ปิดสนามหลวง(3) : แก้ไขปัญหาได้จริงหรือ


ย้อนกลับไปดูการปิดสนามหลวงในช่วงที่ผ่านมาย้อนขึ้นไปอย่างน้อย สามยุคของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งแรกในปี 2544 ยุคของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี สมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมาตรการปิดสนามหลวง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมสำคัญในช่วงเดือนเมษายน และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ยุคของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็ออกมาตรการสั่งปิดสนามหลวง อ้างว่าเพื่อแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน การค้าประเวณี ?? และมาล่าสุด ในวันที่ 1 กันยายน 2552 ที่จะมาถึงนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมาตรการเช่นเดียวกัน ? และทุกครั้งก็ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมารองรับ ยกเว้นเมื่อปี 2544 ยุคนายสมัคร สุนทรเวช ที่ นำคนเร่ร่อนเข้าอบรมที่โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อ้างว่าเพื่อฝึกอาชีพ แต่สุดท้ายเมื่อผ่านงานสำคัญไปคนเหล่านี้ก็กลับมาสู่สนามหลวงเช่นเดิม

ปิดสนามหลวง(3) : แก้ไขปัญหาได้จริงหรือ

หลังจากที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ออกประกาศกร้าวว่าจะเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สนามหลวง โดยเริ่มจากการใช้มาตรการทางกฎหมายภายใต้พรบ.รักษาความสะอาด พ.ศ. 2535 เพื่อจัดระเบียบสนามหลวง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะกวาดล้างคนเร่ร่อน รวมไปถึงการกดดันกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกจากสนามหลวง ??

ย้อนกลับไปดูการปิดสนามหลวงในช่วงที่ผ่านมาย้อนขึ้นไปอย่างน้อย สามยุคของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งแรกในปี 2544 ยุคของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี สมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมาตรการปิดสนามหลวง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมสำคัญในช่วงเดือนเมษายน และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ยุคของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็ออกมาตรการสั่งปิดสนามหลวง อ้างว่าเพื่อแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน การค้าประเวณี ?? และมาล่าสุด ในวันที่ 1 กันยายน 2552 ที่จะมาถึงนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมาตรการเช่นเดียวกัน ? และทุกครั้งก็ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมารองรับ ยกเว้นเมื่อปี 2544 ยุคนายสมัคร สุนทรเวช ที่ นำคนเร่ร่อนเข้าอบรมที่โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อ้างว่าเพื่อฝึกอาชีพ แต่สุดท้ายเมื่อผ่านงานสำคัญไปคนเหล่านี้ก็กลับมาสู่สนามหลวงเช่นเดิม

ข้อสังเกตที่ขออนุญาตตั้งไว้คือ ทำไมต้องเป็นวันที่ 1 กันยายน ที่เป็นวันคล้ายวันสถาปยาเทศกิจ ?? ก็เพราะ ผู้บริหารฝ่ายการเมืองเบี่ยงเบนประเด็นให้พลเมืองไทย ไปจับคู่รบกับข้าราชการประจำแทนนักการเมือง แต่ไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ไขปัยหาอย่างแท้จริง ในครั้งนี้ การประกาศจัดระเบียบคนเร่ร่อนที่จะอ้างข้อกฎหมายภายใต้ พรบ.รักษาความสะอาด 2535 นั้น ที่มีแต่มาตรการและบทลงโทษสำหรับคนที่ล่วงล้ำเข้ามาในสถานที่สาธารณะ ? แต่ในขณะเดียวกัน คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 55  ที่ระบุว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ และในขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ การดำเนินการใดใด จึงยังไม่สามารถทำได้ เพราะถ้าหากทำโดยไม่มีมาตรการรองรับ ย่อมถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจของรัฐธรรมนูญ เพราะ ในเมื่อยังไม่มีความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ การกวาดล้างกวาดจับ จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองที่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

คำถามที่ อิสรชน ตั้งคำถามทุกครั้งคือ การปิดสนามหลวงและการกวาดล้างที่รัฐทำอยู่และทำมาโดยตลอดมันสามารถแก้ปัญหาได้จริงตามที่แถลงข่าวออกมาหรือไม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติต่อคนเร่ร่อน คนไร้บ้าน หรือผู้ที่ใช้ชีวติในที่สาธารณะมากน้อยเพียงใด ? หากการกวาดจับ การกวาดล้าง ที่อ้างว่าลงทะเบียนแสดงตัวนั้น ยังใช้การดำเนินการแบบที่ว่า พบเจอครอบครัวพ่อ แม่ ลูก แล้ว จับแยก ให้พ่อไปทางแม่ไปทางลูกไปทาง แล้วบอกว่า แบบนั้นคือการช่วงเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เห๋ฯทีจะต้องคุยกันอีกยาว

คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครและคณะรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย มักจะใช้ฉากของการทำงานกับคนสนามหลวง ว่าตนเองใส่ใจปัญหาสังคมแต่แท้ที่จริงเป็นเพียงการสร้งภาพให้แก่ตนเองและพรรคที่ตนเองสังกัดเท่านั้น คิดและลงมือทำเพียงมิติเดียว และคำที่ชอบกล่าวอ้างเสมอ ๆ คือ สนามหลวงมีผู้มีอิทธิพล ?? ใครคือผู้มีอิทธิพลในสนามหลวง ?? อิสรชนลงทำงานที่สนามหลวงอย่างต่อเนื่องยาวนาน เปลี่ยนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาไม่น้อยกว่า สามคน ยังมองหาและตามตัวไม่เจอ พบแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อิทธิพลข่มเหงรังแกพลเมืองที่อ่อนแอกว่าตนเองอยู่เนือง ๆ มากกว่า

การแก้ไขปัญหาแผงค้าที่สนามหลวง ที่มีเพิ่มากขึ้นจนละลานตา ต้องย้อนกลับไปดูที่ราก สนามหลวง ผู้ค้าเพิ่งรุกเข้ามาในพื้นที่สนามหลวงเพื่อทำการค้าขาย หลังจากที่ พลตำรวจเอกเสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ประกาศห้ามไม่ให้ขายของริมคลองหลอดเมื่อสมัยเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินี่เอง ก่อนหน้านี้เขาก็ขายกันริมคลองหลอด ตลอดแนวตั้งแต่หน้าดรงแรมรัตนโกสินทร์เรื่อยไปจนถึงหลังกระทรวงกลาโหม ซึ่งก็หลบสายตานักท่องเที่ยวยามราตรีเป็นอย่างดี และหาก วางระเบียบกติกาเงื่อนไขและส่งเสริมให้เป็นตลาดมือสองยามราตรี ผู้ค้าก็น่าจะยินดีปฏิบัติตามมากกว่าใช้วิธีไล่กันแบบที่ตั้งใจจะทำในวันที่ 1 กันายนยน 2552 นี้

ท้ายที่สุด คงต้องฝากและกระตุ้นต่อมสำนึกของคนที่กำลังจะออกมาตรการดังกล่าวออกมา ว่าจริงใจกับสิ่งที่บอกออกมาจริง ๆ หรือมีนัยทางการเมืองแอบแฝงอยู่ พลเมืองไทย อยู่ที่ไหนในสถานภาพแบบใด สิทธิ ก็มีเท่าเที่ยมกันทุกคน หากการปฏิบัติต่อคนสนามหลวง โดยไม่มีมาตรการทางกฎหมายรองรับ อิสรชน จะเป็นองค์กรหนึ่งที่จะยื่นฟ้องศาลปกครองให้คุ้มครองคำสั่งหรืออะไรก็ตามที่รัฐบาลหรือ คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครจะออกมาเพื่อจัดการคนสนามหลวง ไม่เชื่อก็คงต้องดูกันซักตั้ง

หมายเลขบันทึก: 291670เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท