ความรู้ด้านกายภาพบำบัดที่ไม่พอและผิด!


ทุกครั้งที่ดิฉันได้รับการติดต่อทางอีเมลจากผู้อ่านได้อ่านบล็อกเกี่ยวกับการดูแลพ่อที่เคยป่วยเป็นอัมพฤกษ์ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง (http://gotoknow.org/blog/dad/toc) ทำให้หวนคิดไปว่า กำลังใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาการของผู้ป่วยค่ะ

หลายครั้งที่ดิฉันเห็นพ่อน้ำตาไหลเพราะความพยายามในการหยิบจับสิ่งของที่ครั้งหนึ่งเคยหยิบได้ ทำให้อยากจะร้องไห้ไปด้วย แต่ก็ต้องอดทนไว้ค่ะ เพราะน้ำตาของเราจะยิ่งทำให้เขาอ่อนแอค่ะ ครั้งใดที่ดิฉันคิดอย่างนี้ ก็จะค่อยๆ ทำใจเย็นๆ ท่องหนึ่งถึงสิบไว้ในใจ เพื่อกำจัดอารมณ์และสร้างแรงกำลังใจกลับมาค่ะ และเมื่อวันหนึ่งได้เห็นพ่อหยิบจับของได้ นั่นแหละค่ะ คือ รางวัลแห่งความอดทน

น่าแปลกค่ะ ช่วงนี้ดิฉันได้รับอีเมลเรื่องขอคำแนะนำและบอกถึงความท้อถอยค่อนข้างบ่อยค่ะ ทำให้ทราบว่า คนไทยยังขาดความรู้เรื่องการทำ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดด้วยตนเองค่ะ หรือที่เรียกว่า occupational therapy หรือ การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การฝึกตัดกระดาษ ฝึกติดกระดุม เป็นต้น (http://gotoknow.org/blog/dad/41026)

ดิฉันเองค้นหาข้อมูลนี้จากทางอินเตอร์เน็ตค่ะ แต่ด้วยทักษะภาษาอังกฤษที่มีทำให้ได้ข้อมูลมาไม่ยากค่ะ ส่วนการค้นหาด้วยภาษาไทยนั้น เท่าที่จำได้ตอนนั้นจะหาได้ยากมากค่ะ

occupational therapy จำเป็นมากนะค่ะ เพราะทำได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งวันแต่อย่าเร่งรัดค่ะ และที่สำคัญคือจะให้รอเข้าคิวรักษาที่หน่วยกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลอย่างเดียวคงไม่ไหวหรอกค่ะ คนเยอะมากทำให้รอจนเครียดค่ะ

อีกอย่างหนึ่ง อีเมลส่วนใหญ่จะบอกว่า รักษาด้วยการนวดแพทย์แผนไทยค่ะ เท่าที่จำได้คือ หมอแผนปัจจุบันบอกว่า ห้ามนวด นะค่ะ

สรุปว่า ความรู้ด้านการทำ occupational therapy ยังน้อยมาก และมีความรู้ที่ผิดด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 291580เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับ อ.จันทวรรณ ...

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับว่า กายภาพบำบัด = Physical Therapy ซึ่งแตกต่างจาก กิจกรรมบำบัด = Occupational Therapy ครับ

หลายคนยังเข้าใจว่าเป็นนักวิชาชีพทางการแพทย์เดียวกัน จริงๆ แล้วคนละวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันในงานฟื้นฟูสมรรถภาพครับ

ลองคลิกอ่าน http://gotoknow.org/blog/ptotmeeting/98814

ขอส่งความสุขและความคิดถึงแด่อาจารย์ อ.ธวัชชัย และน้องต้นไม้ ด้วยครับผม

ขอบคุณมากค่ะสำหรับการเติมเต็มความรู้ แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่ะ :)

สวัสดีค่ะอาจารย์ สามีดิฉันประสบอุบัติเหตุ เลือดออกในสมอง อ่อนแรงซีกขวาเป็นมา ๒ ปีเศษแล้วค่ะ ดิฉันจึงเข้าใจทุกมิติของการเป็นคนไข้ ครอบครัว ญาติ และมิติของการให้บริการแก่คนไข้กลุ่มนี้ค่ะ รวมทั้งรู้ว่ายังมีคนไข้อีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการ แม้จะเข้าถึงก็เป็นบริการที่ได้เพียง 10 ใน 100

ไม่นานมานี้ ดิฉันได้เจอนักกายภาพบำบัดที่เก่งชื่อ อ.วิยะดา ศักดิ์ศรี จากการอ่านหนังสือที่อาจารย์เขียนชื่อ คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ดิฉันขับรถพาสามีไปหาอ.วิยะดาที่คลินิกหลายครั้งแล้ว และได้ความรู้ดีๆ เทคนิควิธีดีๆ มากมายกลับมา อาจารย์เก่ง และไม่หวงวิชา ได้เจอ ได้คุยกับอ.วิยะดา และ อ.สุรัตน์ (เขียนหนังสือด้วยกัน) แล้ว ได้ความรู้เอามาใช้มากค่ะ

คนไข้ต้องการทั้งกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดค่ะ

เมื่อวานเพิ่งไปมา อ.วิยะดาเล่าว่าในเว็บไซต์ของ WHO มีคู่มือเรื่องนี้มากมายให้อ่าน เขียนให้อ่านง่าย แต่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านเลยค่ะ

อย่าให้คุณพ่อนวดนะคะ อันตรายจริงๆ ดิฉันเห็นคนขาเสีย ข้อหลุด จนพิการจากนวดมาหลายรายค่ะ

Book

คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ผู้แต่ง/แปล : วิยะดา ศักดิ์ศรี และคณะ
Barcode : 9786115290000
ISBN : 9786115290000
ปีพิมพ์ : 1 / 2552

กายภาพบำบัดจะเน้นเรื่องการเดินและการช่วยเหลือตนเองเป็นหลักครับ ส่วนกิจกรรมบำบัดจะเน้นการฝึกใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท