ธรรมะคัดสรร เพื่อชีวิตและการงาน


ธรรมะกว้างขวาง หาทางนำมาใช้

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดง รวมทั้งที่ศาสดาองค์อื่นๆ แสดงไว้ มีมากมาย

กาลเวลาที่ผ่านไปนาน ทำให้มีสาวกหลายยุคสมัยศึกษาปฏิบัติและสั่งสอนต่อมา ทำให้ธรรมะมีมากเหมือนน้ำในมหาสมุทร จะตักส่วนใดมาใช้จึงจะพอเหมาะพอดีและเป็นประโยชน์แท้

จึงมีพื้นที่นี้เกิดขึ้น เพื่อรวบรวมธรรมะที่พบจากทุกแห่งทุกวิธี (รวมทั้ง copy จาก gotoknow) มารวมไว้ เบื้องแรกเพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้าเอง เบื้องต่อไปคือประโยชน์ของท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมนำมาเรียบเรียงไว้

เนื่องจากข้าพเจ้าเองมีนิสัยแบบอินทรีในผู้นำสี่ทิศ จึงมีความจับจด ต้องขอให้ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 290461เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

มีมากก็จริงแต่เมื่อเดินสู่วีถีธรรมชาติแล้วพระองค์สอนเราข้อเดียวเท่านั้นคือ..ให้เรารู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอ..

ถ้าทำได้..แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์..ก็อยู่ในใจเราขอรับ..

ไม่ได้หายไปไหนมาทุกวันขาดไปเพลาเดียวเท่านั้น

เพราะธรรมฐิตมาวันละสองเพลาหลังสวดมนต์เช้ากับค่ำ..

ธรรมะรับอรุณขอรับคุณหมอ..

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมทั้งหลายที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นของง่าย เปิดเผย ประกาศไว้ชัด ไม่มีเงื่อนงำใด ๆ….” (พุทธธรรม หน้า ๖๖๒ ป.อ. ปยุตฺโต พิมพ์เป็นครั้งที่ ๘). การตรัสสอนเช่นนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วหรือหลักธรรมที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้น จะเป็นเรื่องที่เปิดเผยในสาธารณะ เพราะมีความชัดเจนในเนื้อหา ไม่มีเงื่อนงำใด ๆ เลย เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถใช้สติปัญญาตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ทุกเมื่อหรือไม่จำกัดกาลเวลา โดยไม่ต้องหลงเชื่อ. ดังนั้น คนทั่วไปจึงสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้โดยง่าย.

พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสตร์แห่งการใช้สติปัญญาทางธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากความชั่ว ความทุกข์ และมุ่งทำความดี เพื่อทำจิตใจให้มีความบริสุทธิ์ผ่องใสในปัจจุบันขณะ โดยไม่ต้องรอชาติหน้า.

วิชาพุทธศาสตร์ จึงไม่ใช่วิชาของการหลงเชื่อหรือหลงงมงายแต่ประการใด แต่เป็นความจริงที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจ จดจำ และนำไปฝึกปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน.

จากหนังสือวิธีฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างง่ายๆ ของ นพ.เอกชัย จุละจาริตต์

สวัสดีค่ะ

ธรรมะ  อยู่ในกาย ในจิต  ตราบใดมีชีวิต  ธรรมคุ้มครอง ผู้คิดดี พูดดี ทำดีเสมอ ครูอ้อยเชื่อ อย่างนี้นะคะ

ธรรมสวัสดีค่ะ

พระคุณเจ้ากล่าวเช่นเดียวกับพระภิกษูหลายรูปและผู้สอนหลายคนเลยครับ

เพียงแค่รู้ตัวนั้นทำให้เกิดธรรมะได้อย่างไรขอรับ โปรดวิสัชชนา

สวัสดีค่ะ

จะคอยติดตามนะคะ

ให้เรารู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอ..

ในที่นี้หมายถึงจิตใจสามารถรู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดหาหมายถึงเนื้อหนังมังสาไม่  ตามรู้สิ่งที่เกิดด้วยสติทุกลมหายใจ..

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • โชคดีที่ธรรมะคัดสรรให้ได้มาอ่านบันทึกของคุณหมอค่ะ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูง

พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสตร์แห่งการใช้สติปัญญาทางธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากความชั่ว ความทุกข์ และมุ่งทำความดี เพื่อทำจิตใจให้มีความบริสุทธิ์ผ่องใสในปัจจุบันขณะ โดยไม่ต้องรอชาติหน้า

สาธุ สาธุ มี ธรรมะ แล้ ชีวิต จะสดใสครับ

  • ระลึกรู้อยู่ทุกขณะจิต
  • ตอนนี้ยังทำไม่ค่อยได้สม่ำเสมอ มีเผลอบ่อย ๆ ค่ะ แต่เชื่อว่าเป็นหลักธรรมข้อเดียวที่ขอยึดไว้โน้มนำสู่ใจมาปฏิบัติขณะนี้ค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ

ขออนุญาติแจมค่ะ

การกำหนดระลึกรู้

-กิริยาเคลื่อนไหว เพื่อปิดกั้นอกุศลจิต เมื่อสติกำหนดอยู่กับอิริยาบท ก็ไม่แส่ส่ายไปภายนอก ช่วยให้เห็นอนิจจัง เช่น กำนดรู้อาการพองยุบของท้อง ทำให้เห็นความไม่เที่ยงและอนัตตา คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปและ เราบังคับไม่ได้

แต่...บางครั้งก็กลายเป็นความยึดถือมั่น หากผู้ปฏิบัติยึดถือว่าท้องที่กำลังพองยุบเป็นของตน ไม่ใช่กำหนดว่า สักแต่ว่าอาการยุบพองหนอ ไม่มีตนผู้เป็นเจ้าของ

และหากบางท่านสั้งสติมั่นอยู่กับการระลึกรู้อิริยาบทมากเกินไป อาจไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอื่น ก็กลายเป็นวิปัสสนูปกิเลส อันปิดกั้นการบรรลุธรรมไป

เมื่อกำหนดรู้รูปนามอย่างต่อเนื่อง เป็นบาทฐานที่ช่วยให้เกิดวิปัสสนาญาณได้

-กำหนดรู้ธรรมารมณ์ ส่วนใหญ่เราจะรู้มื่อเกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้ว เพียงแต่จะรู้เร็วเพียงใด เมื่อรู้ แล้วใช้ธรรมวิจัย ก็ช่วยให้หาเหตุที่จะปล่อยวางได้

ผิดถูกอย่างไรกรุณาแก้ไขค่ะ

ข้าเจ้าไม่อาจจะแก้ถูกผิดได้ขอรับ

เชิญท่านผู้รู้ขอรับ

เคยเรียนถามพระอาจารย์ปราโมทย์ว่า เพียงแค่ตามรู้กายและจิต จะทำให้เราสามารถเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายปล่อยวางได้เลยหรือ ท่านตอบคำเดียวว่าได้ ยังไม่ทราบว่าจะต้องคอยปฏิบัติเองอีกนานเท่าไร จึงจะทราบจริง ๗ วัน ๗ เดือน หรือ ๗ ปี หรือนานกว่านั้น

ขออนุญาติอีกนิดค่ะ อยากเล่าถึงวิปัสสนาภูมิซึ่งควรพิจารณาอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน อันประกอบด้วย

1 อาหาเร พิจารณาความสกปรกของอาหารที่เรารัปประทานอยู่ทุกวัน ว่าก่อนจะมาสวยงามในจาน เคยเป็นอะไร หรือต้องผ่านอะไรมาบ้าง (ช่วยลดความอยากในเรื่องลิ้น)

2 กายคตาสติ พิจารณาความไม่งามในกายเรา เช่น ในช่องท้อง มองลึกลงไปใต้ผิวหนัง จะพบอวัยวะภายในต่างๆห้อนต่องแต่ง ดูไม่งามเหมือนภายนอก (ช่วยลดการยึดมั่นในรูปขันธ์ และการตกแต่งร่างกายให้ดูงดงาม)

3 มรณัสสติ พิจารณาว่าทุกคนไม่ว่าจะร่ำรวย มีอำนาจ เป็นที่รักใคร่ หรือเกลียดชัง อย่างไรเสียก็ต้องตาย (ช่วยให้ใช้ชีวิตปัจจุบันอย่างมีประโยชน์ที่สุด และไม่ประมาท มีอัปปมาทะ)

4 อศุภะ พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังจากที่หมดลมหายใจ ตั้งแต่เริ่มขึ้น

อืด จนเนื้อหนังหลุดร่อนจากกระดูก จนกระดูกค่อยๆสลาย ธาตุทั้ง 4 กลับคืนสู่ธรรมชาติ (ช่วยลดความกำหนัด สัมผัสชายหญิง ซึ่งเป็นเรื่องที่ละอยากที่สุดในบรรดาเรื่องทั้งหมด)

5 ไตรลักษณ์ พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทุกสรรพสิ่ง (ช่วยลดความยึดถือมั่น)

ดิฉันมองว่า การตามดูกายและจิต เป็นการพิจารณาไตรลักษณ์เพียงอย่างเดียวค่ะ ดังนั้น ถ้าไม่พิจารณาอีก 4 ข้อในชีวิตประจำวัน โอกาสบรรลุธรรมจะช้ากว่าการพิจารณาทั้งหมดค่ะ

ขออภัยค่ะ "ละยาก" พิมพ์เป็น "ละอยาก" (ในข้ออศุภะ)น่าตีเชียว

ขอบคุณคุณณัฐรดามากครับ สำหรับวิปัสสนาภูมิ แต่รู้สึกยากมากทีเดียวที่จะมองเห็นได้เช่นนั้น

ผมอ่านหนังสือของอาจารย์หมอเอกชัย จุละจาริตต์ อาจารย์แนะนำเรื่องให้หยุดคิด (โดยเลี่ยงมาคิดเรื่องง่ายๆ สบายๆ เช่นตามดูลมหายใจ) เรื่องบังคับคิด ให้คิดแต่เรื่องดีและพยายามหยุดคิดเรื่องที่ไม่ดี ซึง่ผมทำตามแล้วรู้สึกดี จากที่หลวงพ่อปราโมทย์ให้ตามดูตามรู้ ซึ่งทำจริงก็ทำให้หยุดคิดต่อเหมือนกัน ท่านบอกว่าเราจะทุกข์ก็เมื่อคิดหรือเกิดความอยาก

แต่การคิดบางทีก็ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ทราบว่าเกิดเพราะมีโมหะบังอยู่หรือเปล่า

สวัสดีตอนบ่ายค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ คุณหมอสบายดีนะคะ

ขอบคุณครับ ยังสบายครับ

อ้วนท้วนเชียว

สวัสดีค่ะ

คุณหมอคงงานเยอะใช่มั๊ยคะ

รออ่านบันทึกใหม่อยู่ค่ะ

สบายดีนะคะ

ทุกข์ควรรู้ครับ รู้เฉยๆ รู้ห่างๆ

แต่ถ้ากำลังสติไม่กล้าพอก็ถอยไปตั้งหลักก่อนครับ แล้วค่อยย้อนกลับมาดู

แต่ศีล 5 ต้องครบครับ

สวัสดีครับคุณเบดูอิน

สบายใจดี แต่กายไม่สบายนิดหนึ่ง เพราะปวดฟัน ทั้งที่ดูแลอย่างดี แต่ฟันไปผุใต้ที่อุดเอาไว้ก่อน

วันศุกร์ที่ 9 ตค ไปทำฟัน แล้วมานั่งคุยกับคุณสามารถต่อ จะลองทำว่า กายเจ็บใจไม่เจ็บ แต่ทำยากมากทีเดียวครับ

จึงรู้ว่า เมื่อเราอยู่ในสิ่งเร้าที่ไม่แรง เราจะหลงคิดว่าเราสงบใจได้ดี แต่พอสิ่งเร้าแรงมากๆ ก็ยังสู้ไม่ค่อยไหวอยู่ดีครับ

ได้ฟังมาไม่นานนี้ว่า

เราควรจะทำใจให้ร่าเริงอยู่เสมอๆ ระลึกว่างานที่เราทำนั้น หากทำดีจะมีผลดีอย่างไร เวลาทำงานเราจะได้ไม่เครียดหรือเหนื่อยกับงาน ก็จะมีความสุขในการทำงาน และจิตใจก็จะมีสมาธิกับงานนั้น เป็นการทำงานไปอย่างมีความสุข

ขอบคุณท่านมากคะที่เข้าไปเยี่ยม ในบทความ ลาภยศ ชื่อเสียงไม่เที่ยงตรง  ไม่ยืนยงเหมือนความดีคะ  มีตั้งหลายบท ท่านเลือกตอบเม้นท์ในบทความนี้เพราะโดนใจใช่ไหมคะ

แล้วจะกลับมาอ่านบทความของท่านใหม่ และบทที่เหลือด้วย ตอนนี้ดึกแล้ว คะขอตัวไปนอนก่อนนะคะ ราตรีสวัสดิ์คะ แล้วจะมาใหม่คะ

สวัสดีครับ

ผมก็มีโอกาศอ่านหนังสือของอาจารย์หมอเอกชัย จุละจาริตต์ แล้วดีมาก อาจารย์ท่านได้สรุปมาดีมาก โดยมีหนังสือ

พุทธธรรมแต่งโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)อ้างอิงความรู้

หนังสือ พุทธธรรม น่าอ่านมาก ปัจจุบันนี้ก็พยายามฝึกจิตให้มี สติ สมาธิ

พยายามรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก แต่ทำได้สั้นๆ เพราะสติไม่แข็งพอ โดยเฉพาะเวลาทำงาน

เพราะเวลาดูแลผู้ป่วยต้องใช้ความคิดอยู่เสมอ คิดจนลืมลมหายใจเข้า หายใจออกของตัวเองไปเลย

แต่ก็จะพยายามรู้สึกตัวอยู่ครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

รออ่านบันทึกใหม่อยู่นะคะ

สงสัยคุณหมอจะยุ่ง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

(อ้าว ตายแล้ว คนไม่ใช่หมอบอกหมอได้ไงล่ะนี่ )

ขอบพระคุณในไมตรีของคุณณัฐรดาครับ

ผมได้คุยและเห็นพฤติกรรมของหมอบางคน ก็บอกเขาว่า ต่อไปนี้ควรบอกคนไข้ว่า ให้ทำอย่างที่หมอบอก อย่าทำอย่างที่หมอทำ คงจะทำให้คนไข้สุขภาพดีกว่าให้ดูตัวแบบ (หมอ)

วันนี้เกิดความคิดแว่บขึ้นมา ว่าที่ผมและคุณสามารถตั้งใจจะศึกษาศีล ๕ ให้ละเอียด (เผื่อคุณสามารถจะหาช่องโหว่ของศีลได้บ้าง) แล้วผมไปหาข้อความในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับการตรัสของพระพุทธเจ้า ตอนนั้นคิดว่าเราสามารถอธิบายศีลข้อ ๔ ได้ละเอียดขึ้น

วันนี้กลับคิดว่า เราเองมีความรู้น้อย ท่านที่รู้ธรรมและศีลมากกว่า ยังไม่พูดศีลข้อ ๔ ละเอียดอย่างที่เราพยายามอธิบาย ก็ฉุกคิดว่า เรากำลังผิดหรือเปล่า ที่เอาความรู้น้อยนิด ไปตู่เอาว่าสิ่งที่เราอ่านมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของศีลข้อ ๔ ด้วย ช่างประมาทโดยแท้

จึงขอความกรุณาท่านผู้รู้ได้ช่วยอ่านสิ่งที่เราเขียนไว้ แล้วช่วยชี้แจงด้วยครับ

สวัสดีค่ะ...เข้ามาขอบพระคุณที่แวะเยี่ยมเยียนค่ะ...เลยได้เรียนรู้ธรรมมะทั้งจากบทความและจากความคิดเห็นของทุกท่านที่โต้ตอบกันค่ะ...Vij อ่านความคิดเห็นของคุณหมอแล้ว รู้สึกว่าคุณหมอจะอารมณ์ดี มีอารมณ์ขันด้วยค่ะ...Vij อ่านแล้วขำ ๆ ค่ะ...อาทิ(พูดกับหมอ...ต้องให้เห็นของจริง พิสูจน์ได้...ไม่งั้นไม่ค่อยเชื่อ อิ อิ) "ยังสบายครับ...อ้วนท้วนเชียว"

อิอิ

ที่ว่าอ้วนท้วนนั้น ที่จริงก็ไม่คิดว่าดีหรอกนะครับ

แต่มีท่านพี่ท่านหนึ่ง นามว่าท่านเจเจ ท่านออกจะท้วมมาก พี่อีกท่านหนึ่งคือคุณหมอนภดล ท่านบอกว่าท่านมีพุงดูภูมิฐาน

เอ มีธรรมะหรือเปล่าหนอ คงมีนะครับ หมวดธรรมที่ว่าทุกอย่างขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนแปลง

พระพรหมคุณาภรณ์ท่านเทศน์ว่า ชีวิตต้องมีความร่าเริงเบิกบาน น้องคนหนึ่งกล่าวว่าจะมีสมาธิต้องมีความสุขก่อน จึงเชื่อครับ เพราะตรงจริต (แต่ไม่ตรงกาลามสูตร)

ข้าน้อยขอร่วมวงสนทนาธรรม ด้วยคนนะครับ

  • สวัสดีค่ะคุณหมอ
  • ครูแจ๋วขอขอบคุณที่คุณหมอกรุณาไปทักทายในบันทึก
  • ทำให้ครูแจ๋วได้ตามมาพบบันทึกที่มีคุณค่าและมีโอกาสเข้าร่วมเสวนาธรรมด้วยค่ะ
  • ธรรมคืออาหารทิพย์ของสมองค่ะ
  • ปราชญ์ย่อมไขว้คว้าค่ะ
  • ขอบพระคุณ

กราบเรียนคุณหมอ ครับ

ขออนุญาตแสดงความเห็น

รู้จักที่จะให้ ก็จะได้พบแต่ความสุข

หลายๆ ท่านคงทราบดีว่า สังคมไทยทุกวันนี้ มีแต่แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ชอบเบียดเบียนกัน ชอบหาทางเอาเปรียบกัน ไม่มีความเอื้ออาทรต่อกัน ที่ร้ายที่สุดคือ ชอบทำร้ายกัน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้คนเหล่านี้ก็จะพบแต่ความทุกข์ตลอดไปไม่มีวันหมดสิ้น หากเรารู้จักที่จะให้ รู้จักที่จะมีเมตตา เอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ด้วยความ บริสุทธิ์ใจ (ไม่ได้หวังผลตอบแทน) บุคคลผู้นั้นก็จะพบแต่ความสุข เพราะการรู้จักที่จะให้ ก็เท่ากับว่าเราได้เริ่มต้นที่จะกระทำสิ่งดีๆ และบุคคลนั้นก็จะพบสิ่งดีๆ ที่เข้ามาในชีวิต แม้มีความทุกข์เข้ามา ความทุกข์ก็จะหายไปในเวลาที่ไม่นานนัก แต่คนที่ให้ไม่เป็น เขาก็จะไม่ได้สิ่งดีๆ จากใครเลย จะพบแต่เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ และยากที่จะมีความสุขที่แท้จริงได้ ดังนั้น ท่านทั้งหลายมาช่วยกันสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน สร้างสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน ผมเชื่อว่า ความสุขที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นในสังคมที่ล้วนแต่มีความวุ่นวายนี้ อย่างแน่นอน

ด้วยความปรารถนาดีจาก

นายรักษ์ ปริกทอง

กลุ่มธรรมรักษ์

กราบเรียนคุณหมอ ครับ

คนไทยโชคดีที่เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนา มีผู้รู้ และ สื่อความรู้ทางพุทธศาสนา มากมายเต็มแผ่นดิน และยังมีบุคคลที่เป็นสาวกของพระพุทธองค์ที่เป็นแบบอย่างที่ดี อีกนับไม่ถ้วน แต่คนไทยก็ทอดทิ้งสิ่งสำคัญนี้ ไปยึดถือแต่เหตุแห่งความเสื่อมทุกรูปแบบ ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทุกท่านที่ต้องช่วยกันรักษาให้คงอยู่(อย่างถูกต้อง)ตลอดไป ผู้ใดพบธรรมผู้นั้นจะพบสุข ความนี้ชัดเจนแล้ว นอกเสียจาก เขาเห็นว่า มืดมาแล้วอยากมืดไปอีกก็ช่วยอะไรไม่ได้จริงไหมครับ

ด้วยความปรารถนาดีในธรรมที่มีต่อคุณหมอครับ

นายรักษ์ ปริกทอง

ขอบคุณคุณรักษ์ครับ

"เขาเห็นว่า มืดมาแล้วอยากมืดไปอีก"

เนื้อความนี้ผมเองเห็นว่าเป็นเรื่องยากมากจริงๆครับ

หลวงพ่อชาท่านเคยบอกว่า หากเราเห็นสิ่งใดว่าเป็นอันตรายแล้วเห็นว่าเป็นอันตรายหรือเห็นเป็นงูเห่า เราก็จะละทิ้ง

แต่หากเรายังไม่มีปัญญาเห็นว่าเป็นงูเห่า เราก็ยังปล่อยไม่ได้ครับ

อย่างเช่นเรื่องราคะ ที่แม่พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ดี ควรละทิ้ง หรือคนที่รู้ว่าบุหรี่ไม่ดีแต่ยังสูบ ก็เพราะยังไม่มีปัญญาเห็นว่ามันคือทุกข์อย่างเดียวครับ สองตัวอย่างนี้คงทำให้เข้าใจได้ง่ายว่า โมหะ เป็นเรื่องยากมากจริงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท