สร้าง "สังคมอยู่เย็นเป็นสุข"จากฐานรากของประเทศโดยสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น


ทั้งนี้ในพื้นที่ระดับตำบลมีหน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว คือ อบต. (ท้องถิ่น)/ สภาองค์กรชุมชน(ชุมชน)และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน(ท้องที่) ที่เป็นกลไกของประชาชนในการปกครองตนเอง ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลไกกับระบบราชการกลางได้ (ราชการส่วนภูมิภาคเชื่อมต่อกับท้องถิ่น) ดังนั้น 3 เสาหลักของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ที่มีกฎหมายรองรับแล้วนั้น ควรร่วมกันเป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือทุกฝ่ายในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา

ในการบริหารจัดการงานพัฒนาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้งตามแผนฯ10และตามทิศทางแผนฯ11ของสภาพัฒน์ฯที่กำลังจัดร่างขึ้นในตอนนี้นั้น ล้วนมีเป้าหมายการพัฒนาที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคือการทำให้ประชาชนหรือผู้คนในชุมชน  ชุมชนท้องถิ่น  สังคมและประเทศชาติ “อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” นั่นเอง  ทั้งนี้เครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากๆ คือ การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาร่วมกันของทุกฝ่ายในระดับต่างๆ หรือที่เรียกกันว่าตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ในระดับชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานรากของประเทศนั้นนับว่าเป็นหน่วยที่สำคัญอย่างยิ่ง การทำให้ระบบของชุมชนท้องถิ่นมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดวัดผลของการพัฒนาร่วมกัน ยิ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน หรือเราอาจเรียกว่า “ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” 

สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การมี“ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  ของแต่ละชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น  หากที่สำคัญกว่าคือกระบวนการให้ได้มาซึ่งเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาร่วมกัน  ที่จะต้องให้ประชาชนหลายๆฝ่ายที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด ตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุด คือ หมู่บ้าน ตำบล เทศบาล จังหวัด รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องจากฝ่ายต่างๆ ด้วย ได้แก่ ประชาชน ประชาสังคม ธุรกิจ หน่วยงานราชการในส่วนท้องถิ่น ตลอดจนในส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่  ทั้งนี้ตัวชี้วัดไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่มีแนวโน้มออกมาคล้ายๆ กัน หัวข้อใหญ่ๆ หมวดใหญ่ๆ อาจจะคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้ว ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันต้องประกอบด้วยหลายๆอย่างที่ผสมผสานกลมกลืนกันหลากหลายมิติเป็นองค์รวมที่คล้ายๆกันอยู่แล้ว

ในการดำเนินงานการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คนที่เกี่ยวข้องนั้น  ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ควรเป็นเจ้าภาพ หรือเจ้าของเรื่องในการจัดกระบวนการ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนา มีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัด มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติในขอบเขตที่เหมาะสม มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และพัฒนาต่อเนื่อง ถ้าทำได้ดังนี้เราสามารถทำให้ทุกพื้นที่ที่สามารถจะพัฒนาในลักษณะที่ทุกฝ่ายร่วมมือกัน แล้วนำมาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของคนในพื้นที่ นี่คือผลของการพัฒนาเป็นการมุ่งหวังผลเพื่อผู้คนในชุมชนท้องถิ่น เพราะว่าในการพัฒนาเมื่อเราให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง พื้นที่เป็นตัวตั้ง กำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน วิธีการออกมาแล้ว ยุทธศาสตร์และแผนงานจะเป็นตัวกำหนดว่าเป็นอะไร และถ้าหากแต่ละพื้นที่มีการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาก็จะสามารถเชื่อมโยงเป็นเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาในระดับจังหวัด และระดับประเทศต่อไป  สำหรับการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาระดับประเทศก็จะมีกระบวนการที่แตกต่างออกไป แต่อาจใช้ข้อมูลจาก“ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  ของแต่ละชุมชนประกอบได้ กระบวนการทั้งสองจึงต้องแยกวัตถุประสงค์และวิธีการออกจากกัน  และเชื่อมโยงกันได้

"การส่งเสริมสนับสนุนระบบชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง มีความสามารถในการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง"  ทั้งนี้ในพื้นที่ระดับตำบลมีหน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว คือ อบต. (ท้องถิ่น)/ สภาองค์กรชุมชน(ชุมชน)และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน(ท้องที่) ที่เป็นกลไกของประชาชนในการปกครองตนเอง ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลไกกับระบบราชการกลางได้ (ราชการส่วนภูมิภาคเชื่อมต่อกับท้องถิ่น)  ดังนั้น 3 เสาหลักของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ที่มีกฎหมายรองรับแล้วนั้น ควรร่วมกันเป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือทุกฝ่ายในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวม สู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”

หมายเลขบันทึก: 290981เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท