มารยาทไทย


มารยาทไทย

มารยาทไทยเป็นวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่สำคัญควบคู่กับสังคมไทยมาตลอด  การปฏิบัติให้เหมาะสมตามยุคสมัย  ตัวดิฉันเองได้เห็นความสำคัญเรื่องมารยาทไทยและได้เปิดสอนในกิจกรรมชุมนุมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย(มารยาทไทย)  รับผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามกาลเวลาที่เหมาะสม

มารยาทไทยหมายความถึงกิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ มารยาทไทยครอบคลุมไปถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่นการแสดงความเคารพ การส่งและรับสิ่งของ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และการบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

มารยาทไทยที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติดังนี้

๑. การแสดงความเคารพ

๒. การส่งและการรับสิ่งของ

๓. การยืน

๔. การเดิน

๕. การนั่ง

๖. การนอน

วันนี้ให้ความรู้เรื่องการนั่ง   มารยาทในการนั่งจัดเป็นประเภทต่างได้ดังนี้

๑.  การนั่งพับเพียบคือการนั่งราบกับพื้น พับขา ให้ขาขวาทับขาซ้ายหรือขาซ้ายทับขาขวา  แบ่งได้ ๔ แบบดังนี้

๑.๑ การนั่งพับเพียบแบบธรรมดาคือนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขาหรืเอามือเท้าพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ใช้ในการนั่งสนทนาหรือนั่งตามลำพัง

๑.๒ การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ อาจนั่งท่าใดท่าหนึ่งก็ได้แต่อย่าเท้าแขสายตาทอดลงเล็กน้อยไม่จ้องหน้าผู้ใหญ่จนเสียกิริยาใช้ได้ทั้งชายและหญิงคือ

นั่งพับเพียบตัวตรงเก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพกมือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้ายวางมือประสานบนหน้าขาซ้าย หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมและสวยงาม

การประสานมือให้ปฏิบัติในอาการที่สำรวมอาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

- ใช้มือซ้ายหงายมือขวาควำทับหรือมือขวาหงายมือซ้ายควำทับ

- ใช้มือทั้งสองควำทับกันจะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้

- สอดนิ้วระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือคล้ายการประนมมืออย่างหลวม ๆ

ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำสิ่งของไปให้ควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้ายเพื่อสะดวกในการรับสิ่งของจากผู้ใหญ่เพราะเราจะส่งของหรือรับสิ่งของด้วยมือขวา

นั่งพับเพียบค้อมตัวเก็บปลายเท้าวางแขนทั้งสองข้างลงบนหน้าขา ประสานมือ อย่างใดอย่างหนึ่ง

๑.๓ การนั่งพับเพียบประนมมือโดยประนมมือให้ปลายนิ้วมือแนบชิดกัน ปลายนิ้วตั้งขึ้นแขนแนบตัวระดับอกไม่กางศอก  การนั่งลักษณะนี้ใช้ในโอกาสที่นั่งฟังพระแสดงธรรมเทศนา ฟังสวดมนตืในศาสนพิธี รับฟังโอวาท รับพรจากผู้ใหญ่ ปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง

๑.๔ การนั่งพับเพียบในพิธีการ ให้นั่งพับเพียบในอาการสำรวมตลอดเวลา

ขณะนั่งพับเพียบไม่ควรพูดคุยหรือส่งเสียงดังถ้าจะเปลี่ยนท่านั่งให้ใช้มือทั้งสองข้างเท้าพื้น ปลายนิ้วมือ

เหยียดไปข้างหน้าแล้วเปลี่ยนท่านั่งตามสะดวก

 

 

หมายเลขบันทึก: 291588เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับตคุณครู ยินดีต้อนรับการเป็นสมาชิควันแรกครับ

แล้วจะติดตามผลงานรังสรรค์ดี ๆ ต่อไปครับผม

  • เข้ามาเป็นอีกหนึ่งแรงใจ...ไม่มีหมด...คะ
  • ทุกการทำงานแม้จะเหน็ดเหนื่อย จนท้อ...
  • แต่ขอเพียงเรายังจดจำไว้ว่า...
  • "ท้อได้..แต่อย่าถอย"...
  • "มองที่เป้าหมายไว้ ก้าวเดินอย่างช้าๆ มั่นคง...ดีกว่าหยุดเดิน...ซึ่งนั่น...หมายถึงเราจะไม่มีวันถึงเป้าหมาย"
  • สู้ๆ คะ
    • เพิ่มรูปมาให้ป้าบัวนะคะ
    • ตอนไปแข่งมารยาทไทยที่เลยพิท
    • ใครเป็นใครดูกันเองนะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท