จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เติมพลังด้วยรอมฏอน


เดือนรอมฏอนผ่านไปเกือบๆ จะครึ่งเดือนแล้วครับ รู้สึกว่าผมยังไม่ได้เขียนบันทึกอะไรที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฏอนอันทรงเกียรตินี้เลยครับ อาจจะเพราะความวุ่นวายจนจับอะไรเป็นชิ้นเป็นอันช่วงนี้ไม่ได้เลยสักอย่างก็เป็นได้ครับ เย็นนี้อันเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจัดอิฟตอร์ (ละศิลอด) ขึ้นครับ งานน่าจะเริ่มแล้ว แต่ทีไรที่นึกถึงงานที่มีคนเยอะๆ แล้ว ผมขี้เกียจขึ้นทันทีเลยครับ (ฮิฮิ เลยขอตัวไม่เข้าแล้วกัน) ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นเขียนบันทึกคุยเรื่องของรอมฏอนสักนิดหนึ่งก็คงดี อันเนื่องจากเมื่อวานได้ฟังการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒินับได้ก็ห้าท่านเลยครับ ตั้งแต่ตอนใกล้เที่ยงที่คณะศิลปศาสตร์ ตอนเที่ยงหลังละหมาดก็ได้รับการบรรยายสั้นๆ โดยท่านอธิการบดี เสร็จแล้วตอนหลังละหมาดตารอวีฮ์ (ประมาณสามทุ่มครับ เป็นละหมาดที่มีเฉพาะในเดือนของการถือศิลอด) ได้ฟังจากท่านอาจารย์อับดุลการีม แห่งสำนักเลขานุการอธิการบดี ท่านขอพูดสั้นๆ เหมือนกันครับที่มัสยิดโสร่ง ซึ่งปีนี้ผมยึดเป็นมัสยิดหลักในการละหมาดในปีนี้ สรุปรวมๆ ก่อนว่า น่าฟัง น่าประทับใจทั้งนั้นเลยครับ อัลฮัมดุลิลลาห์

(การบรรยายโดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ ครับ โดยมีหัวหน้าสำนักงานคณะเป็นผู้ดำเนินรายการ)

การบรรยายแรกเริ่มด้วยท่านคณบดีคณะวิทย์ฯ ครับ ท่านนำเสนอประเด็นแรกที่น่าสนใจคือ วิญญาณ ชีวิตและร่างกาย เรื่องวิญญาณนั่นเป็นเรื่องที่มนุษย์รู้น้อยที่สุดครับ อันนี้ระบุชัดเจนในอัลกุรอาน ซึ่งท่านคณบดีอธิบายว่า สามสิ่งนี้เป็นคนละอย่างกัน และมนุษย์ก็ได้มาไม่พร้อมกัน ประเด็นถัดมาท่านคุยถึงคุณค่าของการถือศิลอดครับ ทางด้านสุขภาพ และหลักการเบื้องต้นสำหรับการปฏิบัติตนของคนถือศิลอดที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นในทางหลักวิทยาศาสตร์

ฟังเรื่องนี้แล้วผมคิดถึงความรู้เดิมเรื่องหนึ่งครับคือ เท่าที่ทราบเกือบทุกศาสนามีบัญญัติเกี่ยวกับการถือศิลอดครับ เพียงแต่รูปแบบการถือศิลอดไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง ซึ่งอันนี้ก็ยืนยันถึงประโยชน์ที่ชัดเจนของการถือศิลอด ออ.ท่านคณบดีฯ ให้คำอธิบายถึงสิ่งที่ท่านรอซูลให้มุสลิมทำสองอย่างได้ชัดเจนกับความสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์คือ เรื่องของการล่าช้าการกินข้าวตอนใกล้รุ่งและการรีบเร่งละศิลอดเมื่อได้เวลา ทั้งนี้ในหลักวิทยาศาสตร์การอดอาหารไม่เกิน 18 ชม.เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่หากเกินกว่านั้นจะเป็นอันตรายกับร่างกายครับ

 

ส่วนท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการนำเสนอเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจกับคำว่า "ตักวา" (ความยำเกรง) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการถือศิลอดครับ ท่านหยิบยกการให้ความหมายของบรรดาซอฮาบะห์ครับ น่าสนใจมาก (แต่ผมจำไม่ได้ทั้งหมด ฮิฮิ ต้องขออภัย) จำได้อยู่แม้นอยู่ตัวอย่างเดียวครับ เป็นการสนทนากันระหว่างคอลีฟะห์อุมัรกับอูบัย บินกะอับ ซึ่งเป็นปราชญ์คนหนึ่งในสมัยนั้น โดยท่านอุมัรถามอุบัยว่า อะไรคือตักวา?

ท่านอุบัยถามกลับไปว่า โอ้อมีรุลมุมีนีน (โอ้ผู้นำมุสลิม) ท่านเคยเดินทางในดงหนามบ้างไหม?

ท่านอุมัรตอบว่า แน่นอน ท่านอุบัยจึงถามต่อว่า แล้วท่านทำอย่างไร? 

ท่านอุมัรตอบว่า "ฉันก็จะเดินทางก้าวย่างด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เหยียบหนามเหล่านั้น"

ท่านอุบัยจึงกล่าวว่า "นั่นแหละคือความหมายที่แท้จริงของตักวา"

เป็นบทสนทนาที่น่าสนใจมากครับ ในแง่ของการใช้ชีวิตของมุสลิมที่จำเป็นต้องเกี่ยวเนื่องกับคำว่า ตักวา

ออ.เกือบลืมอีกท่านหนึ่งไปครับ ท่านคณบดีศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ ท่านกล่าวปิดโดยนำเสนอประเด็นของการเรียกการถือศิลอด ท่านอยากให้ใช้คำว่า ซียาม ซึ่งเป็นคำต้นเดิมจากภาษาอาหรับ ไม่ใช่มาใช้เป็นคำแปลทั้งภาษาไทยและมลายู ทั้งนี้เนื่องจากคำในภาษาไทยและมลายูเป็นคำที่ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของศาสนาฮินดูในพื้นที่นี้ (เห็นด้วยครับ)

ในช่วงหลังละหมาดซุฮรี ท่านอธิการบดีอธิบายต่อด้วยเรื่องของการละหมาดตารอวีฮ์ครับ ท่านว่าหัวใจสำคัญของมัน (คุณค่สำคัญ) คือ การได้ฟังและทำความเข้าใจอัลกุรอาน อันเนื่องจากการอ่านอัลกุรอาน อีหมามเป็นคนอ่าน มะมุมเป็นผู้ฟัง ดังนั้นก็ต้องพยายามทำความเข้าใจให้มาก ลิ้มรสอรรถรสแห่งอัลกุรอานให้เยอะ การละหมาดแบบรีบด่วนทำให้คุณค่ามันหายไปครับ ฮิฮิ อันนี้นึกถึงตัวเองได้ครับ รอบนี้ไม่ได้ละหมาดในมหาวิทยาลัย เพราะรู้ตัวว่ายืนนานไม่ไว ฮิฮิ เลยเลือกแบบละหมาดสั้นๆ แต่ก็ไม่เป็นแบบซ้ำๆ อยู่เพียงอัลกุรอานไม่กี่บทครับ

ส่วนหลังละหมาดตารอวีฮ์ ได้ฟังคำตักเตือนสั้นๆ จากท่านอ.อับดุลการีม ต้องยอมรับครับว่า ลึกซึ้งกินใจมาก ท่านย้ำเตือนว่า ช่วงนี้เป็นช่วงของการขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ครับ

ท้ายสุดในเข้าฟังบรรยายที่คณะ มีหนังสือเล่มหนึ่งวางขายอยู่ที่โต๊ะลงทะเบียนครับ หยิบมาดูแล้วก็รู้ได้เลยครับว่าน่าอ่าน เพราะคนแปลคือ อ.นัสรุลลอฮ์ หัวหน้าสาขาวิชาอิสลามศึกษาครับ เอามาอ่านแล้วก็ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการถือศิลอดได้เยอะครับ

ขอจบบันทึกเพียงเท่านี้นะครับ จะไปเตรียมตัวละศิลอด (เสียดายข้าวหมกที่มหาวิทยาลัยจังเลย ฮิฮิ)

หมายเลขบันทึก: 293992เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...แม้ไม่ได้เข้าร่วมกับภารกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสถาบันปอเนาะ แต่ก็รู้สึกเหมืนเข้าร่วมงานของคณะ ได้คุณค่ามากครับ เพิ่งจะได้เห็นท่านคณบดีอีกครั้งครับ

สิบคืนสุดท้ายกำลังจะมาเยือน ขอให้ได้รับความโปรดปรานอย่างที่ได้คิดปรารถนาไว้ครับสำหรับเราะมะฎอนอัลมุบาร๊อก

สลามครับอาจารย์ จารุวัจน์ กลับจากมนาซ ตะรอเวียะ ก็เข้ามาเติมพลังจากอาจารย์อีกครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد  และบังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

คงต้องรบกวนแวะมาอ่านใหม่อีกรอบครับ เพราะผมเพิ่งนึกประเด็นสำคัญที่ผู้รู้แต่ละท่านได้พูดไว้แล้วรู้สึกว่ามันมีคุณค่ามาก แต่ต้องคืนนี้ยุ่งอยู่ครับ เลยไม่ทันได้เพิ่มเติม

สวัสดี ครับ อาจารย์ จารุวัจน์

ผมนำช่อดอกไม้ มาให้... อาจารย์

เป็นกำลังใจให้อาจารย์

มีบันทึกคุณภาพ มาฝากสังคมอุดมปัญญา แห่งนี้เสมอ ๆ ครับ

ด้วยความเคารพ

ขอบคุณครับแสงแห่งความดี
ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมคุณธรรมครับ

-อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจอิบาดะรอมฎอนมากขึ้น

-ขอให้มีพลัง อย่างนี้ตลอดครับ

-มีความสุขในการอิฟติกาฟ ครับ

ขอบคุณครับ คุณฮาลีม

ขออนุญาตเพิ่มเติม 2 ประเด็น ที่ได้จากการฟัง และยังไม่ได้บันทึกไว้ครับ คือ

1. ท่านอธิการบดีกล่าวไว้ว่า การละหมาดตะรอวีฮ์นั้น ถึงแม้จะละหมาดที่ละ 2 รอกาอัต จนครบ 8 หรือครบ 20 นั่นหมายถึงเป็นการละหมาดหนึ่งครั้ง ดังนั้นการที่เมื่อเสร็จสองรอกาอัตแล้ว มีบางคนลุกออกไปพัก ไปนั่งข้างนอก แล้วกลับมาละหมาดต่อนั่น ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องครับ การพักระหว่างสองรอกาอัต ต้องไม่เอากิจกรรมอื่ืนมาประกอบครับ

2. ท่านอาจารย์อับดุลการีม ให้ข้อสังเกตว่า ในเดือนนี้เน้นหนักกับการให้อภัย ดังนั้น มีหลายหะดีษที่ระบุเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำแล้วจะได้รับการอภัยโทษ เช่น การถือศิลอด การอ่านอัลกุรอาน การละหมาด เป็นต้น เยอะมากครับ เพียงแต่เราอย่าลืมปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นรอมฎอนจะผ่านไปอย่างไร้ความหมาย

มาชม

มาเรียนรู้ในอีกมุมหนึ่งของศาสนาสากลนะครับ

รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอนะครับ...

ถือได้ว่าอาจารย์สรุปแทนเจ้าของโครงการใช่มัย?เนี๊ยะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่นำข้อมูลขึ้นบล็อกด้วย

ดูแลสุขภาพด้วยน่ะครับ

الصيام المقبولاً وإفطاراً شهياً

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

เที่ยงวันนี้ชวนเพื่อนรุ่นน้องไปทานข้าว

เธอยิ้มและบอกว่าอยู่ในช่วง fasting

เป็นกำลังใจให้นะคะอีกไม่นานแล้วค่ะ

คิดถึงหนุ่มน้อยเตาฟิก ค่ะ ... ฝากฝันดีค่ะอาจารย์

 

 

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ umi

เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขครับ

ขอบคุณครับ อาบี บุษรอ ซาการียา แดแก 

รอเจ้าของโครงการสรุปดูจะช้าไปนิดหนึ่ง ฮิฮิ

ขอบคุณครับ poo 

ช่วงนี้ชวนใครทานข้าวเที่ยงต้องดูหน้าหน่อยครับ เดี๋ยวจะเก้อเอา ฮิฮิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท