"เอียงซ้าย" , "เอียงขวา" คืออะไร ทำไม ต้อง ซ้าย-ขวา


หลายท่านคงได้ยิน ได้อ่านผ่านหูผ่านตามากมายเกี่ยวกับคำว่า “ฝ่ายขวา”  “ฝ่ายซ้าย”  “เอียงขวา”  “เอียงซ้าย”   แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า คำเหล่านี้มีต้นกำเนินมากจากที่ไหน  ใช้เรียกเพราะอะไร  ในบทความนี้ผู้เขียนจะไขความกระจ่างเพื่อรับใช้ท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่านครับ

          สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. ๑๗๘๙ เมื่อหลักจากการปฏิวัติแล้ว  ประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศยกเลิกใช้รัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศแทนระบบเดิม (Ancient Regime) หรือสมบูรณาญาสิทธิราช เปลี่ยนมาเป็นเป็นระบอบประชาธิปไตย และได้มีการตั่งสภานิติบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. ๑๗๙๑ มีหน้าที่ออกกฎหมายเพื่อใช้ในการบริหารประเทศโดยมีสมาชิกทั้งหมด ๗๔๕ คนซึ่งได้เกิดการแตกแยกกันออกเป็นสามกลุ่ม

             1. กลุ่มเฟยยอง (Feuillant Club) เป็นกลุ่มที่นั่งอยู่ “ด้านขวาในที่ประชุม” กลุ่มนี้จะเชื่อในระบบรัฐธรรมนูญและไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “อนุรักษ์นิยม”

             2. กลุ่มจิรองแดง (Ginrondin Club) จะนั่งอยู่ทาง “ด้านซ้ายของที่ประชุม” มีจุดประสงค์ต้องการล้มล้างในระบอบกษัตริย์ และปกครองประเทศโดยสถาปนาในระบอบสาธารณรัฐขึ้นมาแทน

             3. กลุ่มสายกลาย  กลุ่มนี้ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน มักจะเอนเอียงเข้ากับฝ่ายขวาหรือซ้ายตามโอกาส

         “ซ้าย”  “ขวา” เห็นจะถูกนำมาใช้มาที่สุดในสมัยที่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์

         จะเรียกผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกับ ดร.ซุนยัตเซน ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ต้องการจะให้ประเทศจีนรักษาวัฒนธรรม กฎระเบียบอันดีงานตามคติของ “ขอจื้อ”  และต้องการให้ประเทศมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยว่าเป็น “ฝ่ายขวา”  ส่วนผู้ที่นิยมอุดมการณ์ของ เหมาเจอตุง  ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศโดยการรื้อคติขงจื้อออกทั้งหมด และให้ประเทศเป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ว่าเป็น “ฝ่ายซ้าย"

         สำหรับในประเทศไทย  “ขวา” และ “ซ้าย” ถูกใช้มากในเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นักศึกษา ประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลในเวลานั้น (เผด็จการทหาร) จะถูกเรียกว่า “พวกหัวเอียงซ้าย” หรือพวกนิยมคอมมิวนิสต์

        “ซ้าย” จึงมีความหมายที่โอนเอียงไปทางคอมมิวนิสต์ไปตั่งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

         การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน ถือว่าเป็นการนำพายุโรปก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ หรือตาม Webblog ที่มีอยู่อย่างมากมาย   แต่ถ้าผู้ใดสนใจบทความการปฏิวัติฝรั่งเศสเชิงวิเคราะห์ที่เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ  ก็สามรถอ่านได้ในบทความของผู้เขียนที่นี่

 

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

อ้างอิง 

ศฤงคาร พันธุพงศ์, รศ. ประวัติศาสตร์ยุโรป 2 = History of Europe II : HI 352 . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553.

 


หมายเลขบันทึก: 291574เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท