อาเซียน : อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้โปรตุเกสต้องสูญเสียดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดในคริตศตวรรษที่ 17


ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญต่อพ่อค้าและนักเดินเรือชาวต่างชาติมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ เนื่องจากเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางการเดินเรือของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปรซิฟิค โดยมีประเทศอินเดียกับจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีอารยธรรมความเจริญและสินค้าหลายชนิดที่ชาติตะวันตกและเปอร์เชียต้องการ ทำให้กลายเป็นทางผ่านที่สำคัญโดยมีช่องแคบมะละกาเป็นช่องทางสำคัญในการเดินเรือ และยังเป็นศูนย์กลางทางการแลกเปลี่ยนสินค้า ที่จอดพักเรือหลบลมมรสุม เป็นที่เติมเสบียงสำหรับการเดินทางของนักเดินเรือและพ่อค้า ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาจึงทำให้ชาวต่างชาติอพยพเข้ามาตั่งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนและอินเดีย และที่สำคัญที่สุดที่มีส่วนช่วยให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญรุ่งเรืองไปอย่างราวเร็วคือชาวตะวันตก 

 

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องการเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ถ้าชาติใดได้ควบคุมเส้นทางการเดินเรือในแถบนี้ก็จะมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองอย่างกว้างขวาง ผลประโยชน์มหาศาลจะตกอยู่กับประเทศนั้น จึงมีการแก่งแย่งกันตลอดเวลาที่จะควบคุมช่องแคบมะละกาตลอดเวลา 

 

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีทรัพยากร แร่ธาตุ และเครื่องเทศที่เป็นที่ต้องการสำหรับชาติตะวันตกอย่างสูง ดังนั้นการแค่ควบคุมเส้นทางการเดินเรือจึงยังไม่เพียงพอ การได้ครอบครองดินแดนเพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมหาศาลนี้ไปค้าขายและพัฒนาประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาติตะวันตก ดังจะเห็นได้ว่า มหาอำนาจตะวันตกผลัดกันรวมถึงแข่งกันครอบครองดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 20 ชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือชาวโปรตุเกส

 

โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีฐานเมืองท่าสำคัญอยู่บนฝั่งมะละบาร์ของอินเดียก่อน แล้วค่อยขยายอำนาจเข้ามาในมะละกาในภายหลัง

 

ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 โปรตุเกสได้เข้ามาละละกา พร้อมกับกองเรือโคชิน 18 ลำ และสามารถยึดมะละกาโดยการโจมตีอย่างง่ายดาย 

 

ในปี ค.ศ. 1513 โปรตุเกสบรรลุข้อตกลงระหว่างสุลต่าน Ternate และ Tidore ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานบนเกาะได้ รวมทั้งผูกขาดกานพลูในบริเวณแถบนี้และหมู่เกาะใกล้เคียง

 

แต่เพราะเหตุใดโปรตุเกสที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางทะเล ทางทหาร และศิลปวิทยาการทีทันสมัยจึงหมดอำนาจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็วและเสียดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเกือบทั้งหมดในตอนต้นคริสศตวรรษที่ 17 ซึ่งต่างกับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งสามารถรักษาและครอบครองดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างยาวนาน

 

สามารถจำแนกเหตุแห่งความเสื่อมของโปรตุเกสได้ดังนี้

                  1 .โปรตุเกสไม่คิดตั้งอาณานิคม  เมื่อยึดมะละกาใน ค.ศ. 1511 ได้แล้ว โปรตุเกสใช้ระบบการปกครองแบบทหาร มุ่งให้มะละกาเป็นฐานทัพที่สำคัญในการยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้าโดยมิได้คิดขยายดินแดนมะละกาอีกรอบ ๆ อีก ไม่คิดจะตั้งดินแดนใดเป็นอาณานิคม เพียงแต่ได้สร้างป้อมค่ายขึ้นในพื้นที่ที่ตนตั้งเป็นเมืองท่าค้าขายและวางกำลังทหารเพียงพอแค่คุ้มกันเท่านั้น การไม่คิดตั้งดินแดนใดเป็นอาณานิคมนั้นเปรียบเสมือนกับเป็นผลร้ายที่ส่งผลต่อโปรตุเกสโดยตรงเพราะ ไม่เป็นการยากเลยที่ชาวพื้นเมืองจะรวมตัวกันขับไล่ชาวโปรตุเกสออกจากพื้นที่และยึดป้อมค่ายเสียงเอง และชาติมหาอำนาจเช่น ฮอลันดาที่มีกำลังมากกว่าเข้ายึดได้อย่างไม่ยากเย็น

                 2. นิสัยละโมบโลภมากของชาวโปรตุเกสเอง พ่อค้าชาวโปนตุเกสและพวกพระที่มีนิสัยละโมบโลภมากพยายามจะตักตวงผลประโยชน์จากคนพื้นเมืองมากจนเกินไป ทำให้คนพื้นเมืองไม่อยากติดต่อค้าขายด้วย จึงรวมตัวกันขับไล่โปรตุเกส

                 3. โปรตุเกสไม่ขันติธรรมทางศาสนา โปรตุเกสเข้ามาทำการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศควบคู่ไปกับการเผยแพร่ศาสนา โดยชาติโปรตุเกสเป็นชาติที่ไม่มีขันติธรรมทางศาสนา ใช้วิธีการบีบบังคับให้คนพื้นเมืองเปลี่ยนศาสนา และยังทำลายโบสถ์ ศาสนาสถานเดิมของชาวพื้นเมืองนับว่าเป็นการสร้างความไม่พอใจกับชาวพื้นเมืองอย่างมาก ซึ่งต่างกับพ่อค้าและนักบวชชาวอิสลามที่เผยแพร่ศาสนาโดยใช้หลักการของความป็นพี่น้อง ช่วยเหลือกันและกันโดยมอได้ใช้กำลังบังคับแต่อย่าใด ทำให้ชาวพื้นเมืองตามเกาะต่าง ๆ และคาบสมุทรมาลายูหันมานับถือศาสนาอิสลาม เพื่อต่อต้านโปรตุเกส

                4. การต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวพื้นเมือง การที่โปรตุเกสได้มีอำนาจเหนือหมู่เกาะโมลุกะ โดยการช่วยเหลือการทำสงครามชิงราชสมบัติในหมู่เกาะโดยมีข้อสัญญาผูกพันกันทั้งการค้าและการทหารซึ่งโปรตุเกสจะได้เปรียบ โปรตุเกสะเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ปกครองเมื่อก็ได้ตามที่ต้องการ การกระทำเช่นนี้สร้างความเดือดร้อนและความไม่พอใจกับประชาชนอย่างมาก ประชาชนจึงรวมตัวกันทำการก่อกบฏต่อต้านโปรตุเกสหลายครั้ง

                5. ขัดแย้งกับสเปนและฮอลันดา สืบเนื่องจากโปรตุเกสและสเปนได้มีพันธะสัญญาต่อกัน ในปี ค.ศ. 1493 เรื่องการตกลงแบ่งเขตผลการหาผลประโยชน์ คือ ซีกโลกด้านตะวันออกจะเป็นของโปรตุเกส และซีกโลกตะวันตกจะเป็นสเปนโดยแบ่งกันจากคั่วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ประมาณ 100 ไมล์  แต่ต่อมาได้มีข้อตกลงใหม่โดยแบ่งกันที่เส้น 370 ไมล์ ตะวันตกของแหลม Verde Island

               ความขัดแย้งระหว่างโปรตุเกสและสเปนเกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนได้เข้ามามีสิทธิเหนือราชบัลลังของโปรตุเกส พระองค์ได้ละเมิดข้อตกลงการแบ่งเขตผลประโยชน์ที่ได้เคยตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ ได้เข้ามาแทรกแซงผลประโยชน์ในเอเชีนตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเขตผลประโยชน์ขอโปรตุเกส  สเปนได้ส่งกองเรือเข้ามาในดินแดนหมู่เกาะมะละกาและได้รับการต้องรับเป็นอย่างดีจากผู้นำชาวพื้นเมืองที่ไม่ชอบชาวโปรตุเกสอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างโปรตุเกสและสเปน        

              ในปี ค.ศ. 1641 ฮอลันดาสามารถยึดมะละกาได้ ทำให้ทั้งสามประเทศคือ โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา ทำการแข่งขันทางการค้าซึ้งกันและกัน ทั้งฮอลันดาและสเปนมีจุดประสงค์ร่วมกันคือลบล้างอิทธิของโปรตุเกสออกจากดินแดนแถบนี้

             6. ขาดการสนับสนุนจากทางรัฐบาล โปรตุเกสไม่มีกำลังทัพเรือที่สนับสนุนจากรัฐบาล ในขณะที่โปรตุเกสต้องประสบปัญหาการก่อกบฏจากชาวพื้นเมืองและความขัดแย้งกับชาติตะวันตกอยู่ตลอดทุกเมื่อเชื่อวัน ดังนั้นกำลังทางทหารและแสนยานุภาพทางการเดินเรือของโปรตุเกสจึงร่อยหล่อ ขาดการพัฒนาทางด้านการเดินเรือ ซึ่งต่างกับชาติอื่นที่เร่งพัฒนาการค้าทางเรือและเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นเรื่อย ๆ  ส่งผลให้การค้าของโปนตุเกสเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงปี ค.ศ.1606 – 1614 ต้องสูญเสียเส้นทางทางการค้าตามชายฝั่งมะละบาร์ ช่องแคบมะละกาและหมู่เกาะโมลุกะไป

 

ด้วยเหตุผลที่กล่าว กำลังของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงอ่อนกำลังตามลำดับเหลือเพียงกัวและมาก๊า และได้ถอนตัวทั้งหมดออกไปในปี ค.ศ. 1658

ตั่งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 17 เรื่อยมา ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่หมายปองของชาติมหาอำนาจตะวันตกทั้งหลาย เช่น อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส โดยได้ประสานผลประโยชน์ร่วมกันแบ่งปันดินแดนแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง การเข้าครอบครองดินแดนของชาติตะวันตกทั้งในด้านการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและการศึกษานั้นได้สร้างผลดีและผลเสียมากมายต่อปะชาชนในประเทศต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้และยังส่งผลมาถึงปัจจุบันถึง แม้ว่า ประเทศต่าง ๆ ในดินแดนเอชัยตะวันออกเฉียงใต้เป็นเอกราชแล้วก็ตาม แต่รูปแบบการปกครอง การดำเนินชีวิต และศิลปวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างที่ชาติตะวันตกนำเข้ามาใช้ยังคงอยู่กับประเทศในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ต่อไป

 

 

 

* หากมีข้อมูลใดผิดพลาด รบกวนท่านผู้รู้ท้วงติงเพื่อแก้ไขด้วยครับ

 

เรียบเรียง วาทิน ศานติ์ สันติ


คำสำคัญ (Tags): #โปรตุเกส
หมายเลขบันทึก: 291565เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท