๑.scoring rubric : ความเป็นมาและความหมาย


เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคช่วยให้ผลการประเมินนักเรียนมีความชัดเจนขึ้น

            การประเมินตามสภาพจริง เป็นการตัดสินคุณค่าโดยมนุษย์ผ่านการสังเกต แฟ้มสะสมผลงาน การปฏิบัติงาน การให้คะแนนจึงแตกต่างจากการสอบด้วยแบบสอบมาตรฐาน นักประเมินได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการพัฒนาการให้คะแนนแนวใหม่ไปพร้อม ๆ กันกับการประเมินวิธีใหม่   ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ  “scoring  rubric”  (Hart, 1994; Pickett & Dodge, 2001)  การใช้รูบริคจะทำให้การประเมินมีคุณภาพ (qualitative)  มีความหมาย  (meaningful)  และมีความคงที่    

           Oxford  English  Dictionary  ระบุไว้ว่า รูบริคหมายถึงหัวเรื่องของหนังสือที่มีความแตกต่างกันในแต่ละตอนรากศัพท์มาจาก  ruber  ในภาษาละตินที่หมายถึง สีแดง  การใช้คำว่า ruber  หรือ  rubric  เกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่  15  โดยนักบวชในศาสนาคริสต์ผู้ซึ่งมีความอุตสาหะอย่างยิ่งในการทำสำเนาวรรณกรรม  ได้เขียนอักษรเริ่มต้นในแต่ละตอนของฉบับคัดลอกด้วยตัวหนังสือสีแดงขนาดใหญ่  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  rubric  จึงหมายถึงหัวเรื่องในหนังสือ  จนกระทั่งสองทศวรรษที่ผ่านมา  รูบริคจึงมีความหมายใหม่ท่ามกลางศาสตร์ทางการศึกษา  นักการศึกษา  ผู้เชี่ยวชาญทางการวัดผลได้ให้คะแนนการเขียนเรียงความของนักเรียนโดยระบุและอธิบายข้อปฏิบัติ ซึ่งเป็นการชี้นำการให้คะแนนหรือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อของ  รูบริค” (scoring  guide) (Popham, 1997)

          เมื่อกล่าวถึงความหมายของรูบริค มีสองมุมมองด้วยกัน มุมมองแรกมองว่ารูบริคเป็นเครื่องมือประเมินตามสภาพจริงเช่นเดียวกับแฟ้มสะสมผลงาน ส่วนอีกมุมมองหนึ่งมองว่า รูบริค คือชุดของเกณฑ์การให้คะแนน จนกระทั่งมีการทำวิจัยสำรวจกันเป็นเรื่องเป็นราว โดย Wenzlaff, Fager & Coleman (1999) ในปี ค.ศ. 1999 ทำการวิจัยเชิงสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับรูบริคกับครูระดับมัธยมศึกษา ประถมศึกษาและ นักศึกษาฝึกครูจากมหาวิทยาลัยในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริการจำนวน 100 คน พบว่า ส่วนใหญ่เข้าใจว่ารูบริคคือเครื่องมือการประเมินที่แสดงส่วนประกอบงานโดยละเอียด สอดคล้องกับผลการสังเคราะห์เอกสาร พบว่า รูบริคคือชุดของเกณฑ์ที่ช่วยให้คะแนนได้ง่ายขึ้นออกแบบไว้สำหรับการประเมิน รูบริคจึงเปรียบเสมือนวิธีการประเมิน แต่ในทางปฏิบัติวิธีการประเมินไม่จำเป็นต้องใช้รูบริคเสมอไป 

          ความพยายามของนักวิชาการในการพัฒนารูบริคเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน ทำให้ปัจจุบันวงการศึกษาของต่างประเทศพัฒนารูบริคในรูปของ Rubric Bank Rubric libraly เป็นแหล่งรวมรูบริคนานาชนิด หลากหลายวิชา ใช้ในการประเมินงานในลักษณะต่าง ๆ ที่หลากหลาย ครูหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย และมีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้างรูบริค เพื่อช่วยให้ครูสร้างรูบริคง่ายขึ้นและมีภาพประกอบสวยงาม..อาทิ "Rubistar Rubric Generator"(http://rubistar.4teachers.org/หรือ"Teacher Rubric Maker" (http://www.teach-nology.com/web_tools/rubrics/) ลองค้นหาดูนะคะจะทำให้การสร้างรูบริคของคุณครูง่ายขึ้น.....

 

Resources for Rubrics on the Web

The following is just a partial list of some Web resources for information about and samples of scoring rubrics.

"Scoring Rubrics: What, When, & How?" (http://pareonline.net/getvn.asp?v=7&n=3). This article appears in Practical Assessment, Research, & Evaluation and is authored by Barbara M. Moskal. The article discusses what rubrics are, and distinguishes between holistic and analytic types. Examples and additional resources are provided.
"Performance Assessment-Scoring" (http://www.pgcps.pg.k12.md.us/~elc/scoringtasks.html). Staff in the Prince George's County (MD) Public Schools have developed a series of pages that provide descriptions of the steps involved in the design of performance tasks. This particular page provides several rubric samples. "Rubrics from the Staff Room for Ontario Teachers" ( http://www.quadro.net/~ecoxon/Reporting/rubrics.htm ) This site is a collection of literally hundreds of teacher-developed rubrics for scoring performance tasks. The rubrics are categorized by subject area and type of task. This is a fantastic resource…check it out!
"Rubistar Rubric Generator" (http://rubistar.4teachers.org/
"Teacher Rubric Maker" (http://www.teach-nology.com/web_tools/rubrics/)

 

 

หมายเลขบันทึก: 286593เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจดีจังเลยค่ะ น่าเผยแพร่กันเยอะๆนะคะ ระบบการประเมินแบบสร้างสรรค์นี่แหละที่เมืองไทยต้องการ

เห็นว่า อ. krittaya เพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ของ GotoKnow ขอแนะนำบล็อกเกอร์การศึกษาที่น่าสนใจ 2 ท่านค่ะ อ.ป้าเจี๊ยบ ที่ http://gotoknow.org/portal/pa-g-up

และ อ.ดอกไม้ทะเล ที่ http://gotoknow.org/portal/ampere

ขอบคุณค่ะ นาสนใจมากจริง ๆ

เป็นสมาชิก Researcher อยู่นานมากแต่ไม่ได้ลงมือเขียนอะไร

จนกระทั่งมีแรงผลัก..มากพอจึงมีวันนี้

ขอบคุณคุณอโณสำหรับมิตรภาพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท