dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

เจตคติต่อหนังสือของเด็กปฐมวัย


การอ่านหนังสือของเด็กปฐมวัย

 

เจตคติต่อหนังสือของเด็กปฐมวัย

 

 

                   การที่จะให้เด็กรักการอ่านหนังสือจนกระทั่งกลายเป็นนิสัยรักการอ่านหนังสือเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่นั้น  ไม่ใช่อยู่ดี    จะเกิดขึ้นได้  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครูหรือผู้เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ  สิ่งแรกต้องให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อหนังสือก่อน   เจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือ  เห็นได้จากพฤติกรรมของเด็กที่แสดงต่อหนังสือในลักษณะต่าง    ที่สังเกตได้  เด็กปฐมวัยเริ่มมีเจตคติต่อหนังสือได้เมื่อเด็กมีความพร้อม   คือ  ยินดีที่จะได้รับฟังไม่ใช่ลักษณะการอ่านด้วยตนเองแต่เป็นการรับฟัง  เช่น  การฟังบทเพลง   การฟังบทเห่กล่อม  การฟังกลอนจากนิทานหรือจากคำพูดของบุคคลรอบข้าง  ถ้าเด็กแสดงอาการยินดีพอใจก็พอที่จะเข้าใจได้ว่าเด็กเริ่มมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งที่ได้รับฟังนั้นแล้ว  เจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือได้จากการสังเกตพฤติกรรมต่อไปนี้

 

พฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกของเด็ก 

 

                   เมื่อเด็กได้ฟังบทเห่กล่อม  บทกลอนหรือเรื่องราวใดแล้วเราอาจสังเกตดูท่าทางหรือความรู้สึกของเด็กที่แสดงออก  เช่น  การยิ้ม  การตอบสนองด้วยการปรบมือ  การยินดีตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น   การขอร้องให้เล่านิทานซ้ำ  การแสดงความรู้สึกออกมาในทางวาจา  เช่น  ความสงสาร  เห็นใจ  เป็นต้น

 

พฤติกรรมที่แสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง 

 

                   เมื่อเด็กปฐมวัยได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องใด    และมีเจตคติที่ดีนั้นเราอาจพิจารณาความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้  โดยสังเกตพฤติกรรมของเด็กได้ดังนี้

-          ตอบคำถามง่าย    เกี่ยวกับเรื่องได้

-          ดูภาพแล้วชี้บอกว่าภาพใดคือตัวละครใดในเรื่อง

-          บอกได้ว่าตัวเองชอบสิ่งใดหรือตัวละครตัวใดมากที่สุด

-          เลือกภาพเกี่ยวกับเรื่องได้ถูกต้อง

-          บอกได้ว่าเรื่องสนุกหรือไม่สนุก

-          ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องได้บ้าง

 

 

-          บอกลักษณะง่าย    หรือลักษณะเด่นของตัวละครได้

-          เล่าเรื่องที่ฟังได้พอรู้เรื่อง

 

พฤติกรรมอื่น ๆ  ที่เด็กมีต่อหนังสือ

-          สนใจและชอบฟังเรื่องราวต่าง    เป็นประจำ

-          แสดงความสนใจอยากได้หนังสือต่าง    ที่ตนเองมีความพอใจและขอร้องให้ผู้ใหญ่จัดหาให้ทุกครั้งที่มีโอกาส

-          นำหนังสือติดตัวไปไหนมาไหนด้วยในลักษณะคล้าย  วางไม่ลง  หรือ  ห่างไม่ได้   เมื่อมีโอกาสจะจับมาเปิดดูหรือนำมาซักถามคนใกล้เคียงเมื่อมีสถานการณ์แปลก    เกิดขึ้น  เช่น  ผู้ปกครองมารับที่โรงเรียนช้าก็รู้จักใช้หนังสือเป็นเพื่อน 

-          หาโอกาสหาหนังสือดูด้วยตนเอง  เช่น  การเข้าห้องสมุด  การหยิบหนังสือ  ดูจากมุมหนังสือในชั้นเรียนหรือจากหิ้งหนังสือที่บ้าน  เป็นต้น

-          พิจารณาดูภาพในหนังสือด้วยความพินิจพิเคราะห์และให้ความสนใจเป็นระยะเวลานาน

-          รู้จักแลกเปลี่ยนหนังสือดูกับเพื่อน  และไต่ถามเรื่องราวจากเพื่อนที่รู้เรื่องแล้ว

-          รู้จักแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักหนังสือที่ตนเองเห็นว่าสนุกและน่าสนใจ

-          รู้จักการดูภาพไป  เล่าเรื่องไป  ซึ่งเรื่องที่เล่านั้นอาจเกิดจากจินตนาการของตนเองหรือเป็นเรื่องที่เคยได้ยินได้ฟังมา

-       รู้จักเก็บ  รักษา  ถนอม  และแสดงความเสียดายเมื่อหนังสือชำรุด  และคอยระวังดูแลไม่ให้ใครเอาไปและไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหนังสือ  เช่น  ไม่ฉีก ไม่ทิ้ง  เป็นต้น

-       ขอร้องให้ผู้ใหญ่เล่าหรืออ่านให้ฟังก่อนแล้วตนเองพูดหรืออ่านตาม  หรือพยายามเลียนแบบการออกเสียงที่ถูกต้องตามผู้ใหญ่

-          มีสมาธิอยู่กับหนังสือตลอดจนรับฟังเรื่องราวต่าง    ได้นานพอสมควร

   เมื่อเรารู้ถึงพฤติกรรมดังกล่าวที่แสดงถึงการมีเจตคติที่ดีต่อหนังสือแล้ว  เราควรช่วยกัน

ปลูกฝังและส่งเสริมสนับสนุนเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กเล็ก    มีนิสัยรักการอ่านหนังสือเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

 

 

--------------------------

หมายเลขบันทึก: 291579เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้ความรู้ จะแวะมาอ่านอีกนะคะ

  • สวัสดีค่ะท่านศน.ดารารัตน์
  • มารับความรู้เกี่ยวกับเจตคติต่อหนังสือของเด็กปฐมวัยค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ

ครูรส

ชิษณุพงศ์ วรรณเกษม

การที่เราจะปลูกฝั่งให้เด็กรักการอ่านจนโตเป็นผู้ใหญ่ นั้นควรเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่ชวนกันให้ลูกรักการอ่านโดยเริ่มต้นจากการเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง สนใจลูกว่าชอบอ่านหนังสือแนวไหนและก็ต้องเหมาะสมกับวัยของลูกเรา ซึ่งจะเป็นการทำให้เด็กรักการอ่าน

เราจะต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กเล็กๆให้เด็กทุกคนมีนิสัยรักการอ่านรักหนังสือ การอ่านหนังสือสามารถทำให้เด็กมีสมาธิยาวกว่าการที่ให้เด็กดูโทรทัศน์ แต่เด็กสมัยนี้ติดโทรทัศน์มากกว่าจึงทำให้เด็ยสมัยนี้มีสมาธิสั้น การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็กนั้นควรเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรกเพราะเป็นโรงเรียนแรกของเด็กทุกคน

อุดมพงษ์ โกศลธนทรัพย์

การปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านนั้นควรเริ่มจากสถาบันแรกคือ ครอบครัว พ่อแม่ควรมีการส่งเสริมให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน โดยอาจจะทำเป็นแบบอย่างหรือสอนให้ลูกอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือในรูปแบบต่างๆ ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กได้ทุกอย่าง เด็กๆอาจศึกษาวิธีการเขียนของนักเขียนในหัวข้อต่างๆ อาจนำมาซึ่งกระบวนการคิดวิเคราะห์ตามหัวข้อนั้นๆ และจะทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นด้วย

คุณครู สิทธิชัย ขำละม้าย

การส่งเสริมการอ่านให้มีนิสัยรักการอ่าน เปรียบได้ดั่ง เราได้ปลุกดอกไม้ ถึงแม้ จะไม่เป็นผมทันตา

แต่ก็ จะเห็นความวยงามของดอกไม่นั้น ในวันที่..เขาได้..หยิม หนังสือ ขึ้นมาอ่าน เองโดยความสนใจอย่างแท้จริงของเขา มากกว่า การสั่งให้เขาอ่าน

        การอ่านหนังสือจะช่วยให้เด็กมีสมาธิ ผู้ปกครองควรปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยรักการอ่านหนังสือและชอบอ่านหนังสือ เพราะการที่เด็กได้อ่านหนังสือจะทำให้เด็กได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ จากหนังสือที่อ่าน ช่วยเสริมสร้างสติปัญญาให้กับเด็กด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท