อินโดนีเซีย : อาณาจักรมัชปาหิต อาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในอาณจักรฮินดูชวา ค.ศ. ๑๒๙๓ – ๑๕๒๐


 

อาณาจักรมัชปาหิต (ค.ศ. 1293 – 1520)  เป็นอาณาจักรสุดท้ายที่เจริญทางด้านอารยธรรมฮินดูชวาและมีอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาขยายอิทธิพลในบริเวณดินแดนนี้

 

 

 

 มัชปาหิตถือว่าเป็นตัวแทนของอาณาจักรสิงหัสส่าหรี (ค.ศ. 1222 – 1292) ในการดำเนินนโยบายในการแผ่ขยายอาณาเขตไปยังเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินโดนนีเซียเขามาเป็นสมาพันธรัฐ แต่การขยายอำนาจนั้นมัชปาหิตต้องประสบกับปัญหาการก่อการกบฏภายในอาณาจักเองหลายครั้ง รัฐต้องใช้เวลาปราบอยู่หลายปี ผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนสำคัญในการสร่างความเจริญรุงเรื่องให้แก่อาณาจักมัชปาหิตหาใช้กษัตริย์ดังเช่นอาณาจักรอื่น ๆ ไม่ แต่เป็นเอกอัครมหาเสนาบดี ชื่อ คชา มาดา  (Gaja mada) ซึ่งมีอำนาจอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1330 – 1365

 

  คชา มาดา คือนายทหารหนุ่มที่สร้างชื่อจากการปราบกบฏพวก Anti-Foreign Party โดยมี Kuti ข้าราชการในราชสำนักเป็นผู้นำในปี ค.ศ. 1319  หลังจากปราบกบฏและช่วยเหลือกษัตริย์มัชปาหิตได้ เขาก็ได้เลื่อนฐานะใหญ่โตขึ้นจนกลายเป็นเอกอัครเสนาบดี และมีอำนาจมากในแผ่นดินมัชปาหิต

 

 

ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรที่นำโดย คชา มาดา มีดังต่อไปนี้

 

               

 

ด้านการเมืองการปกครอง

 

มีการขายอาณาเขตไปทั่วเกาะชวา ได้ครอบครองดินแดนเดิมของอาณาจักรศรีวิชัย คือ สุมาตรา แหลมมาลายู บอร์เนียว ซุนดา ภาคใต้ของเกาะเซเลเบส โมลุกะ ฯลฯ และยังปกครอง ชวา มาธะรัม บาหลีโดยตรง

 

ใช้กำลังทางการทหารเป็นเครื่องมือในการก่อตั้งจักรวรรดิ แทนการใช้ความเชื่อทางศาสนา ดังเช่นที่พระเจ้าเกียรตินครแห่งอาณาจักรสิงหัสสาหรีเคยใช้

 

สถาปนาสมาพันรัฐอินโดนีเซีย โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่มัชปาหิต นับว่าเป็นการสร้างอำนาจอันยิ่งใหญ่ให้กับอาณาจักรมัชปาหิต

 

มีการจัดระเบียบการปกครองภายในไว้เป็นสัดส่วน โดยการแยกตุลาการ การคลัง การทหาร การเกษตรออกจากกัน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน สร้างความคล่องตัว เสริมความสามารถของหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีปะสิทธิภาพอย่างเต็มที่

 

มีการจัดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ มีเงินเดือนตอบแทน เพื่อเป็นการลดอำนาจเจ้านายตัดปัญหาการแย้งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน

 

มีการสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อจัดแบ่งประชาชนให้เป็นชนชั้นต่าง ๆ

 

จัดสรรอาชีพให้เหมาะสมแก่ประชาชนในแต่ละชนชั้น

 

ทำนุบำรุงการทหาร สร้างแสนยานุภาพให้แข็งแกร่ง

 

 

 

ด้านกฎหมาย

 

มีการออกกฎหมายช่วยเหลือการเกษตร ป้องกันที่ดินในการเพาะปลูก

 

จัดรูปแบบมาตรการในการจัดเก็บภาษี

 

การรวบรวมตัวบทกฎหมายขึ้นมาใหม่ โดยได้ดัดแปลงกฎหมายชวาเดิม ผสมผสานกับคำภีร์ธรรมศาสตร์ของอินเดียที่ใช้เป็นแม่บทในการตัดสินคดี ความ พัฒนาการพิจารณาคดีความให้มีความยุติธรรมมากขึ้น

 

 

 

ด้านการทูตและการค้า

 

ได้มีการสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้ากับอาณาจักรใกล้เคียงเช่น อยุธยา พม่า เขมร จามปา และเวียดนาม และดินแดนไกล ๆ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เชียร์ ซึ่งเป็นผลงานสำคัญของคชา มาดา ทำให้อาณาจักรมัชปาหิตหมดห่วงเรื่องการรุกรานจากภายนอก ความมีเสถียรภาพทางการเมืองส่งผลให้เศรษฐกิจของมัชปาหิตดี

 

การที่มัชปาหิตควบคุมดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณหมู่เกาะอินโดนีเชีย จึงทำให้ มัชปาหิตกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และเป็นศูนย์กลางของสินค้าพื้นเมืองในแถบนี้ด้วย สินค้าสำคัญคือเครื่องเทศ เกลือ น้ำมันไม้หอม งาช้าง ฝ้าย ดีบุก และตะกั่ว ฯลฯ

 

อักษรศาสตร์ และงานทางการบันทึกประวัติศาสตร์

 

ได้มีการสนับสนุนนักบวชชื่อ Prapancha แต่งหนังสือโครงชื่อ นครเกียรติคม ในปี ค.ศ. 1365 เพื่อถวายเป็นเกียรติแก่พระเจ้าฮายัม วูรุก โดยบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของมัชปาหิตอย่างละเอียด และเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของตน

 

 

 

ศาสนา

 

นับถือศิวพุทธ แต่ได้สอดแทรกความเชื่อเดิมเข้าไปด้วยคือ เอาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์เป็นภาคหนึ่งของศิวะ เอาวิญญาณบรรพบุรุษของคนสำคัญไปรวบกับบุคคลในมหากาพย์ขออินเดีย เช่นพระอรชุน เป็นต้น

 

 

 

เมื่อคชา มาดาถึงแก่อนิจกรรมในปี ค.ศ. 1364  อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมอำนาจลง อำนาจหน้าที่ที่เคยเป็นของคชา มาดา ก็ถูกกระจายออกไปสู่เสนาบดี 4 คน จึงทำให้ไม่มีเอกภาพในการบริหารประเทศ  อีกทั้งเมื่อสิ้นพระเจ้าฮายัม วูรุก พระองศ์ไม่มีรัชทายาทจึงเกิดการแก่งแย้งชิงราชสมบัติของชนชั้นเจ้านาย เกิดสงครมกลางเมือง และการแข็งข้อจากบรรดาหัวเมืองตามเกาะต่าง ๆ รวมถึงการแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรไทย  ทำให้อำนาจของมัชปาหิตเสื่อมลงไปมาก  เมื่อถึง ค.ศ. 1520 อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมลง หมู่เกาะต่าง ๆ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระ

 

 

 

หลังจากนี้ไปก็ไม่มีอาณาจักรใดในอินโดนีเซียตั้งอาณาจักรขึ้นมาได้อีก อีกทั้งชาติตะวันตก ก็ค่อย ๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาจับจองแสวงหาผลประโยชน์และขยายอำนาจในดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ


คำสำคัญ (Tags): #ฮินดู ชวา
หมายเลขบันทึก: 291573เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุรครับ กำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่พอดีเลย

ขอบคุณค่ะกำลังทำรายงานอยู่พอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท