีกรรมขอฝน เพราะ เพศ อวัยวะเพศ การร่วมเพศ มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์, Fertilization ก็คือ การเพิ่มพูนผลผลิต

อธิบายมั่ว ๆ แบบนี้ถือว่าเป็นการถอดรหัสทางวัฒนธรรมได้หรือเปล่าครับ

มั่วครับ สาธุ 555 จริงๆ แล้ว รหัส อะไรก็ ตาม มันเป็น แค่้สมมุติฐาน

น่ะครับ ผมว่า มันแค่ความเห็น ไม่ใช่ ข้อเท็จจริงหรอกครับ

นักวิชาการ ต่างก็อธิบาย ด้วย ชุดความรู้ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา ตามกรอบ การคิดที่ถูกจำกัดอยู่

ไม่รู้ว่า จริงแท้แค่ไหนครับ ยอมรับ ยิ่งเรื่องบางเรื่อง

ยากพิสูจน์ แล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ครับ สงสัยจะเป็น habitus มั่วจริงๆครับ 444

เจอกระทู้แบบนี้ ชอบครับ สมองได้คิด

รหัสวัฒนธรรม ในที่นี้ คืออะไร

รูปแบบการอธิบาย ว่า่ อวัยวะเพศชาย คือ ความอุดมสมบูรณ์ ใครกำหนด

ชาวบ้าน หรือ คนต้นคิด งานบั้งไฟ จะคิดว่า อวัยวะเพศชาย คือ ความอุดมสมบูรณ์ หรือไม่

อันนี้ ผมไม่แน่ใจ (มุมมองคนใน) แล้วมุมมองคนนอก อย่างนักวิชาการ มาสรุปว่า

อวัยวะเพศ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มันจริง หรือ น่าเชื่อถือแค่ไหน

และจริงๆ แล้ว มันถือ ว่าเป็น รหัสหรือไม่

แล้วจริงๆ ความหมาย ของรหัสคืออะไร ติดกับดัก ความคิด ภาษา เป้น ตัวจำกัดกรอบ ความคิด มนุษย์

แล้ว ทำไม นักวิชาการ ต่อๆ มา ต้องเชื่อ ว่า อวัยวะเพศชาย คือ ความอุดมสมบูรณ์ ด้วย 555

คิด แบบนี้ ค่อยได้อะไรขึ้นมาหน่อย

เฮ้อ 5555 ส่วงบะ ส่วงบะ

อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี

ขอถามเพื่อเพิื่่มความรู้หน่อยนะครับ

ถ้าเช่นนั้นแสดงว่า การอธิบายว่างานบุญบั้งไฟ เป็น "พิธีกรรม ของเพศชาย" "เป็นการปลดปล่อยพลังทางเพศ ของผู้ชาย" และ "มีความเป็นชาย ในพิธีกรรม กำกับอยู่ชัดเจน" นั้น การอธิบายของชาวบ้าน หรือ คนต้นคิด งานบั้งไฟ

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ

ถามอีกเรื่องครับ อยากเข้าใจว่า habitus นี่หมายถึงอะไรอ่ะครับ เห็นคุณศุภรักษ์เขียนว่า "Habitus มั่ว" น่าสนใจจังครับ

การ วิเคราะห์ ว่างานบุญบั้งไฟ เป็น งานของเพศชาย

 

        เนื่องจาก งานนี้ ชาวอีสาน หลายชุมชน พูดเอง ว่าเป็น งานของผู้ชาย การ มีปลัดขิก ลิงกระเด้า การพูดลามก หยอกสาวในงานได้ การได้กินเหล้า เมา การเล่นพนัน อย่างสนุก จัดเป็น งาน ที่ ชื่นชอบ ของผู้ชายโดยเฉพาะ

 

         งานนี้ จัดขึ้น ก่อนฤดู ดำนา ซึ่งถือว่า งานหนัก งานนี้ ทำเพื่อให้ผู้ชายได้คลายเครียดก่อนทำนา การถือว่า หำ แปลว่า ความอุดมสมบูรณ์ อาจตีความได้ ถ้า .... หำ หมายถึง แถน เป็น การจุด บั้งไฟ ขอฝน    มีฝนก็เลยอุดมสมบูรณ์ แต่ ตีความแบบนี้ ดูจะเป็นคนนอกไปหน่อย

 

สรุป แล้ว ชาวบ้านไม่ น้อย พูดอธิบายตรงกัน ว่า หำ หรือ ลิงกระเด้า แสดง ว่าเป็น งาน บุญ ของเพศชาย จริงๆ ครับ

ว่า ด้วยเรื่อง รหัส รหัส คือ ข้อความ ที่ไม่ ตรงไป ตรงมา ผู้ส่ง ไม่แสดงออกมา ตรงๆ แต่ แสดง ออกมาให้ ผู้รับพอดูรู้ หรือ พอรู้กัน ว่า สารที่ ส่งมา หมายถึงอะไร (ผู้ส่งสาร คือ ชาวบ้านที่จัดงานบุญบั้งไฟ) ประเพณีบุญบั้งไฟ ความหมายทางตรง คือ ประเพณี ของ ฝน เท่ากับ ความอุดมสมบูรณ์ (ตีความได้ไม่ลึก เลยครับ) แต่ รหัส ที่ ซ่อน อยู่ คืองานบุญบั้งไฟ เป็นงานของผู้ชายที่ได้สนุกกัน มันส์ หยด โดย ดูจาก 1 กินเหล้า เต็มที่ เมา 2 เล่นพนัน กัน สนุกสนาน 3 เตรียม ทำบั้งไฟ กันอย่างสนุกเฉพาะผู้ชายเท่านั้น 3 พูดลามกได้ในงาน 4 กิน อาหาร เนื้อวัว เต็มคราบ (อร่อยมาก) 5 มี ปลัดขิก 6 มีตุ๊กตา ลิงกระเด้า นักวิชาการ ดัน ไป ตีความ ว่า หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ว่าไปนั่น

Habitus

คำนี้ ผม ขอให้ ความหมาย ว่า ความโน้มเอียง ในพฤติกรรม ซึ่ง ถูก ขัดเกลา หรือ หล่อหลอม จากสังคม

ยกตัว อย่างเช่น

เภสัชกร โรงพยาบาลไทยเวลา จะจ่ายยาตาม ใบสั่งยา

อาจจะดู ว่า ยา ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกคน ถูกโรค ถูกวิธี ถูกเวลา ตามใบสั่งยา

ไหม

เมื่อ แน่ใจว่า ถูก ก็จ่ายยาออกไป

หากเป็น เภสัชกรโรงพยาบาล ฝั่งอเมริกา จะดูเวชระเบียนผู้ป่วย

เภสัชกร จะ ตรวจดูเพื่อ หา ปัญหาที่สืบเนื่องจากยา ก่อน โดยอาจดูว่า การสั่งยาของแพทย์นั้นเหมาะสมหรือไม่

หลังจากนั้น ค่อยไปกังวลเรื่องการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ หรือ อาจมีเภสัชกรอีกคนมา ทำหน้าที่ จ่ายยา

จะเห็น ว่า habitus ของ เภสัชกรไทยกับอเมริกา ต่างกัน

ดังนั้น พฤติกรรม ของเภสัชกร จาก 2 ประเทศจึง ต่างกันมาก

หมออนามัยบ้านนอก

ผมชอบการวิวาทะ เรื่องการตีความรหัสทางวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์ศุภรักษ์ กับอาจารย์อติศักด์ มากครับ อ่านแล้วได้แง่คิด มาคิดต่อ เป็นการวิวาทะเพื่อทำให้ประเด็น เรื่อง รหัสทางวัฒนธรรม ที่คุณเด่นดนัยถามข้างต้น แจ่มชัดขึ้น

โดย อาจารย์ศุภรักษ์ ได้ยกตัวอย่าง บุญบั้งไฟ ว่า มันมีรหัสทางวัฒนธรรมแฝง คือมันซ่อนรหัสว่าเป็นพิธีกรรมของเพศชาย (จะช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้ว่า ทำไมต้องมีพิธีกรรมนี้เพื่อเพศชาย ไม่ใช่เพื่อเพศหญิง) ซึ่งกิจกรรมหลายอย่างเพศชายในช่วงชีวิตประจำวันปกติทำไม่ได้ (ทำไมทำไม่ได้ เดี่ยวอธิบายเพิ่มเติม) แต่ในงานบุญทำได้ เช่น สามารถพูดจาลามก แซวคนนั้นทีคนนี้ที กินเหล้า แข่งพนัน ฯลฯ การอธิบายเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะได้ใช้กรอบแนวคิด โครงสร้างและการหน้าที่ (structural- functionalism) เป็นกรอบการวิเคราะห์ คือ มองว่าพิธีกรรมทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ มีหน้าที่บางอย่างกำกับอยู่ (ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญ) หรือเป็นไปเพื่อการหน้าที่อะไรบางอย่าง ที่สำคัญหน้าที่ของพิธีกรรมส่วนมากก็เป็นไปเพื่อให้ระบบโครงสร้างสังคมมันดำรงอยู่ได้ ดำเนินตามปกติ ไม่เกิดความขัดแย้ง

กลับมาที่บุญบั้งไฟ ว่ามีการหน้าที่อะไร

คือการที่จะเข้าใจสิ่งที่อาจารย์ศุภรักษ์ บอกว่า มันเป็นพิธีกรรมของเพศชาย หากจะวิเคราะห์ด้วยแนวคิดโครงสร้างและการหน้าที่ ก็ต้องเข้าใจวัฒนธรรมอีสานก่อน คือวัฒนธรรมอีสาน หลังแต่งงานผู้ชายจะย้ายมาอยู่บ้านภรรยา กลายมาเป็นแรงงานของครอบครัวทางภรรยา ตกอยู่ภายใต้สายตา เครือญาติครอบครัวฝ่ายภรรยาตลอด เอาเป็นว่า กิน ขี้ ปี้ นอน นี่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมญาติฝ่ายเมียหมด ซึ่งก็พอเดาได้ว่า ก็คงเครียดพอดู นอกจากนั้น ลูกเขยก็ถูกคาดหวังในการเป็นแรงงาน เช่น ทำนา หรือทำหน้าที่ทางสังคมต่างๆๆ นานา ดังนั้น มันก็ต้องมีช่องทางให้ผู้ชายในสังคมได้ระบายความเครียดกันบ้าง เพราะถูกคาดหวังจากหน้าที่บทบาทเพศชายมาก ไม่งั้นสังคมก็ดำเนินต่อไปไม่ได้ (พวกนิทานก้อม จึงไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าเรื่องพ่อตา ลูกเขย และเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่อง ลูกเขยแกล้งพ่อตา แบบเจ็บๆ แสบๆๆ ตลกร้าย ซึ่งในชีวิตจริงทำไม่ได้ )

บุญบั้งไฟก็เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ว่า คือ อนุญาตให้ผู้ชายในงานบุญทำอะไรที่ในชีวิตประจำวันทำไม่ได้เช่น ทำอะไรบ้าๆๆ บอๆๆ ดื่มเหล้า แกล้งชกต่อย แซวสาว เล่นพนัน ล้อพ่อตา แม่ยาย ทำได้หมด ฯลฯ ในอดีตถึงขนาดนางรำในพิธีแห่บั้งไฟเป็นผู้ชาย แต่งชุดผู้หญิง ใส่ผ้าถุง แต่งหน้า แต่งตา ทาปาก คิดดู มันทำอะไรบ้า บอ ได้ขนาดนั้นในบุญบั้งไฟ เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นผู้หญิงรำก็ตอนบุญบั้งไฟได้รับการพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในช่วงหลังๆ และที่ต้องมาแสดงออกในงานบั้งไฟ ก็เพราะมันใกล้ฤดูทำนา ที่ผู้ชายจะเหนื่อยอีกรอบแล้ว ก็ต้องมีพิธีกรรมอะไรเป็นไปเพื่อปลดปล่อยก่อนลงงานหนัก

นอกจากนั้น บุญบั้งไฟ ก็ยังมีหน้าที่รักษาเครือข่ายทางสังคม คือ พอหมู่บ้านหนึ่งจัด ญาติ เพื่อนฝูง เสี่ยว อีกหมู่บ้านก็จะมาร่วมงานบุญ มาช่วยทำบั้งไฟ มากิน มาดื่ม เป็นการรักษาเครือข่ายทางสังคม ก่อนงานหลักจะมาถึงซึ่งก็คือทำนา

หากจะอธิบายด้วยแนวคิดโครงสร้างและการหน้าที่ของบุญบั้งไฟ ก็น่าจะประมาณนี้ ที่อาจารย์ศุภรักษ์บอกว่าเป็นพิธีกรรมของเพศชาย ก็น่าจะประมาณนี้

สำหรับอาจารย์อติศักดิ์ ผมเดาว่าตีความบุญบั้งไฟด้วยแนวคิด การวิเคราะห์ระบบสัญลักษณ์ คือมองว่าระบบวัฒนธรรม ประกอบขึ้นจากระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนั้น เราจะเข้าใจรหัสทางวัฒนธรรมก็ต้องตีความสัญลักษณ์ทีแสดงออกในวัฒนธรรมนั้นๆ จึงจะเข้าใจวัฒนธรรมได้ (คือ เราจะไม่สามารถเข้าใจวัฒนธรรมได้ตรงๆ จึงต้องทำทางอ้อมคือตีความสัญลักษณ์เอา) ในงานบุญบั้งไฟ มีสัญลักษณ์ให้ตีความต่างๆ นานา มากมาย อาจารย์อติศักดิ์ได้หยิบยกสัญลักษณ์หนึ่งในงานมา คือ ปลัดขิก ที่มีการแห่แหนในพิธีด้วย โดยตีความว่า ปลัดขิกเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เพราะปลักขิกแทน อวัยวะเพศชาย และการร่วมเพศ ซึ่งมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์, Fertilization หรือ การเพิ่มพูนผลผลิต (การร่วมเพศเป็นไปเพื่อการเกิด การเพิ่ม) ดังนั้น งานบุญบั้งไฟ ก็เลยเป็นพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมชาวนา ที่ต้องทำเพื่อขอฝน หรือเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เพราะวิถีชีวิตชาวนาฝากไว้กับฝนฟ้าและการทำนา

การวิเคราะห์รหัสทางวัฒนธรรม ที่คุณเด่นดนัย ถาม ทั้งของอาจารย์ศุภรักษ์และอาจารย์อติศักดิ์ผลจึงออกมาต่างกัน เพราะใช้กรอบวิเคราะห์ต่างกัน และทั้งสองกรอบก็น่าสนใจทั้งคู่ เพราะไม่มีใครรู้ว่าผิดหรือถูก ชาวบ้านก็ไม่รู้ เพราะรหัสวัฒนธรรมมันถ่ายทอดและแฝงอยู่ระดับจิตไร้สำนึก บางทีก็ทำโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ยิ่งนักวิจัยยิ่งไม่ต้องพูดถึง ลืมไปได้เลย เพราะในเมื่อใช้กรอบแบบหนึ่งอธิบายมันก็ต้องถูกตามหลักการของกรอบนั้นๆ

หากเป็นผู้เขียน ลองใช้แนวคิดเพศสภาพ หรือ gender วิเคราะห์ มันก็จะออกมาอีกแบบ คือ บุญบั้งไฟ เป็นพิธีกรรมของเพศชายที่ทำขึ้นเพื่อตอกย้ำโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจแห่งการกดขี่เพศหญิง ให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไป เพราะหากจะดูรูปแบบพิธีกรรม ตัวแสดงหลักแล้วมักจะเป็นบทบาทของเพศชาย ส่วนผู้หญิง เด็ก คนแก่ มีหน้าที่นั่งรอชม พิธีกรรมแห่งอำนาจที่ว่านี้แสดงออกอยู่นอกเวที

บุญบั้งไฟ ตอกย้ำความหน้าเกรงขาม อำนาจชายเป็นใหญ่ ที่แสดงออกผ่านพิธีกรรมและการแสดงต่างๆ ของเพศชายที่ร่วมงาน

555 ไม่อยากจะเดา ว่า

หมออนามัยบ้านนอกคือใคร

แต่ ขอบอกว่า โอ้ พระเจ้า ยอร์ช นายยอดมาก

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ

เราจะอธิบายความหมายที่ซ่อนเร้นของปรากฏการณ์ทางสังคมใดๆ ว่าอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้กรอบอะไรในการอธิบาย

การใช้กรอบที่แตกต่างกันทำให้เราอธิบายความหมายของปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ แตกต่างกัน

แต่การอธิบายแบบไหนถูกกว่า ใช่กว่า แทบจะตัดสินไม่ได้ แม้กระทั่งจะไปถามเอากับชาวบ้านว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีความหายซ่อนเร้นว่าอย่างไรกันแน่ ก็ไม่อาจใช้คำตอบนั้นมาตัดสินได้ว่าการอธิบายแบบไหนถูกหรือผิด

ความถูกกว่าผิดกว่าจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ไม่น่าสนใจ

มากเท่ากับว่าเราชอบการอธิบายแบบไหน ทำไมเราถึงชอบการอธิบายแบบนั้น การอธิบายแบบที่เราชอบสะท้อนให้เห็นจุดยืนบางอย่างของเรา ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

แต่คุณหมออนามัยบ้านนอกครับ

คือว่า....ที่ผมลองอธิบายว่าบุญบั้งไฟมีความหมายถึง "ความอุดมสมบูรณ์" นั่นน่ะ ผม "เต้า" ขึ้นมาเล่น ๆ น่ะครับ อย่าไปคิดจริงจังอะไรกับมันเชียว

และ...อย่าเรียกกันว่าอาจารย์เลยครับ....มันเขิน

หมออนามัยบ้านนอก

แม่น แล้วเด้อ ครับ ! ที่อาจารย์อติศักดิ์ พูดเรื่องการใช้กรอบคิดเป็นฐานในการตีความ เรื่องนี้ผมก็ไม่ได้คิดเองดอก ครับ จำมาจากบทความของอาจารย์อติศักดิ์เองนั่นแหละอีกทีหนึ่ง ที่อาจารย์เขียนลงในวารสารโรงพยาบาลชุมชนติดต่อกันอยู่หลายฉบับ เรื่องแว่นวิทยานะ แต่ผมก็มาบิด มาปรุง มาแต่ง ให้มันเหมือนผมคิดเอง นักวิชาการมันก็เป็นแบบนี้แหละครับ เชื่อมันมากไม่ได้

ขอยืนยัน.....อย่าเรียกกันว่าอาจารย์เลยครับ....มันเขิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท