Best Practice กับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ/มัชฌิมาปฏิปทา

           พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา ที่แตกต่างจากศาสดาของศาสนาอื่นๆ กล่าวคือ มิได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยเทวโองการ  ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์ที่        ดลบันดาลประทานให้  แต่ทรงตรัสรู้ด้วยวิธีการจัดการความรู้  (Knowledge Management) แล้วสรุปผลการปฏิบัติเป็น Best Practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) อันได้แก่ ทางสายกลางหรือ  มัชฌิมาปฏิปทา  ในพระพุทธศาสนา ทรงใช้เวลานานถึง 6 ปี ในการจัดการความรู้ ก่อนที่จะสรุปเป็น   Best Practice  โดยมีวิธีการต่างๆ  ดังนี้         

            1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น (Share & Learn) โดยสมัครเข้าศึกษาธรรมในสำนักของอาฬารดาบส และอุทกดาบส จนสำเร็จสมาบัติ 7-8 ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด ทรงมีวิจารณญาณว่า  วิธีการดังกล่าว ยังมิใช่หนทางดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง (ไม่ใช่ Best Practice)

            2. การปฏิบัติแบบลองผิดลองถูกด้วยตนเองตามความเชื่อของคนในยุคนั้น คือ การบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการทรมานตนเอง ให้ได้รับความลำบากมากที่สุด เพื่อเป็นการชดใช้กรรมให้หมดและขอให้เทพยดาประทานพรให้ ทรงทรมานตนเองถึงขั้นอุกฤษฏ์ ด้วยการ อดอาหารจนเกือบสิ้นพระชนม์  แต่ก็ไม่พบหนทางแห่งการดับทุกข์

            3. การสรุปบทเรียน (Lesson Learned) ทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว เป็น Best Practice  โดยเปรียบเทียบกับพิณ 3 สาย คือ สายหย่อน สายตึง และสายกลาง ดังนี้

                        3.1 สายหย่อน (กามสุขัลลิกานุโยค) คือ การแสวงหาความสุขด้วยการบริโภคกาม ลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามแบบคนทั่วไป ทรงพบว่า ไม่ใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ เพราะทรงใช้ชีวิตตามแนวทางนี้มาแล้ว เมื่อครั้งเป็นเจ้าชาย

                        3.2 สายตึง (อัตตกิลมถานุโยค) คือ การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ก็ทรงทำมาแล้วแต่ก็ไม่พ้นทุกข์

                        3.3 สายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป

            ภายหลังที่พระองค์ได้จัดการความรู้แล้ว ทรงยินดีในทางสายกลาง และทรงเลือกปฏิบัติตามวิธีการนี้ ทำให้ตรัสรู้ (อริยสัจ 4 ) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงประกาศพระศาสนาให้มัชฌิมาปฏิปทาหรือ ทางสายกลาง เป็น Best Practice ที่พุทธศาสนิกชน ควรนำไปปฏิบัติ ดังปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  ปฐมเทศนาที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์

            ด้วยพระปัญญาธิคุณอันเป็นผลมาจากการจัดการความรู้ในครั้งนั้น ทำให้คนรุ่นหลังในกาลต่อมาได้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เป็น เอกายโน มคฺโค (ทางสายเอก) โดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเหมือนกับพระองค์

 

หมายเลขบันทึก: 291662เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กราบคารวะขอรับอาจารย์

นี่ขนาดมีทางสายเอกนะสังคมปัจจุบันลองผิดลองถูกมากกว่าพระพุทธองค์นะขอรับ..

ส่วนหนึ่งเพราะการนำเสนอของพระเราไม่ตรงประเด็นโดยส่วนมาก

และอีกส่วนผู้ปฏิบัติยังไม่มีศรัทธาที่มั่นคงพอ..

แต่ธรรมฐิตมองส่วนแรกร้ายแรงกว่าที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน

ขอกราบด้วยความเคารพขอรับ..

นมัสการด้วยความเคารพครับ

พระครูนิวิฐธุราทร

เรียนท่านธรรมฐิต

  • พระพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางให้เดิน
  • แต่...ผู้เดินจะเดินผิดหรือเดินถูกนั้น
  • มันอยู่ที่ตัวผู้เดินเอง

                          จงมุ่งมั่นต่อไปเป็นกำลังใจให้นะครับ

พระครูนิวิฐธุราทร

เจริญพร ท่านบวร

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชม
พระครูนิวิฐธุราทร

เจริญพร คุณณัฐรดา

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกัน

                     อนุโมทนานะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท