มหาวิทยาลัยชาวบ้าน (5)


สรุปการประชุม “โครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช”

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2548

ณ มัสยิด นูรูฮูด หมู่ที่ 6 ต.มะม่วงสองต้น อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เริ่มการประชุมเวลา 09.00 น. เป็นการประชุมเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน ตำบลมะม่วงสองต้น โดยได้เชิญ ผู้ใหญ่ กำนัน อบต. และคณะกรรมการกองทุนต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ตำบลมะม่วงสองต้นมีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 38 คน ช่วงแรกของการประชุมก็ทำความรู้จักกัน โดยการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแนะนำตัว และให้ผู้นำองค์กรการเงินชุมชนทุกคนแนะนำตัว จากนั้นก็เข้าสู่กำหนดการที่ได้วางไว้ โดยคุณภีม ก็ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการเชื่อมโยงกลุ่มต่าง ๆ เป็นเครือข่าย และเป็นกลุ่มองค์กรการเงินที่เข้มแข็ง”

ให้ตัวแทนองค์กรการเงินชุมชนแต่ละหมู่บ้านแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อที่จะกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหมู่บ้านตนเอง ซึ่งก็ได้เป้าหมายของแต่ละหมู่บ้านดังนี้

 

หมู่ที่ 1

วัตถุประสงค์

  1. ให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพ เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัว ค้าขาย เป็นต้น
  2. กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียน
  3. สมาชิกในกลุ่มเคารพกลุ่ม เช่น ตรงต่อเวลา เคารพสิทธิหน้าที่ของกรรมการ

เป้าหมายของกลุ่ม

  1. สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนและครอบครัว
  2. เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
  3. เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น จัดการกลุ่มกองทุน ด้านบัญชีและการเงิน การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง และเพื่อให้ชุมชน ครอบครัว อยู่ดีกินดี และมีอาชีพที่มั่นคง

หมู่ที่ 2

เป้าหมาย

  1. ต้องการเป็นกลุ่มการเงินที่เข้มแข็ง
  2. ต้องการเพิ่มเงินทุน
  3. ต้องการรวมเงินเป็นกลุ่มเดียวกัน
  4. ต้องการรวมทุนระดับตำบล
  5. ให้สมาชิกกู้เงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์
  6. ต้องการให้คณะกรรมการที่มีความรู้คู่คุณธรรม
  7. ต้องการให้กรรมการทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

หมู่ที่ 3

เป้าหมาย

  1. เป็นสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง
  2. กรรมการและสมาชิกมีความรับผิดชอบและเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน
  3. อยากให้ลดเงินกู้นอกระบบ
  4. ส่งเสริมอาชีพ
  5. สมาชิกที่กู้เงินอยากให้ส่งเงินตรงตามเวลาที่กำหนด
  6. มีเงินทุนเพิ่มขึ้น
  7. ส่งเสริมความรู้ เพิ่มความรู้ให้คณะกรรมการ
  8. อยากให้มีที่ทำการเป็นเอกเทศ

หมู่ที่ 4

วัตถุประสงค์

  1. เป็นกองทุนที่เข้มแข็ง
  2. สมาชิกกองทุนมีความรู้ในการบริหารกองทุน
  3. สมาชิกเพิ่มขึ้น

เป้าหมาย

  1. มีที่ทำการที่มั่นคง
  2. มีสวัสดิการของสมาชิกและกรรมการ
  3. ต้องการเจ้าหน้าที่ให้ความรู้
  4. สมาชิกกู้เงินไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์

สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ชุมชนและสมาชิก”

หมู่ที่ 5

เป้าหมาย

* เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งทางด้านการเงิน

  1. มีการเร่งรัดหนี้สิน โดยให้สมาชิกมีจิตสำนึกในการชำระคืน
  2. จัดทำบอร์ดรายชื่อสมาชิก ที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการกลุ่ม

* เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี

  1. คณะกรรมการมีจิตสำนึก มีความเข้าใจในการบริหารงาน รู้จักหน้าที่และบทบาทของตนเอง
  2. มีการติดตามและประเมินผล
  3. ให้ความรู้กับสมาชิกในการประกอบอาชีพ

หมู่ที่ 6

เป้าหมาย

  1. เป็นสถาบันการเงินของตำบล
  2. ส่งเสริมอาชีพของชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

จากนั้นก็เป็นการสรุปภาพรวมของการประชุมในวันนี้ และก็ได้ถามความเห็นว่าจะมีการเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้ง ทุกคนมีความเห็นว่าอย่างไรบ้าง ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนวันประชุมของเดือนกันยายน 2548 จะตรงกับวันที่เท่าไหร่เดี๋ยวจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #คุณกิจ
หมายเลขบันทึก: 2911เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2005 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอเพิ่มเติมตอนสรุป พี่จุรีเสนอว่าเป้าหมายที่ร่วมกันคิดนั้นยังไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลา บางข้อต้องใช้เวลานานถึงนานมาก บางข้อยังไม่ชัดเจนนัก เพราะมีเวลาจำกัด อยากให้แกนนำกลับไปทำการบ้านเพิมเติมว่า ถ้าระยะเวลา 6 เดือน เราจะตั้งเป้าหมายการพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง สักแค่ไหน? ไม่ต้องมากแต่กำหนดให้ชัดเจน เอาที่คิดว่าน่าจะทำได้สัก2-3ข้อก็พอ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท