พฤติกรรมผู้ใช้ในยุคดิจิทัล


user change behavior in digital world

 

 

เขียนเรื่องนี้เพราะมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน แน่นอนต้องออนไลน์อินเตอร์เน็ตด้วย
เมื่อพูดถึงบริการสารสนเทศ เดี๋ยวนี้ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะห้องสมุด ที่มีผนังกั้นและประตูทางเข้าออก
เพราะข้อมูลปัจจุบันสามารถหาได้แค่ปลายนิ้วคลิก  ขนาดเป็นคนเรียนศาสตร์ห้องสมุด อยู่กับหนังสือและสารสนเทศ แต่ยังชอบที่จะพึ่ง Google บ่อยๆ  ต้องหันมาพิจารณาแล้วล่ะว่า เครื่องมือหากินและช่วยค้นอย่างฐานข้อมูลของห้องสมุด สนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้ยุคดิจิทัลนี้ได้แค่ไหน

จากที่เคยคลิกเข้าฐานข้อมูลนั้น ฐานข้อมูลนี้เพื่อค้นสิ่งที่ต้องการ แต่อยู่คนละฐาน คนละที่
เดี๋ยวนี้มีตัวช่วยใหม่ที่เป็น Single search  ค้นทีเดียว ก็สามารถหามาให้ดูทันที  อย่างเช่นที่สถาบันวิทยบริการ จุฬา ได้นำมาให้บริการแล้วเรียกว่า Encore  ที่เป็นชื่อ product ใหม่ของ Innovative Interface, Inc. http://encore.car.chula.ac.th

ที่เริ่มจะเห็นในหลายๆ ห้องสมุด คือบริการตอบคำถามแบบออนไลน์  ง่ายๆไม่ต้องซื้อหาคือ MSN เช่น ที่ สำนักหอสมุด ม ขอนแก่น ผู้เขียนและเพื่อนๆ ได้เข้าไปคุยกับบรรณารักษ์ตัวเป็นๆ ทางออนไลน์บ่อยๆ เพื่อถามปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือ   ถ้าที่ไหนมีตังหน่อย ก็อาจใช้ระบบที่ซื้อมาจากที่เขาพัฒนา เช่น QuestionPoint ที่สามารถจัดการข้อมูลคำถามให้เป็นระบบ และยังเชื่อมโยงคำถามไปยังที่อื่นๆเพื่อช่วยหาคำตอบให้ด้วย

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นในห้องสมุดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ และประเทศแถบตะวันตก เขานิยมใช้ facebook ที่คลิกเข้าไปแล้วจะเห็นข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริการต่างๆ  และบางทียังสามารถสืบค้น OPAC ได้จากทาง facebook ด้วย

และที่มาแรงสุดๆ ตอนนี้คือ twitter  ผู้เขียนเห็นห้องสมุดหลายแห่งมีหน้า twitter ให้ผู้ใช้ fallow ตามด้วย อย่างเช่น ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ ม. มหิดล

     http://twitter.com/klinics


  http://twitter.com/StangLibrary


นี่ก็คงเป็นรูปแบบบริการแนวใหม่ ที่หน่วยงานให้บริการสารสนเทศ เริ่มต้องปรับตามพฤติกรรมผู้ใช้บริการและเทคโนโลยีที่มันก้าวไปรวดเร็วมาก เพราะคนส่วนใหญ่ มีอินเตอร์เน็ตใช้ จึงอาศัยความสะดวกในการค้นคว้า ค้นหน้าคอมพิวเตอร์ส่วนตัว อยู่ที่ไหนก็ได้ ที่หอพัก ห้องสมุด ร้านกาแฟ สนามบิน ขนส่ง ห้างสรรพสินค้า หรือโรงภาพยนตร์ ก็สามารถจะต่อ wireless หรือกระทั่งใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือด้วย GPRS หรือ dial ผ่าน bluetooth

 โต๊ะวาง Laptop ที่ไหนซักแห่ง ทานกาแฟได้ด้วย

 

เห็นไหมละคะ โลกมันเปลี่ยน ผู้ใช้ก็เปลี่ยน ฉะนั้นห้องสมุด และผู้ให้บริการ ก็ต้องพร้อมจะเปลี่ยนด้วย
ขนาดระดับประธานาธิบดีประเทศมหาอำนาจยัง change เลยนี่คะ

 

หมายเลขบันทึก: 289641เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

จริงค่ะ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนไล่ตามไม่ทัน

บางทีเราก็ทำไม่เป็น ต้องแอบถามเด็กๆ รุ่นใหม่เอา

เวบใหม่ๆออกมามากมาย บอกตรงๆว่าตามไม่ทัน

แต่ก็ใช้เทคโนโลยีอยู่ทุกวันจนแทบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้วละค่ะ

เหนื่อยจังค่ะ ในการตามเทคโนโนโลยี

ยิ่งจะเหนื่อยใหญ่ ในการนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมที่เหมาะสม...

แต่เราก็สู้...ว่ามั๊ยคะ

I would love to follow NU Library twitter/ Facebook rather than receiving e-mails about library news. I look forward to using this service in the near future. ^_^

สวัสดีค่ะอจ อ้อม จะรับข้อเสนอของอจ ไปให้ห้องสมุดนะคะ พอดีว่าลาเรียนต่อ (ไม่จบซักที) น่ะค่ะ

มีห้องสมุดหลายๆแห่งที่ใช้ช่องทางสองอย่างนี้ สื่อสารกับผู้ใช้นะคะ

อจ อ้อมสบายดีนะคะ ตอนนี้ยังอยู่ที่ออสเตรเลียหรืออยู่เมืองไทยคะ ^_^

สวัสดีค่ะ

Twitter/ Facebook ใช้ง่าย ห้องสมุดที่นิวซีแลนด์ก็ใช้ค่ะ เอาไว้โต้ตอบกันสั้นๆ ง่ายดีไม่ต้องเขียนอีเมล ได้รู้ข่าวอื่นๆ ในแวดวงที่เราสนใจและฟรีอีกด้วย ฝากไว้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท