อิลราชคำฉันท์ : แรงบันดาลใจสู่สามัคคีเภทคำฉันท์


อิลราชคำฉันท์     

  

                พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน  สาลักษณ์) แต่งอิลราชคำฉันท์เมื่อครั้งเป็นหลวงสารประเสริฐเพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยนำเรื่องอิลราชในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะจากพระราชนิพนธ์เรื่องบ่อเกิดรามเกียรติ์มาแต่งเป็นคำฉันท์  เมื่อแต่งจบแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๖ ทรงตรวจแก้ไขให้และทรงพระราชนิพนธ์คำนำให้ด้วย

 

ลักษณะคำประพันธ์

             แต่งเป็นฉันท์ ๑๕ ชนิดและกาพย์ ๒ ชนิด

 

เนื้อเรื่องย่อ

            ท้าวอิลราชครองเมืองพลหิกา  ได้เสด็จไปล่าสัตว์และหลงทางเข้าไปในเขตที่พระอิศวรและพระอุมากำลังทรงพระสำราญอยู่ในที่รโหฐาน ณ เชิงเขาไกรลาศ  ขณะนั้นพระอิศวรกำลังแปลงองค์เป็นหญิงเพื่อล้อพระอุมา   ด้วยเดชของพระเวทที่พระอิศวรแปลงกายนี้ทำให้บรรดาสัตว์และต้นไม้กลายเป็นเพศหญิงไปหมด  ท้าวอิลราชและบริวารเดินล่วงที่รโหฐานนั้นเข้าไปก็กลายเพศเป็นหญิงไปด้วย  

              ท้าวอิลราชตกพระทัยจึงเข้าเฝ้าพระอิศวรขออภัยโทษขอให้ได้กลับเป็นชายดังเดิม  แต่พระอิศวรไม่โปรดอภัยให้  พระอุมาจึงลดโทษให้ท้าวอิลราชเป็นชาย ๑ เดือนและเป็นหญิง ๑ เดือนสลับกันไป  และเมื่อใดกลับเพศเป็นชายให้ลืมเหตุการณ์ทั้งปวงในขณะที่หญิง  เมื่อใดกลายเป็นหญิงก็ให้ลืมเวลาที่เป็นชาย   

ท้าวอิลราชเมื่อเป็นหญิงชื่อนางอิลาและได้เป็นภรรยาของพระฤาษีตนหนึ่งชื่อพระพุธ   เมื่อกลายเพศเป็นชายก็ลืมเหตุการณ์ขณะเป็นหญิงตามพรของพระอุมา  พระพุธจึงชวนให้ท้าวอิลราชอยู่ที่อาศรมบำเพ็ญพรตภาวนาตลอด ๑ เดือน  แล้วก็กลับเพศเป็นหญิงปฏิบัติพระพุธผู้เป็นสามีอีก ๑ เดือน  กลับไปกลับมาเช่นนี้จนนางอิลามีโอรสกับพระพุธชื่อปุรุรพ  พระพุธคำนึงถึงประโยชน์แห่งท้าวอิลราชจึงเชิญ 

               พระฤาษีทั้งหลายมาปรึกษากันคิดหาทางแก้ไขให้ท้าวอิลราชได้คงความเป็นชายตลอดเวลา  จึงตกลงกันทำพิธีอัศวเมธบูชาพระอิศวร  พระอิศวรจึงประทานพรให้ท้าวอิลราชเป็นชายตลอดไปไม่ต้องกลับเป็นหญิงอีก   ท้าวอิลราชเสด็จกลับเข้าเมืองพลหิกามอบราชสมบัติให้พระสสพินทุ์โอรสองค์โตครองเมือง  และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เรียกว่าประดิษฐาน  ให้พระปุรุรพโอรสพระพุธครองสืบไป

 

ตัวอย่าง 

 

ชมปราสาท                             เรืองรองพระมนทิรพิจิตร                         กลพิศพิมานบน 

                                ก่องแก้วและกาญจนระคน                                         รุจิเรขอลงกรณ์

                                                  ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด                                ดลฟากทิฆัมพร 

                                บราลีพิไลพิศบวร                                                          นถศูลสล้างลอย 

 

 

ชมธรรมชาติ                           สลาบโรยก็หล่นลอย                                   กระแสสร้อยสลายพวง 

                                สะพราดพันธุปลาปวง                                                  ประเนืองน่านเฉนียนนอง 

                                                  ฉวัดว่ายเฉวียนวน                                        กระโดดพ่นละอองฟอง

                                ระเมียรมัจฉะคลอครอง                                                บคลาดคู่คระไลลอย 

 

พระพุธได้นางอิลา                พรหมจรรย์กระเจิงล่ม                                ประลุพรหมพิภพบน

                                พ่ายพักตร์สุภณทน                                                       บมิไหวคระไลกระจาย

                                                  กรรมร้อนบ่ห่อนกรุ่น                                เพราะพิรุณประโปรยประปราย

                                กองเพลิงเถกิงกราย                                                      ติณแห้ง บ แหนง บ หนี

                                                  ผาณิตผิชิดมด                                               ฤจะอดบอาจมี

                                แม่เหล็กฤเหล็กดี                                                           อยยั่วก็พัวก็พัน

 

สำนวนโวหาร

           อิลราชคำฉันท์มีความไพเราะตามแบบฉบับฉันท์สำนวนเก่า  การใช้ถ้อยคำสละสลวยบทอุปมาอุปไมยมีความคมคาย

คุณค่าของหนังสือ

          เป็นหนังสือที่มีคุณค่าเล่มหนึ่งที่แต่งเลียนแบบฉันท์ของเก่าทุกประการและเป็นแบบอย่างของหนังสือคำฉันท์ในสมัยต่อมา หนังสือเรื่องอิลราชคำฉันท์นี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์และแบบเรียนวรรณคดีไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  เพราะเป็นหนังสือดีมีคุณค่า มีอรรถรส ให้ข้อคิดและคติสอนใจ สมควรจะใช้เป็นตำราเรียนสำหรับนักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจในวรรณคดีกวีนิพนธ์ไทยได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในสุนทรียภาพของวรรณศิลป์  ทำให้เกิดความบันดาลใจในการธำรงรักษาและจรรโลงเอกลักษณ์ของไทยทางด้านวรรณคดีกวีนิพนธ์  อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 286481เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดี ๆ
  • สมัยเรียนอ่านทำนองเสนาะหนังสืออิลราชคำฉันท์  และสามัคคีเภทคำฉันท์จัดเป็นตำราเรียนที่ใช้ใน
    การสอนอ่านคำฉันท์เป็นอย่างดีค่ะ

ขอบคุณคุณธรรมทิพย์ที่เข้ามาเยี่ยมชม ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

มา แว้วววววววววว.........

อ่านนแล้วว

นะคร้า

อาจารย์

อ่านแล้วครับ

ถ้าออกข้อสอบแนวนี้เยอะๆ ไม่มีตกครับ

เพราะผมไม่เก่ง เรื่องหลักภาษา T-T

มาอ่านแล้วคะ

อาจารย์

ดีครับบบ

ผมว่า พร พวกนี้ เหมาะ กับเจ๊ เเซนน

มากกว่า มั่งครับ 555+

สาหวาด D คะ

คุณครูแป๊ว (สุดสวย)

อย่าลืมหม่ำข้าวนะคะ

เพื่อนหนูอ่าน

แต่หนูยังไม่ได้อ่านเลยคะ

อิอิ

ขอขอบพระคุณสำหรับเนื้อหา...GOOD

ได้ประโยชน์มากคะอาจารย์ ^^*

สวัสดีค่ะ นักเรียนที่รักทุกคน

ครูดีใจนะคะที่นักเรียนเข้ามาอ่านบันทึกเกี่ยวกับสามัคคีเภทคำฉันท์ แม้จะเป็นเพียงการอ่านบันทึกสั้น ๆ แต่การอ่านก็ทำให้ประเทืองปัญญานะคะ ถ้าอยากให้ครูเขียนเรื่องอะไรก็แนะนำมาได้ค่ะ หรือจะมาพบครูที่ห้องสมุดภาษาไทยก็ได้ มีหนังสือน่าอ่านมากมายรอนักเรียนมาอ่าน

เป็นสิ่งที่ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท