งานของพยาบาลกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพ


คุณภาพเริ่มที่ตัวเรา หน่วยงานของเรา และขยายสู่เพื่อนๆของเรา

ตัวผู้เขียนเองเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ ปฏิบัติงานประจำที่ตึกผู้ป่วยใน แต่งานหลักในตึกกลับเป็นภาระเรื่องเอกสารซะเป็นส่วนใหญ่ ทำChart รับใหม่-จำหน่ายวันละ 10 รายก็หมดเวลาแล้ว  งานดูแลข้างเตียงเป็นหน้าที่ของทีมพยาบาลรุ่นใหม่วัยกระฉับกระเฉงกัน ตัวผู้เขียนเองกว่าจะเคลียร์งานเอกสารเสร็จ 1 ฉบับใช้เวลานานมาก    ในห้วงปีงบประมาณนี้หมอที่โรงพยาบาลมีน้อยคน และยังต้องแบ่งแพทย์ไปช่วยงานที่โรงพยาบาลอื่นที่ขาดแคลนกว่าเราอีก ทำให้ท่านผู้อำนวยการต้องจัดพยาบาลเวชปฏิบัติออกตรวจอีก 1 ห้องเพื่อลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย 

   วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ของเดือนที่ผู้เขียนออกตรวจรักษา สวมเครื่องแบบสีขาวของพยาบาลด้วยความภาคภูมิใจ  ถึงจะตรวจรักษาก็ตรวจรักษาโรคเบื้องต้นโดยพยาบาลนะคะ เอาให้ชัดๆ กันไปเลย คนไข้จะได้ไม่สับสน วันนี้ช่วงเช้าออกตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก  คนไข้เยอะมากด้วยว่าเป็นวันจันทร์และมีคลินิกโรคเรื้อรังคือโรคความดันโลหิตสูง ตรวจไปเท่าไหร่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดซักกะที  น้ำไม่ได้ดื่มห้องนำไม่ได้เข้า     เงยหน้าขึ้นอีกทีคนไข้คนสุดท้ายเดินออกจากห้องเวลา 12.35 น. ฟังดูน่าจะเหนี่อย  แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เรานะคะที่เหนื่อย  คนไข้ต่างหากที่น่าสงสาร  คุณตาคนที่มาตรวจคิวแรกบอกว่า ผมยังไม่ได้กินยา  ยังไม่ได้กินข้าวเช้าออกจากบ้านตั้งแต่ตี 4 คคต่อมาคุณยายบอกว่าขอยา 3 เดือนได้มั๊ยยายมาลำบาก ได้ค่ะคุณยายแต่ยายต้องสอบก่อนนะคะ คุณยายทำหน้างง ประมาณว่าอายุ 70  แล้วยังต้องสอบอยู่เหรอค๊า.........  ดูประวัติย้อนหลังไป 1 ปี ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ไม่เกิน 130 /90 มิลลิเมตรปรอท พูดคุยกับคนไข้ชี้นำให้เขาทบทวนแนววิธีปฏิบัติในการดูแลตนเอง เสริมเติมข้อมูลที่ถูกต้องให้ผู้ป่วยแต่ละคน ความสุขของการให้เป็นพลังที่ส่งผ่านออกไปอย่างต่อเนื่อง ท่าทีที่ตอบกลับมา ความตั้งใจเรียนรู้บอกเล่าแบ่งปันของผู้ป่วยแต่ละราย  ทำให้หวนคิดถึงงานของพยาบาลเวชปฏิบัติที่อยู่ในชุมชน  อาจมีวันเวลาที่เหมาะสมสักวันที่จะได้ออกไปดูแล  เพราะงานในโรงพยาบาลชุมชนหลากหลายบทบาท  หลากหลายหน้าที่ แต่สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลในบางบทบาทถูกดึงเวลาไปสู่การจัดการงานเอกสารมากกว่า  ช่วงบ่ายต้องประชุมร่วมกับทีมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล  ในนามของเลขานุการทีมPCT ที่ใครๆก็ไม่รับตำแหน่ง แต่เราประเภทชอบได้ของแจกอยู่เรื่อยไปจึงได้รับเกียรติอันนี้  วันนี้ที่ประชุมพูดถึงเรื่องการเตรียมข้อมูล เพื่อเข้าร่วมประชุม ACT TO ACC ผู้เขียนเองรับผิดชอบในส่วนของกระบวนการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว จึงนำเสนอ  เรื่องการทำความเข้าใจในการนำ Flown chart กระบวนการดูแลผู้ป่วยมาใช้ในการสืบค้น ติดตามคุณภาพงานด้วยตนเองของแต่ละหน่วยงาน  การบรรยายราบรื่นไปได้ด้วยดี แม้เป็นเรื่องยากแต่ผังFlown chartที่เราใช้เก็บข้อมูลจริงที่หน่วยงานทำให้ผู้ร่วมประชุมเข้าใจได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ผู้เขียนบรรยายเสร็จก็ดูบรรยากาศที่ประชุมดูผ่อนคลายลง เพราะผู้เขียนขอให้หน่วยงานกายภาพบำบัด และทีมดูแลผู้ป่วยวัณโรคได้แสดงตัวอย่างที่ได้ทำมาหลังจากผู้เขียนได้อธิบายล่วงหน้าและให้ทดลองทำมานำเสนอต่อที่ประชุมดู  ทุกคนดูเข้าใจมากขึ้น ผ่านไปอีก1 วันในการสะสมประสบการณ์งานแห่งชีวิต ขอบคุณพลังใจเงียบๆของตัวเองที่ฉุดดึงตัวเองให้ลุกขึ้นทุกครั้งที่ท้อ แล้วเรื่องดีๆ จะเกิดขึ้นอีกเพราะที่เราทำนั้นด้วยดวงจิตบริการและปราถนาดีต่อผู้คน องค์กร ชุมชนและสังคมโดยแท้จริง มิได้หวังประโยชน์ตนอันใดเลย

 

หมายเลขบันทึก: 288440เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เอ๊ะ...^__^

สวัสดีค่ะพี่นก...กะปุ๋มเอ๊ะมาก่อนเลยนะนี๊ยะ...เพราะอ่านแล้วนี่เป็นประเด็นน่นำมาทำ R2R เลยนะคะเนี๊ยะ

เดี๋ยววันที่ 19 นี้กะปุ๋มจะไปเชียร์นะคะ...

 

สวัสดีค่ะอาจารย์กะปุ๋ม พี่นกอยากร้องไห้ วันที่ 19 ส.ค. นี้ จะไม่ได้เจออาจารย์กะปุ๋ม เพราะต้องเข้าประชุม ACT TO ACC ที่อุบล เสียดายมาก อดหายใจด้วยสะดือกับอาจารย์กะปุ๋มเลย ไว้เจอกัน 23 กันยานะคะ คิดถึงค่ะ

เพราะ..พี่นกทำงานโดยไม่หวังอันเป็นมโนสำนึกที่อยู่ ณ  ก้นบีงแห่งจิตใจ..

แต่ทว่ากลับได้สิ่งล้ำค่าใส่ไว้ในใจอย่างคาดไม่ถึง..

ทุกสถานการณ์เมื่อให้จิตส่วนลึกทำงาน  แล้วจะพบว่า..ช่างอัศจรรย์จริงๆ..

เพียรพยายามต่อไปเพื่อประโยชน์สุขของสังคม(ซึ่งตัวเรารวมอยู่ด้วย)

 

 

นมัสการค่ะท่านธรรมฐิต

เห็นเราทำงานๆๆๆๆไม่บ่น ก็มายุให้ทำงานหนักขึ้นๆๆล่ะซี้ พระอาจารย์

เอ้า....ทำก็ทำ ไม่เคยเห็นใครเส้นเลือดในสมองแตกเพราะทำงานให้เห็นต่อหน้า หรอก

ทำงาน ทำงานและก็ทำต่อไป จะเก็บความสุขใจเล็กๆรายทางเอาแล้วกันค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ คนไข้เป็นศูนย์กลาง
  • ดีจังเลยค่ะ ใช้ flow chart เป็นตัวนำในการประเมินคุณภาพ
  • ซู๋ๆๆค่ะ คนคุณภาพ

สวัสดีค่ะ พี่แดง

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

นกใช้ Flow chart เพื่อต้องการสื่อถึงคนหน้างานให้เข้าใจกระบวนการค่ะ

ให้เขาเห็นความสำคัญของตนเองในการเป็นผู้เติมเต็มและตรวจสอบคุณภาพด้วยตัวคนหน้างานเอง

เมื่อเอาข้อมูลมาคุยกันเขาก็จะได้ถ่องแท้ในตนเองว่า"เรามีคุณภาพจริงหรือไม่"

และมีอะไรที่ยังเป็นปัญหาในระบบงานของเรา

ขอบพระคุณที่แวะมานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท