ชลประทานระบบท่อบนดิน


ชลประทานระบบท่อบนดิน

Image and video hosting by TinyPic

         เมื่อตอนสาย ๆของวันนี้  ได้ฟังนายอนันต์  ดาโลดม  นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้พูดผ่านรายการั่วโมงทำกินขงสถานนีโทรทัศน์ TPBS ในเรื่องข้าวไทย:วิกฤติหรือโอกาส ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของพืชผลทางการเกษตรของไทย โดยเฉพาะ ข้าว ในโอกาสที่เอเซียนจะมีการเปิดการค้าเสรีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่านได้พูดถึงการเอาใจใส่ดูแลการทำการเกษตรในบ้านเราของรัฐบาลหลายเรื่อง ซึ่งแทบทุกเรื่องเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นกังวลอย่างมากต่อการทำมาหากินของเกษตรกรไทย  อาจพูดได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญแก่เกษตรกร ให้ความสำคัญกับการเกษตรกรรมน้อยมาก  ทั้ง ๆที่การเกษตรกรรมเป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมาก ๆ แต่กลับถูกลดทอนพลังและโอกาส ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงของรัฐ

        ในหลายเรื่องที่ท่านพูด มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยากหยิบยกขึ้นมาพูดถึง คือเรื่องน้ำ หรือ การชลประทาน ได้ยินตัวเลขที่ท่านพูดถึงเกษตรในเขตชลประทานของไทยแล้วตกใจแทบหงายหลัง  ท่านว่าพื้นที่ทำการเกษตรบ้านเราทั้งหมด 130 ล้านไร่ เป็นการทำเกษตรในเขตชลประทานเพียง 28 ล้านไร่ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะเท่ากับ  22  เปอร์เซ็นต์  ยิ่งถ้าไปดูทางภาคอิสาน ก็อยากชักตายเสียบัดดล เพราะพื้นที่ทำเกษตร  57 ล้านไร่ แต่มีที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง  3  ล้านไร่เท่านั้น คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็เพียง  6 เปอรเซ็นต์  โอ!!!!กระไรจึงช่างใจร้ายถึงเพียงนั้น 

        ท่านได้เล่าให้ฟังอีกว่า สำหรับการเกษตรกรรมบ้านเรา การเพิ่มผลผลิตไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงมีน้ำให้ชาวไร่ชาวนาเขาทำเท่านั้น คุณภาพต้องการอย่างไรให้สั่งได้เลย  ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รู้ได้เห็นมากับตากับตน  เมื่อผู้เขียนยังเด็ก ๆ อายุราว 4-5 ขวบ ผู้เขียนจะไปบ้านยายบ่อย ๆ บ้านยายอยู่ที่บ้านซ่อง ตำบลหนองกระเจ็ด ซึ่งอยูห่างจากอำเภอบ้านลาด ประมาณ  10 กว่ากิโลเมตร ในสมัยนั้นยังไม่มีชลประทาน ผู้คนที่บ้านยายส่วนใหญ่จะยากจนมาก จะมีโจรชุกชุม  ต่อมามีชลประทานไปถึง ชั่วเวลาไม่ถึง 10 ปี คนที่บ้านยายมีฐานะดีขึ้น ปลูกข้าวได้ปีละหลายเกวียน อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ บ้านซ่องกลายเป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะมะนาว กล้วยหอม มะม่วง ฯลฯ เป็นต้น

       ผู้เขียนรู้สึกสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุไฉนรัฐจึงไม่ลงทุนพัฒนาระบบชลประทานให้มันทั่วถึงในทุกพื้นที่  โดยเฉพาะทางภาคอิสาน มีความรู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมสำหรับคนภาคอิสานเลย  ด้วยเหตุที่การทำเกษตรกรรมโดยอาศัยน้ำฝนเป็นสิ่งที่จะเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้  ชาวอิสานส่วนใหญ่จึงต้องทิ้งถิ่นไปหากินต่างเมืองไกล ๆ แม้ขั้วโลกเหนือก็ยังไปกันเลย ลองคิดดูเองเถิดว่า ถ้าแผ่นดินถิ่นเกิดมันอุดมสมบูรณ์จะมีใครบ้างไหมที่จะดิ้นรนไปตายเอาดาบหน้า

      ผู้เขียนรู้สึกดีใจเมื่อรัฐบาลทักษิณเคยคิด Megaproject ที่จะสร้างระบบชลประทานแบบใช้ท่อ  ซึ่งจำได้ว่าเขากะประมาณงบประมาณว่าราว ๆ 3-4 แสนล้านบาท มีหลายคนสนับสนุน  โดยเฉพาะเจ้าสัว ซี. พี . นายธนินทร์  เจียรวนนท์ออกมาหนุนเต็ม ๆ เลย แต่ก็มีบางคนไม่เห็นด้วย  บ้างก็ว่าเป็นไปไม่ได้

      ผู้เขียนเคยลองคิดเล่น ๆกับเพื่อน ๆ คิดกันว่า เขาคงใช้วิธีการทำนองนี้มั้ง 
      คือใช้หลักการของกาลักน้ำ ดังที่ผู้เขียนลองวาดรูปไว้ดังที่เห็นอยู่ข้างล่าง

          ไม่เคยเห็นระบบที่เขาออกแบบสำหรับการดำเนินการจริง ๆ แต่คิดว่าน่าจะเป็นทำนองนี้  หากใครเคยเห็นแบบที่เขาออกแบบไว้เพื่อจะใช้ในโครงการจริง ๆ กรุณาแนะนำด้วย จะขอบพระคุณมาก

          เรื่องการพัฒนาระบบชลประทานให้ทั่วถึงพื้นที่เกษตรกรรมในทุกภาคนั้น  ผู้เขียนอยากให้ชาวเกษตรในบ้านเราให้ความสนใจกันมาก ๆ แม้เกษตรกรภาคกลางอาจมีการชลประทานอุดมสมบูรณ์แล้ว  ก็ควรเข้าร่วมขบวนการกับคนภาคอิสานที่ยังไม่มีชลประทานด้วย 
  
           สมัยนี้ ชาวบ้านจะคอยรอว่าเมื่อไรรัฐจะดำเนินการเสียที ไม่ได้แล้ว
        
           ชาวบ้านต้องมองให้เห็นทุกร้อนของตน แล้วไม่นิ่งดูดาย

                                        Image and video hosting by TinyPic

paaoobtong
28/08/52
00:49

หมายเลขบันทึก: 291699เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แล้วจะเพิ่มเนื้อหาให้ได้อ่านเมื่อไรขอรับท่านอาจารย์

 

สวัสดีนายก้ามกุ้ง

  • จริง ๆยังไม่ตั้งใจจะเอาขึ้นบล็อกหร็อก เผลอไป เลยมีแต่หัวข้อ
  • ตอนนี้ มีเนื้อให้อ่านแล้ว นายก้ามกุ้งหลับไปแล้วซี
  • อย่าลืมนะ ตื่นเช้ามาอ่านต่อให้ได้นะ

paaoobtong
28/08/52
01:00

โอโหอาจารย์เล่นวาดmap ลายน้ำอย่างนี้ รัฐบาลก็อายแย่ซิค่ะ

แล้วเขาคงไม่เอาของอาจารย์อีกนั่นแหละ เพราะสังเกตจากโครงการ

Megaproject เขายังไม่เอาเลย รัฐบาลเขาต้องหาทางคิดเอง อิอิ

เดี๋ยวจะหาว่าไม่แน่ แต่คิดช้าอย่างนี้

ชาวบ้านหดโอกาส เวลานั้นหายไป ผลผลิตก็หายไปด้วย

คิดอย่างอาจารย์นั้ช่นแหละดีแล้ว อย่าไปรอเลย

งบรัฐมันมายาก ใช้ยาก

ชาวบ้านรวมตัวกัน ออกแรงร่วมแรงกันแบบระดับชาติก็ดีนะคะ

อีสานไม่มี ขาดแคลน ก็เฮกันไปช่วย แบบลงแขก ก็สนุกดี

หายเครียดได้ แต่เอ ครูต้อยคิดแบบนี้

มันจะเข้าท่าหรือไม่ไม่ทราบ ที่แน่ๆ

ครูต้อยสุขใจที่ได้คิดไปกับอาจารย์ด้วย

ขอบคุณค่ะ

ปล. ขอที่อยู่ด้วยค่ะ

จะส่ง ซีดี กายบริหารด้วยยางไปให้ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์krutoi

  • ดีใจที่ได้มาทักทายกันนะครับ
  • อยากให้บ้านเมืองเรามีบรรยากาศแบบอาจารย์ว่านะ
    "ชาวบ้านรวมตัวกัน ออกแรงร่วมแรงกันแบบระดับชาติก็ดีนะคะอีสานไม่มี ขาดแคลน ก็เฮกันไปช่วย แบบลงแขก"
  • กำลังรออยู่ที่เดียวครับ จะเอาที่อยู่ไปให้ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอให้มีความสุขครับ

paaoobtong
28/08/52
09:50


 

     นี่คือตัวอย่างท่อที่ใช้ในการส่งลำเลียงน้ำ

 

paaoobtong
30/08/52
03:07

สวัวดีครับอาจารย์ ใช่แล้วครับ ชาวบ้านต้องรู้จักตัวตน ค้นปัญหาความต้องการ แล้วเริ่มแก้ที่ตัวเอง ที่ผ่านมา เรามองว่าชาวบ้านมีปัญหาเราเข้าไปแก้ให้ ปัญหาจึงแก้กันไม่จบครับท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท