จะสร้าง Team work ในองค์กร ต้องเริ่มจากการรู้จัก "ตนเอง"ก่อน


คิดดี ก็จะได้คิด ได้คิด ก็จะคิดได้

บทความ  ที่ผม จะ เอาลงใน Productivity world ฉบับหน้า

copy มาอ่านกันเล่นๆ ดังนี้ :-

"นับแต่เรื่อง Matrix มาก็นานแล้ว กว่าจะมีหนังดีๆ  ที่สอนธรรมะคนดูได้    คราวนี้ผมขอแนะนำหนังดี ชื่อ Crash  หรือ ชื่อภาษาไทยว่า คนผวา      เจอผมส่งวิจารณ์หนังมาแบบนี้  อย่าเพิ่งนึกว่าผมส่งบทความมาผิดวารสารนะครับ

            หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัล Academy Award ถึง 3 รางวัล   คือ  Best picture  / Best original screenplay / Best editing  

                เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในมหานคร Los Angeles   และเกิดชึ้นเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น    เป็น 2 วันที่สร้างบทเรียนให้กับผู้คนมากมาย   

                เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเมืองที่ผู้คนต่างก็พกพา สังขาร การปรุงแต่ง  เข้ามาทำให้จิตเกิดอาการ   และ กระแทก (crash) กันได้  

                ก่อนที่จะเข้าใจหนังเรื่องนี้  อยากให้ท่านผู้อ่านทบทวนเรื่องกระบวนการทำงานของขันธ์ห้า  หรือ  U –Theory ในบทความก่อนหน้านี้  ที่ผมเคยเขียนลงในวารสารนี้ 

                โดยย่อๆแล้ว   Input ต่างๆ  ที่จะเข้ามาสู่กระบวนการทำงานของขันธ์ห้า    จะมาจาก  หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ ใจ     โดยมี สัญญา เป็นตัวชี้บ่ง (Identify  บอกว่า นี่คือ อะไร  เรียกว่าอะไร  กฏกติกาว่าอย่างไร  ตามที่เราได้รับรู้มาจากพ่อแม่ ครู เพื่อน สื่อต่างๆ)     

                แต่สิ่งที่น่ากลัวมากๆ คือ ตัวสังขาร หรือ ความคิด นี่แหละ   ที่มักจะขุดเอาเรื่องต่างๆ ที่จดจำเอาไว้ในสัญญาขึ้นมา คิดมาก คิดต่อยอด   เกิดเป็น อคติ  เป็น ลำเอียง   เป็นวิตก วิจารณ์    ( ใน U - Theory  จะใช้คำว่า Voice of Judgement)     ยิ่งมีตัวกูของกูเข้ามาเกี่ยวข้อง  ก็จะส่งผลให้ จิตเกิดอาการได้

                ถ้าดูใน web ของหนังเรื่องนี้  http://www.crashfilm.com    จะพบว่า จะเน้นคำพูดที่เป็น ตัวกู ของกู”   เป็นสัญญา (memory) ที่ฝังแน่น ในกมลสันดาน  และพร้อมจะถูกขุด ถูกรียก (recall) อย่างรวดเร็ว  เอามา คิดมาก คิดแค้นใจ โกรธแค้น    เช่น  ฉันเข้าใจเธอ ฉันจะตัดสินเธอ ฉันจะปกป้องเธอ  ฉันต้องการเธอ  ฉันช่วยเธอ ฉันจะฆ่าเธอ  ฉันจะประเมินเธอ     เธอดูถูกฉัน  เธอเห็นฉันโง่    ฉันไม่ใช่แบบนั้นนะ   อย่านึกว่าฉันโง่   อย่าโกงฉันนะ     และ  ฉันอื่นๆอีก มากมาย

                คำว่า Crash นี้ น่าจะแปลว่า กระแทก   โดยผู้สร้าง ใช้ฉากรถชนกัน  เป็นสื่อเชื่อมโยงไปถึงการกระแทกกันของคนด้วย      เราจะพบได้ว่าในหนังเรื่องนี้  คนๆหนึ่งมีโอกาสที่จะ กระแทก หรือ โกรธ เกลียดกันได้แบบเป็นลูกโซ่     ซึ่งเรื่องของอารมณ์โกรธนั้น จัดได้ว่าเป็น โรคระบาดติดเชื้อที่แพร่ออกไป   กระทบกระทั่ง กระแทกกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ 

                ตำรวจหนุ่มผิวขาวที่มีพ่อที่ป่วยหนัก   ต้องติดเชื้อโรคทางอารมณ์  มาจากพ่อ   การหรือ จิตเกิดอาการ เพราะ ความเจ็บป่วย  ทำให้พ่อคิดมาก คิดปรุงแต่ง และ  ไม่รู้จักวิธีของ มหาสติปัฏฐาน 4 เลย     ทำให้ดับทุกขเวทนาของตนเองด้วยการกดดันลูกชายโดยไม่รู้ตัว

                เมื่อลูกชายโดนกดดัน   ไปเจอเลขานุการผิวดำ ซึ่งอยู่ที่คลินิกของหมอที่รักษาพ่อของเขา  พูดผิดหู   ทำให้ตำรวจหนุ่มที่พกพาอคติเกี่ยวกับคนดำ  (สร้างสัญญาแบบคิดไม่ดีเอาไว้ว่า คนดำ ไม่ดีอย่างโน อย่างนี่)   เมื่อโดนกระแทก (crash) ทางคำพูด    จิตก็เกิดอาการ   ความคิดบ้าๆที่เกิดขึ้นขณะจิตเกิดก็หลุดออกมา    จนทำให้ดูถูก และ ทะเลาะกับเลขานุการผิวดำทันที

                เมื่อตำรวจไปทำงาน  เขาก็พกพาอารมณ์โมโห   ติดตัวไม่ด้วย   เพราะ เขายังไม่รู้จักวิธีการ ปล่อยวาง  ดังนั้น  สิ่งชั่วร้ายที่ตามมาจึงเกิดขึ้น     เมื่อเขา ไปกระแทกกับคนดำผัวเมียที่เขาเข้าไปจับกุม  และ เขาก็ดับทุกข์ที่คาใจเขาแบบโง่  ด้วยการ ลวนลามทางเพศต่อเมียผิวดำ  

                เมียผิวดำ เมื่อโดนลวนลาม  ก็ติดเชื้อ อารมณ์แค้น    หล่อนหักห้ามจิตไม่เป็น   โดนสังขารเล่นงานหนัก  ก็ไประเบิดทะเลาะกับผัว

                ผัวเมื่อโดนกระแทก กดดันจากเมีย   ก็เครียด    ไประเบิดอารมณ์ใส่  โจรวัยรุ่นที่มาจี้รถยนต์ของเขา   จนกระทั่งไประเบิดอารณ์ต่อกับตำรวจสายตรวจอีก 

                หนังเรื่องนี้  เวลาดู  ผมขอแนะนำให้ เขียน mind map ด้วยนะครับ   เพราะ ลูกศร การกระแทกทางอารมณ์ต่อเนื่องเป็นโยงใยยาวน่าดู   

                หนังเรื่องนี้  สอนใจได้ดีหลายๆอย่าง  เช่น

1)  เมื่อจิตเกิดอาการ  อย่าได้คิด   ขอให้เราหยุดคิด    เพราะ ความคิดขณะจิตเกิดนั้น  เป็นความคิดที่ไม่พึงประสงค์  ไม่เหมาะกับการใช้งาน  ไม่เหมาะกับการเข้าสังคม   ขอให้หยุดคิด   และ หางานให้จิตทำ  จนกว่าจิตจะสงบ  เช่น เดินจงกรม  ดูลมหายใจ  ดูท้องยุบพอง  สวดมนต์   ตามดูอาการของกาย เวทนา จิต ธรรมที่เกิดขึ้น    อย่างไรก็ตามที่ผมแนะนำมานี้   หากไม่เคยฝึกมาก่อน  ก็ยากที่จะทำจิตให้สงบได้ง่ายๆ   

ผมเข้าใจเอาเองว่า  ผู้สร้างหนัง คงเข้าใจเรื่องทางพุทธศาสนาอยู่บ้าง   จึงได้สร้างแนวนี้ออกมา 

2)  ถ้าเราไม่อยาก  จะไป ชน (crash) กับใคร   ก็ควรที่จะฝึกสติ    และในพร้อมๆกัน  ก็ควรหัด คิดดี ทำดีบ่อยๆ      อย่าสะสม สัญญาที่เป็นแต่เรื่องบ้าๆ ชั่วๆ อกุศล     เพราะ เมื่อเรากระทบ คำพูดผิดหู  ภาพผิดตา  ฯลฯ  จิตจะเกิดอาการได้ง่าย  เป็นอกุศลได้ง่าย  และ นำพาไปสู้เรื่องไม่ดีได้ 

ในหนังเรื่องนี้    แต่ละคนล้วนสะสมสัญญาแบบอคติไว้มากมาย   เช่น

                ตำรวจชาวปอโตริโก้ จิตเกิดอาการทันที ที่แฟนเข้ใจผิดว่าหล่อนเป็นเม็กซิกัน    เพราะ พวกอเมริกาใต้จะเกลียดคนอเมริกันที่ชอบคิดแบบเหมารวมว่า คนหน้าตาแบบเม็กซิกันเป็นเม็กซิกันหมด  ในขณะที่คนในอเมริการใต้อื่นๆเหยีดพวกเม็กซิกัน 

                คนเกาหลีที่เกิดอมริกา จะแค้นมาก ถ้าได้ยินพวกฝรั่งคิดว่าพวกเขาไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ

                คนผิวขาวเหยียดผิวดำ   คนผิวดำก็นึกเสมอว่าคนขาวเหยียดผิว  

                คนอิรัคถือดีว่าเป็นคนเปอร์เซีย   จึงไม่ชอบให้ใครเรียกพวกเขาว่าเป็นพวกอาหรับ   เพราะ ขาถือดีว่าเขาสูงศักดิ์กว่า

                แม่ผิวดำในหนังเรื่องนี้มีความลำเอียงรักลูกคนเล็ก  มากกว่าคนโต  และ พูดจากระแทกคนโตเสมอว่าไม่เลี้ยงน้อง ไม่ดูแลน้อง

                เจ้าของร้านชอบนึกว่าทุกคนในเมืองชอบโกงเขา   เขาไม่ยอมเสียเปรียบใคร 

                คนดำที่มีเงิน  ก็มักจะโมโห  ถ้าใครเห็นว่าเขาเป็นพวกเดียวกับพวกคนดำที่ชอบเป็นโจร     เพราะ คนขาวมักจะเหมารวมว่า คนดำทุกคนเลว 

3)   คนๆเดียว อาจจะเป็นได้ท้งคนดี และ คนเลว   โดยเฉพาะ ตำรวจที่มีพ่อป่วย   เขาลวนลามทางเพศผู้หญิง   แต่ ก็เป็น Hero ไปช่วยคนออกมาจากอุบัติเหตุโดยไม่กลัวตาย

                บ่อยครั้งที่เราพบว่า คนที่เราเห็นว่าเห็นแก่ตัว ไม่เอาใครในองค์กร  อาจจะเป็นคนดีมากๆที่บ้าน หรือในชุมชนก็ได้    เช่น เขาอาจจะมีพ่อที่ป่วยใกล้ตาย  ทำให้เขาเกิดความเครียด   และ ยิ่งมาทำงานแบบเครียด   อะไร อะไรก็จะประเมินผล   นายบ้าประเมินผล   ยิ่งทำให้เครียดขึ้นไปใหญ่    จนฟอร์มตก  ทำงานได้แย่ลง     และ แทนนที่เจ้านายจะเข้าใจ  เข้ามาศึกษาเรื่อง จิตใจ ของพนักงาน    นายก็มักจะ จิตเกิดอาการ คิดแต่เรื่องร้ายๆ   จนไล่เขาออกไปก็ได้   แทนที่จะหาทางช่วยเขา   

4)  ถ้าเราไปไล่ดู เพื่อจะหาว่า ใครในองค์กรของเรา เป็นตัวเริ่ม กระแทกคนแรก   ก็คงยากน่าดูนะครับ  และน่าจะมีหลายคู่   

 ผมคิดว่าในองค์กร คงมี หลายๆคู่กรณี ที่ จิตเกิดแล้วไม่รู้ตัว  กระแทกกัน แค้นกัน  ไม่ไว้ใจ  ฯลฯ      ดังนั้น   จึงไม่แปลกอะไร ที่ผมเพียรพยามสอนธรรมะ ฝึกสติให้ผู้คนในองค์กร ในชุมชนต่างๆ     เพราะ  หากคนต่างๆ มีสติ   ปัญยาก็จะเกิดขึ้น  ผลผลิตย่อมดีแน่นอนครับ   แต่ก็น่าเสียดาย ที่ เจ้านายทั้งหลาย หลงตนเอง โลภ   จนไม่เห็นความสำคัญของเรื่อง สติ นี้ 

5 )     หนังเรื่องนี้ ตอกย้ำให้ผมเชื่อมั่นว่า  การสร้างองค์กรอมตะ (Living company) ต้องใช้หลักธรรมเป็นยาวิเศษ    

6)   วันๆหนึ่ง พวกเรา จิตเกิดอกุศลได้มากมาย    เพราะ เราพกพา และสะสมความคิดอกุศลมากมาย     ผมขอแนะนำให้คิดดี   คิดแง่บวกบ่อยๆ   ซึ่งต้องอาศัยการฝึก  การสนทนาแลกเปลี่ยน  จึงจะเกิดความคิดแบบบวกได้

7) วิทยากรที่เข้าไปสอนเรื่อง การสื่อสาร  ผู้นำ  การทำงานเป็นทีม  ฯลฯ  ถ้าเอาแต่สอนแบบเดิม  กิจกรรมกลุ่มแบบเดิมๆ   ผมว่าเปลี่ยนแปลงผู้เรียนได้ยาก   ผมคิดว่าสมัยนี้ มีเครื่องมือใหม่ที่ดีกว่านั้นอีกมาก   เช่น  world café  /  Show & share  เป็นต้น  

8) คนเราหลายคน เข้ามาทำงานในองค์กร ในอาชีพต่างๆ   โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่า  ทำไปทำไม   พวกเขาไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขาเอง    เหมือนหนูในกรง ที่เอาแต่ถีบจักร     หมุนๆไป

9) การศึกษาลึกลงไปในใจของตัวเราเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริง     ท่านดะไล ลามะ พูดเอาว่า  เรื่องการค้นหาตนเอง เข้าใจตนเอง เป็นสิ่งที่เร่งด่วน แต่ตอนทำไม่ควรเร่งด่วน       นั่นคือ  การรู้จัก ลึกลงไปในอารมณ์ ในใจของตนเองสำคัญที่สุด  ด่วนที่สุด

                ระบบการศึกษาของเรา  ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนของเรารู้จักตนเอง  เคารพตนเอง  อยู่ร่วมกับคนอื่น   การใช้สติ  ฯลฯ   เราจึงเหมือนหนูถีบจักร     กิน ถ่าย สืบพันธุ์  โทรมือถือ  นอน  และ ตายไปอย่างโง่งม   เสียหายทั้งวิมุติและสมมติ "

จบบทความ


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29294เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 05:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ถ้าเราฝึกสติ ในการทำงานเป็นกิจวัตรเราก็จะช่วยเหลือตนเอง(เป็นอันดับแรก)และผู้อื่นได้(ด้วยการเป็นกัลยาณมิตร)

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้สติ...อ่านแล้วทบทวนเห็นการย้ำสัญญาการยึดติดของตัวเองว่ามีอยู่เสมอและนี่เองแหละที่ก่อเกิดทุกข์เศร้าหมอง....ผิดหวังอกหักนายด่าไม่เข้าใจความรู้สึกยังไม่เจ็บปวดเท่ากับการไปสร้างสังขารใส่ให้กับตัวเอง...บางทีการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงความเคยชินเดิมของตัวเองง่ายกว่าที่จะสร้างเงื่อนไขต่อผู้อื่น...จะพยายามเป็นคนหนึ่งที่ไม่ตายอย่างโง่งมค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งที่ให้ข้อคิดและขยายความเข้าใจ

การคิดเชิงบวกนั้นจะกระทำได้ยากหาก คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเดินทางไปจนถึงขั้นที่สามของ ความต้องการ 5 ขั่นได้ครับ

อาจารย์ช่วยกรุณาอนุญาตให้ผมอ่าน Blog ของอาจารย์ได้ประจำได้ โดยการ Approve ชุมชน "ราชมงคล" ด้วยครับ

http://gotoknow.org/profile/thaischolar

 

ขอบคุณอาจารย์ที่เตือนสติ ทำให้เราหันกลับมามองตังเองมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท