แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้ (22) โครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพ ปี 52-54


 

คุณหมอสุปราณี หรือ หมอแหวว มาเกริ่นให้ฟัง ถึง เป้าหมายของโครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพ ในช่วงปัจจุบัน ถึงปี 54 ค่ะ ว่า เรากำหนดจุดหมายปลายไปที่ไหนกัน นั่นก็คือ

ที่ผ่านมาเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จะมีโครงการฟันเทียมพระราชทาน เป็น entry point ของงานทันตสุขภาพผู้สูงอายุ เพราะว่า เป็นความต้องการของผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล โดยการใส่ฟันเทียมทั้งปากให้กับ ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548

เป็นเรื่องของการพัฒนาระบบบริการ ระบบสนับสนุน ระบบข้อมูลการดำเนินงาน ระบบติดตามกำกับประเมินผล ทำให้เกิดกระบวนการทำงานในลักษณะภาคีเครือข่าย ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

รวมทั้งเป็น Entry point ของงานทันตสุขภาพด้วย เนื่องจากการทำงานนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงานส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเชิงรุกขึ้น

ปี 2549 เราจึงได้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ ในพื้นที่ทดลอง เป็นการหาโมเดล การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุนำร่อง ของ 7 จังหวัด 21 ชมรมฯ และถึงปัจจุบัน มีการขยายความครอบคลุมไปแล้ว 51 จังหวัด 151 ชมรมฯ ตามวิธีการหลากหลายรูปแบบของพื้นที่ที่ทำกิจกรรม ซึ่งก็จะพบว่า มีการขยายการดำเนินงานไปในพื้นที่อย่างกว้างขวางขึ้นเอง ตามแนวทางความต้องการ การพัฒนากิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นอิสระ

ในปี 2551 เราเริ่มมีการปรับระบบบริการ เพื่อการส่งเสริมป้องกัน และมีจังหวัดทำกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม จำนวน 21 จังหวัด 167 หน่วยบริการ เพื่อปรับให้ผู้สูงอายุที่เดินเข้ามาเพื่อรับบริการใส่ฟัน เปลี่ยนเป็นเข้ามาเพื่อขอรับการตรวจ และบริการทันตกรรมป้องกันแทน ในปี 2552 ขยายไปได้แล้วถึง 28 จังหวัด 273 หน่วยบริการ

ในปี 2552-2554 โครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ  มีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวได้อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต กิจกรรม คือ พัฒนาระบบบริการส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟู สนับสนุนการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และลดการสูญเสียฟันก่อนวัยสูงอายุ

มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา ในปี 2554 โดยแก้ปัญหาการสูญเสียฟันอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุดูแลตนเอง และพึ่งพาบริการตามความจำเป็น
  • พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีฯ เพื่อทันตสุขภาพผู้สูงอายุ และก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ
  • สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและประชาชน

ผลลัพธ์ในปี 2554

  • ผู้สูงอายุร้อยละ 52 มีฟันใช้งานได้ 4 คู่สบ (ฟันแท้+ฟันเทียม)
    (หมายเหตุ : ปี 2548-51 ร้อยละ 44 เป็น 49)
  • ผู้สูงอายุร้อยละ 38 มีฟันแท้ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ 

เป้าหมายเมื่อสิ้นสุดโครงการปี 2554

  • สนับสนุนการจัดบริการใส่ฟันเทียมทั่วประเทศ 3 ปี 90,000 ราย
  • ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 1 อำเภอ 1 ชมรมทั่วประเทศ
    (1 จังหวัด 1 อำเภอ ปี 2553)
  • จัดบริการส่งเสริมป้องกันในหน่วยบริการต้นแบบ จังหวัดต้นแบบ : เต็มพื้นที่ PCU
  • พัฒนาระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแบบผสมผสาน 1 ภาค 1 จังหวัด
    ... ซึ่งเห็นภาพแล้ว คาดว่าจะได้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้อีกเยอะ
  • พัฒนารูปแบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก วัยทำงานและสูงอายุ โดย อสม.

กิจกรรมสำคัญของกองทันตสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

1. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายภาครัฐ / เอกชน

  • เครือข่ายเดิม
  • เครือข่ายใหม่ : ฟันเทียม, สุขภาพช่องปากกับสุขภาพและโรคทางระบบ, เทคโนโลยีการส่งเสริมป้องกัน

2. สนับสนุนการดำเนินงานโดยภาคีเครือข่าย

  • ฟันเทียม : งบฯ บริการ ตามระบบปกติ ค่าตอบแทนฟันเทียมทั้งปาก 1,000 บาท/ราย (กองทุน)
  • ชมรมผู้สูงอายุ
    - สนับสนุนศูนย์อนามัย และจังหวัด ในการขยายเครือข่าย 1 อำเภอ 1 ชมรม
    - แนวทางการพัฒนาชมรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

3. พัฒนาระบบข้อมูลและการรายงาน การติดตามผล

  • โปรแกรมบริการทันตสุขภาพผู้สูงอายุ
  • การสุ่มประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการใส่ฟันเทียม
  • การสำรวจ การรายงานสถานการณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุรายจังหวัด (4 คู่สบ, 20 ซี่) ชมรมส่งเสริมฯ โดยจังหวัด
  • สุ่มนิเทศ ติดตามโดยกองทันตฯ ทุกปี ภาคละ 1 จังหวัด

4. พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการจัดการความรู้

  • พื้นที่ที่สนใจแต่ละโครงการ (พัฒนาระบบบริการผสมผสาน 1ภาค 1 จว., พัฒนารูปแบบการดำเนินงานโดย อสม., โครงการศึกษา/วิจัยต่าง ๆ ฯลฯ)

5. รณรงค์สร้างกระแส และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ

  • ร่วมกับโอสถสภา ปีละ 2-3 จังหวัดที่สนใจ
  • ร่วมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทานและไลอ้อนส์ ปีละ 1 จังหวัด
  • ประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปีระดับประเทศปีละ 1 ครั้ง
  • เผยแพร่ทางสื่อสาธารณะ โดยเฉพาะปี 54
  • ชุดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
  • มหกรรมการประชุมวิชาการปี 2554
  • สื่อ / สิ่งพิมพ์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน/ผู้สูงอายุ
  • ฯลฯ

การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยชมรมผู้สูงอายุ

1. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกภาค

  • เน้นชมรมเป็นเจ้าของกิจกรรม
  • บุคลากรสาธารณสุข / เครือข่ายชมรม

2. จังหวัด / หน่วยบริการ /ชมรมเห็นประโยชน์ กลับไปดำเนินงาน

3. การสุ่มติดตามโดยกองทันตฯ ปีละ 1 ครั้ง (ภายใต้สถานการณ์ที่จำเป็นและเร่งด่วน)

ส่วนกลางจะได้จัดทำ แนวทางการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ซึ่งตั้งเป้าหมายสนับสนุนแนวทางในปี 2553 ซึ่งเรามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเพื่อ

  • เป็นแนวทางการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  • ค้นหา และจัดระดับชมรมผู้สูงอายุ ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากดี
  • จุดประกายการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ

ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หนึ่ง เรื่องโครงสร้างชมรมฯ สอง เรื่องการบริหารจัดการของชมรมฯ สาม เรื่อง กิจกรรมที่เกิด สี่ เรื่อง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชมรมฯ

การจัดทำ โปรแกรมในหน่วยบริการ มีหลักการเพื่อ ให้ครอบคลุมโครงการ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในหน่วยบริการทั้งหมด (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)

  • ส่วนที่หนึ่ง เป็นข้อมูลการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  • ส่วนที่สอง ความสามารถให้บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยบริการ หรือ สสจ. ก็ได้
  • ส่วนที่สาม สามารถเลือกบันทึกข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องได้ เป็นโครงการๆ
  • ส่วนที่สี่ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเบื้องต้นได้บ้าง
  • ส่วนที่ห้า สามารถเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งโดยหน่วยบริการ สสจ. ศูนย์อนามัย และกองทันตฯ

แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ... เช่น บัตรประชาชน ชื่อ-สกุล  เพศ  วันเดือนปีเกิด   ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ญาติที่ติดต่อได้ ฯลฯ

ส่วนที่ 2 สุขภาพผู้สูงอายุ และการแปลผล ... (เป็นประวัติผู้ป่วยในส่วนที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ เพื่อการวางแผนต่างๆ) เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง (BMI) / กลุ่มของผู้สูงอายุ ประวัติความดันโลหิต / เบาหวาน / โรคทางระบบอื่นๆ การประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน ความดัน การประเมินพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงในช่องปาก

ส่วนที่ 3 ข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปาก ... เช่น สภาวะฟันผุ รากฟันผุ เป็นรายซี่ สภาวะปริทันต์เป็น sextant สรุปความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก สรุปความจำเป็นในการรับบริการส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู

ส่วนที่ 4 การจัดบริการทันตกรรมป้องกัน ... เช่น การให้คำแนะนำ Plaque control การใช้ฟลูออไรด์ การขูดหินน้ำลาย แหล่งงบประมาณ การใส่ฟันเทียม (ทำเอง หรือส่งต่อ)

ส่วนที่ 5 การจัดบริการใส่ฟันเทียม ... เช่น ผู้ให้บริการ ชนิดฟันเทียม  แหล่งงบประมาณ เวลาที่จัดบริการ

ส่วนที่ 6 การ Follow up หลังใส่ฟัน ... เช่น ปัญหาที่พบและการแก้ไข

ปี 2552 เห็นอะไร  ที่ก้าวหน้ากว่าปี 2551 (กิจกรรมที่ผ่านมานั้น ผลการดำเนินงานในผู้สูงอายุมีพัฒนาการขึ้นในหลากหลายวิธีการ) อาทิเช่น

  • พื้นที่ร่วมดำเนินงานมากขึ้น ทั้งระบบบริการส่งเสริมป้องกัน / ส่งเสริมโดยชมรมผู้สูงอายุ
  • พื้นที่เริ่มทำงานทันตฯ แบบผสมผสาน เช่น อ.สารภี จ.เชียงใหม่, อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ฯลฯ
  • มีการทำงานเป็นทีมกับงานส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ชัดเจนขึ้น
  • มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชมรมผู้สูงอายุมากขึ้น
  • บางพื้นที่ ท้องถิ่น / PCU มีบทบาทสนับสนุนชมรมผู้สูงอายุชัดเจน
  • มีการบูรณาการ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน ทันตกรรม ใน LTC (บางหน่วยบริการ)
  • พื้นที่รู้จักแหล่งงบประมาณ และสามารถนำงบประมาณจากพื้นที่มาใช้ได้
    - งบฯ บริการในชุดสิทธิประโยชน์ : express demand UC
    - งบฯ ภาคประชาชน (ชมรมผู้สูงอายุ) : Community based (กองทุนฯ ตำบล)
    - งบฯ ส่วนกลาง
  • เห็นความเข้มแข็ง จริงจังของทีมสาธารณสุขภาคใต้ ในการพัฒนางาน

สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้ คือ

  • เรามีชมรมเข้มแข็ง เวลาทำก็ทำไปได้ แต่ขณะเดียวกัน เขาอาจมีกิจกรรมเยอะ ไปยาก มีคนเสนอว่า ในชมรมที่ไม่มีกิจกรรม หรือเขารวมตัวกันใหม่ๆ ก็สามารถตั้งเป็นกลุ่มทำกิจกรรมได้เหมือนกัน
  • บางชมรม เขายังไม่รวมกลุ่มกัน เราเอางานหยอดเข้าไป เขาก็มีการร่วมกลุ่มทำกันได้ แต่ต้องมีทีมสาธารณสุขช่วยด้วย
  • ชมรมหลายแห่ง แกนนำเป็นข้าราชการ จะบริการจัดการเก่งมาก เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย
  • แต่ในบางจังหวัด เป็นชาวบ้านรวมกลุ่มกัน จะทำอย่างไร งานส่งเสริมป้องกัน จะเข้าไปถึงผู้สูงอายุได้ หรืออาจจะไม่เข้าผ่านชมรมก็ได้
  • และชมรมต่างภาค ต่างศาสนา เหมือนสตูล ทำให้ต้องทำแยกกัน ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วย
  • เครือข่ายของเราทั้งหลาย เราเข้าไป contact เดินเข้าไปคุย พบหรือยัง ไปแสวงหาหรือยัง ไป อสม. วัดหรือยัง เข้าชมรม เข้าศูนย์สามวัยได้ไหม หรือวิ่งไปหาสาขาสภาก่อนดี ทั้งหมดนี้เป็นช่องทางทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจะไปทางไหนก่อน หรือจะไปองค์กรท้องถิ่นก่อน ไปหา อบต. ก่อน หรือวิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยการสาธารณสุข ก็จะมีทันตบุคลากร มีพยาบาลที่ทำงานสูงอายุ มีนักวิชาการ เขาก็จะเป็นเครือข่ายของเราได้เหมือนกัน .... อยู่ที่ว่า เจาะไปทางไหนได้บ้าง ... เรื่องนี้ขอฝากไว้
  • อย่าลืมเรื่องของการเชื่อมโยงระบบ ว่า เราอยู่ตรงไหน เพราะว่า กว่าจะถึงผู้สูงอายุจะต้องผ่านหลายอย่างมาก ถ้าทำงานด้วยกัน ช่วยกันทำอย่างนี้ ก็จะช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ และไม่ลงงานใครมากไป ช่วยกันไป จนถึงผู้สูงอายุก็เป็นไปได้
  • อย่าลืมว่า ผู้สูงอายุ เขาต้องอิงกับผู้ดูแล กับสภาพแวดล้อมาในยุคของเขา เช่น พฤติกรรมกินผักผลไม้ เขามีชมรมเครือข่ายที่ดูแลเขามากมาย อย่าลืมเรื่องการเข้าถึงบริการ ให้นึกถึงตัวผู้สูงอายุด้วย
  • ตอนนี้ เรากำลังจะมี รพ.ส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ที่กำหนด job งานไว้ ระบุว่า ในงานส่งเสริมสุขภาพ จะต้องทำในหน่วยบริการในชุมชน ในหน่วยบริการทำอะไรบ้าง ในชุมชนทำอะไรบ้าง ก็จะเป็นโอกาสที่ทำให้เราเอางานเข้าไปบูรณาการได้ด้วย ... อบต. เทศบาล ต้องมีส่วนสนับสนุนอย่างไร คุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ หรือเปล่า มีกองทุนผู้สูงอายุ มีการเสริมอาชีพ อย่างไร
  • อีกส่วนหนึ่ง อสม. กับชุมชน จะทำอะไร เขากำหนดว่า ต้องมีส่วนในการสร้างความเข้าใจ ผู้สูงอายุเข้าไปมีส่วนร่วม มีจิตอาสา ให้ความช่วยเหลือ ดูแลในชุมชน เขาได้วางเป็น package โครงสร้างที่แข็งมาให้เรา เราก็คงต้องหยิบตรงไหนไปใช้
  • และในเรื่องของภาพรวมของผู้สูงอายุ เราทำแต่คนที่พึ่งตนเองได้ ส่วนที่อยู่ติดเตียง ยังต้องเป็นอะไรที่ต้องพัฒนาต่อไป

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้

  

หมายเลขบันทึก: 290075เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เอาอากาศยามเช้าจากเจียงใหม่มาฝากเจ้า
  • เพื่อจะได้มีแรงขึ้นเหนือล่องใต้
  • เหมือนพ่อลูกชาย
  • แม่ลูกเริ่มคล้ายกันแล้ว  อิอิ
  • P
  • อิอิ เขากำลังนัดพ่อลูกชายมาเลี้ยง Birthday ... วันเกิดใครไม่รู้ ไปหาเองนะ
  • เจ๊ มากินด้วยกันบ่
  • โครงการทันตฯ ในผู้สูงอายุพัฒนาตลอด...ต้องยกนิ้วให้
  • ตอนนี้หยุดเดินสายในโครงการตัวเองแล้ว เพราะต้องปิดงบฯ
  • แต่ยังเดินสายในงบฯ เพื่อน...
  • วันที่ 8  กันยายน จะไปดูงาน KM  ที่สำนักที่ปรึกษาจัด
  • เราจะเจอกันไหมเนี่ย...
  • P
  • เห็นทีจะคลาดกันอีกแล้วละค่ะ
  • เพราะว่า ช่วง 7-12 มีงานประชุมที่ภูเก็ต ต่อกัน 2 งานเลยละค่ะ
  • เสียดายจัง
  • อนาคต ท่าจะต้องไป update ข้อมูล KM จากเจ๊หนุ่ยเสียแล้วละ ... อย่าลืมมาเล่าให้ฟังนะคะ

เอ่อ แนะนำหน่อยคร่า หนูอยากทามโครงการเกี่ยวกะผู้สูงอายุ จาทำไงดีคะ เอาแบบ แปลกๆหน่อย แหะๆ

อยากลองทำดูอ่ะค่ะ แต่ม่ายรุจาเริ่มจากตรงไหนดี ม่ายเก่งชุมชนเลย เมลหนูน๊า [email protected]

  • สวัสดีค่ะ คุณวาว
  • จะเอาแบบแปลกๆ คงต้องคิดเอง ทำเองกระมังค่ะ
  • แต่ถ้าเอาแบบที่ชุมชนชอบ ก็ต้องไปคุยกับชุมชนค่ะ ว่าเขาต้องการอะไร
  • สุ่มไปคุยกับผู้สูงอายุเลยก็ได้ค่ะ และเริ่มจากผู้สูงอายุท่านนั้นละค่ะ
  • จะได้รูปแบบของหนูเองด้วยนะ แบบไม่เหมือนใครแน่เลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท