๕. วิจัยขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อและกระบวนการเรียนรู้สร้างสุขภาพในชุมชนและโรงเรียน


... การวิจัยในแนวทางนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่เชื่อว่าจะเปิดมิติใหม่ของการวิจัยทางด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นสูงของบ้านเรา โดยคนที่ศึกษามาทางเทคโนโลยีการศึกษาเอง โดยเฉพาะการผสมผสานทฤษฎีการพัฒนาทางด้านการศึกษาเรียนรู้เข้ากับการพัฒนาสุขภาพเชิงรุก ที่เชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาคนรุ่นใหม่และการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการของชุมชน ...

            เป็นที่ปรึกษาและช่วยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ควบคุมวิทยานิพนธ์ให้น้องที่ทำงาน และเด็กรุ่นน้อง แต่เคยนับถือกันจากการที่เขาเคยทำงานเป็นเครือข่ายอาสาสมัคร  รวม  3 คน เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา  มีความน่าสนใจทั้งหัวข้อและระเบียบวิธีในการวิจัย

  • ในด้านหัวข้อการวิจัย  เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่อง กระบวนการในการทำสื่อและการเรียนรู้ด้วยกระบวนระบบ เพื่อพัฒนาแกนนำนักเรียน ขับเคลื่อนโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ ในชุมชนระดับอำเภอ  กรณีของอำเภอพุทธมณฑล  (ชื่อหัวข้อประมาณนี้) นักวิจัยคือ คุณกานต์ จันทวงษ์ เป็นโครงการวิจัยที่ปฏิบัติการเชิงพื้นที่  ผลของการวิจัย  นอกจากกระบวนการดังกล่าว สามารถพัฒนาสื่อได้ตามวิธีวิจัยประสิทธิภาพสื่อ พัฒนาเด็กให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามการประเมินก่อนและหลังการเรียน ตามแนวทางการวิจัยสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาโดยทั่วไปแล้ว ยังผนวกการวิจัยเชิงกระบวนการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนภาคปฏิบัติด้วย 

         ชุมชน เครือข่ายโรงเรียน  ครูอาจารย์ ตลอดจนกรรมการการศึกษาของชุมชน ก็มีกำลังใจที่มีกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเข้าไปเสริม ระดมพลังการมีส่วนร่วมทั้งอำเภอ  โดยมีเรื่องของเด็กและโรงเรียนเป็นแกนหลัก จึงได้รับความร่วมมือและสนับสนุนให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม  รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและเครือข่ายครูพี่เลี้ยง  เป็นอย่างดียิ่ง

        กระบวนการที่ทำขึ้นมา ก่อให้เกิดเครือข่ายดำเนินโครงการสร้างสุขภาพในโรงเรียนโดยกลุ่ม  แกนนำนักเรียน  อีกทั้งทำให้โรงเรียนทั้งหมด ของอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งโดยกายภาพและสถานะทางสังคมแล้ว จัดว่าเป็นเป็นอำเภอชายขอบของจังหวัด บรรลุเกณฑ์การเป็นโรงเรียนสร้างสุขภาพ เป็นอำเภอแรกของจังหวัดนครปฐม

        โครงการวิจัยดังกล่าว สามารถทำชุดสื่อได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีปฏิบัติการอย่างซับซ้อน เพราะได้รับทุนอุดหนุนจาก สสส และทุนอุดหนุนการวิจัยรุ่นใหม่  จากมหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นการเปิดมิติใหม่ของปฏิบัติการวิจัยสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ที่บูรณาการระหว่างบทบาทของภาคีการศึกษา  สุขภาพ  การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของชุมชน ที่น่าสนใจมากทีเดียว

  • อีกเรื่องหนึ่ง เป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม รูปแบบและกระบวนการพัฒนาชุดสื่อ เพื่อการสร้างสุขภาพเด็กและเยาวชนในวัยเรียน ของชุมชนเทศบาลตำบลสามง่าม  อำเภอดอนตูม  จ.นครปฐม   (ชื่อหัวข้อประมาณนี้) ของคุณธันญาพร  ลักษณะ ผลของการวิจัย  นอกจากได้ชุดสื่อที่มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามที่นักวิจัยตั้งวัตถุประสงค์ไว้แล้ว ยังก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพ และรูปแบบการปฏิบัติการสื่อและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการสร้างสุขภาพของเด็กและเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อีกด้วย  ดูเหมือนว่า  โครงการนี้ นอกจากจะได้รับการร่วมควบคุมทางวิชาการ โดยรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวันครปฐม  นายแพทย์ ดร.ถวัลย์ พบลาภ แล้ว ยังได้รับทุนอุดหนุนส่วนหนึ่งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอีกด้วย ใช้การวิจัยผสมผสานกันหลายแบบเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆให้เกิดผลทางการปฏิบัติ  คือ การวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม  ผลของการวิจัยส่วนหนึ่ง  จึงเป็นกระบวนการ  เครื่องมือ และเทคนิควิธี ที่ค้นพบจากการแก้ปัญหา น่าสนใจมากเช่นกัน
  • อีกเรื่องหนึ่ง เป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม พัฒนารูปแบบและกระบวนการพัฒนาสื่อ เพื่อการสร้างสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม   (ชื่อหัวข้อประมาณนี้) ของคุณณัฐพัชร์ ทองคำ ใช้แนวคิดเรื่องชุมชนเข้มแข็งในแนวทางของเมืองไทยแข็งแรง และการออกแบบกระบวนการวิจัย  ให้เป็นทั้งการหาความรู้และจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายการปฏิบัติ  เป็นการวิจัยที่น่าเหน็ดเหนื่อยแทนมาก  แต่นักวิจัยกล้าปรับเปลี่ยนและมีทักษะในการประสานเครือข่ายที่จะสามารถช่วยการทำงาน  ทั้งทีมช่วยวิจัยและเครือข่ายชุมชน  รวมทั้งขยันเก็บข้อมูลและเร็วต่อการลงไปในชุมชนมาก 

        การวิจัยในแนวทางนี้  เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่เชื่อว่าจะเปิดมิติใหม่ของการวิจัยทางด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นสูงของบ้านเรา  โดยคนที่ศึกษามาทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเอง  โดยเฉพาะการผสมผสานทฤษฎีการพัฒนาทางด้านการศึกษาเรียนรู้เข้ากับการพัฒนาสุขภาพเชิงรุก แล้วเน้นปฏิบัติการโดยกลวิธีทางสื่อและเทคโนโลยีเชิงกระบวนการ ที่เชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  การศึกษาเรียนรู้ที่อยู่ในวิถีชีวิต  รวมทั้งการพัฒนาคนรุ่นใหม่ และการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการอย่างบูรณาการของชุมชน 

หมายเลขบันทึก: 28596เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

...... เหนื่อยค่ะ ยอมรับว่าเหนื่อย ทั้งกายและใจ ในบางที แต่ผลพลอยได้จากการเข้าชุมชนในครั้งนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจต่างๆ 

...... แต่ช่วง 2 ถึง 3 อาทิตย์ ที่ผ่านมาในระหว่างรอเก็บข้อมูล ได้ลงพื้นที่ ซึ่งก็ลงอยู่เกือบทุกวันอยู่แล้ว อยู่นานบ้าง แป๊บเดียวบ้าง แล้วแต่โอกาส .. และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้เข้าไปในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล และได้ไปนั่งเพลินๆ อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์คนเดียว เหม่อมองไปอีกฝั่งนึง มองไปเรื่อยๆ ของลำคลองที่ดูสะอาดแม้จะไม่ค่อยใสในบางที่ .. นั่งดูวิถีชีวิตของคนริมน้ำ ถ่ายรูปเก็บไว้ดูเล่นบ้าง .. เห็นเด็กๆ กระโดดน้ำเล่นอย่างสนุกสนาน เห็นกลุ่มขี้เมานั่งก๊งเหล้าอยู่ริมเขื่อน เห็นเรือขายก๋วยเตี๋ยวขายดิบขายดี และล้างชามก๋วยเตี๋ยวในลำคลอง เห็นชาวบ้านที่ยังสัญจรไป-มา ด้วยเรือ เห็นนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติมาล่องเรือชมสวน ได้เห็นคนรวยอยู่บ้านตึก ถึงคนจนมีเพียงแค่เพิงหมาแหงนคุ้มหัว .. ทั้งที่ก็ทำอยู่บ่อยครั้งที่ลงไปในชุมชน และแวะไปนั่งที่นี่ ที่โน่น ..  จะนั่งนึกถึงหลายๆ เรื่อง แต่ส่วนใหญ่ก็จะสบายใจกลับไป .. แต่มาครั้งนี้กำลังคิดว่าเกิดปัญหาใหญ่กับตัวเอง .. ได้เข้าชุมชนนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว นี่ก็นานหลายเดือนแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ทำไมกลับคิดว่าตัวเองยังไม่รู้จักชุมชนนี้เลยค่ะ .. เอ๊ะ หรือไฟในตัวกำลังมอด มันกำลังเข้าสู่โค้งสุดท้ายแล้วเชียวนา  .............

...... เหนื่อยค่ะ ยอมรับว่าเหนื่อย ทั้งกายและใจ ในบางที แต่ผลพลอยได้จากการเข้าชุมชนในครั้งนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจต่างๆ 

...... แต่ช่วง 2 ถึง 3 อาทิตย์ ที่ผ่านมาในระหว่างรอเก็บข้อมูล ได้ลงพื้นที่ ซึ่งก็ลงอยู่เกือบทุกวันอยู่แล้ว อยู่นานบ้าง แป๊บเดียวบ้าง แล้วแต่โอกาส .. และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้เข้าไปในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล และได้ไปนั่งเพลินๆ อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์คนเดียว เหม่อมองไปอีกฝั่งนึง มองไปเรื่อยๆ ของลำคลองที่ดูสะอาดแม้จะไม่ค่อยใสในบางที่ .. นั่งดูวิถีชีวิตของคนริมน้ำ ถ่ายรูปเก็บไว้ดูเล่นบ้าง .. เห็นเด็กๆ กระโดดน้ำเล่นอย่างสนุกสนาน เห็นกลุ่มขี้เมานั่งก๊งเหล้าอยู่ริมเขื่อน เห็นเรือขายก๋วยเตี๋ยวขายดิบขายดี และล้างชามก๋วยเตี๋ยวในลำคลอง เห็นชาวบ้านที่ยังสัญจรไป-มา ด้วยเรือ เห็นนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติมาล่องเรือชมสวน ได้เห็นคนรวยอยู่บ้านตึก ถึงคนจนมีเพียงแค่เพิงหมาแหงนคุ้มหัว .. ทั้งที่ก็ทำอยู่บ่อยครั้งที่ลงไปในชุมชน และแวะไปนั่งที่นี่ ที่โน่น ..  จะนั่งนึกถึงหลายๆ เรื่อง แต่ส่วนใหญ่ก็จะสบายใจกลับไป .. แต่มาครั้งนี้กำลังคิดว่าเกิดปัญหาใหญ่กับตัวเอง .. ได้เข้าชุมชนนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว นี่ก็นานหลายเดือนแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ทำไมกลับคิดว่าตัวเองยังไม่รู้จักชุมชนนี้เลยค่ะ .. เอ๊ะ หรือไฟในตัวกำลังมอด มันกำลังเข้าสู่โค้งสุดท้ายแล้วเชียวนา  .............

ขอบคุณมากน่ะค่ะที่อาจารย์ให้เกียรตินำงานของหนูมาเขียนเล่าให้คนอื่นๆ ได้อ่านกัน ดีใจจัง  (คนทำยังเขียนไม่ได้ขนาดนี้เลย)
วิรัตน์ คำศรีจันทร์

       คิดว่าใครที่ไหนเข้ามาในชุมชนนี้  ที่แท้ก็เป็นเจ้าสองสหายนี่เอง  พอดีเลย  มีผลการศึกษา  อยากเล่าสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์  โดยเฉพาะของเหมียว.....

       เมื่อวานพี่นั่งอ่าน  วิเคราะห์ และเรียบเรียง งานวิเคราะห์ศักยภาพสื่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่  ที่พวกเรา  รวมทั้งเหมียวกับอัญ ร่วมเป็นทีมผู้ช่วยด้วย คิดว่าคงจำได้นะ...หลังจากกระบวนการต่างๆแล้ว  ทางทีมวิจัยก็ไปจัดเวที  ตั้งประเด็นเสวนา  ถอดบทเรียน  อภิปราย  เพื่อจะสะท้อนไปสู่การกลับไปทำเรื่องต่างๆที่ตนเองทำให้ดีขึ้น  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  หลังจากนั้นเหมียวกับอัญก็ไปถอดเทปและเรียบเรียงเบื้องต้นให้น่ะ 

       ในนั้น  มีการวิเคราะห์เรื่องวิธีศึกษาวิจัยสื่อ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้การทำสื่อ เป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์อย่างบูรณาการ  ซึ่งสอดคล้องกับงานของเหมียวมาก  การวัดผลและการวิเคราะห์  เขาแนะนำให้มุ่งไปที่ชิ้นงานที่เด็กเรียนรู้จากกระบวนการทำสื่อ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก  ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่เรียนรู้จากสื่อที่เด็กทดลองนำสื่อไปใช้นั้น  เป็นผลสืบเนื่องของกระบวนการ  ดังนั้นกลุ่มประชากรการวิจัย  ได้แก่กลุ่มเด็กที่ร่วมอยู่ในกระบวนการทำสื่อ ใช้สื่อ และสรุปบทเรียนจากการทำสื่อ

       ผู้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะไว้ ก็คือท่านอาจารย์ศริพงษ์นั่นเอง  อาทิตย์หน้าลองแวะเข้าไปที่สถาบันนะ แล้วพี่จะปริ้นให้ น่าจะใช้เป็นฐานการอภิปรายผลการวิจัย

       พี่ว่างานของเหมียวและของอัญ ทำได้ดีแล้ว  ออกจะเหนื่อยยากหน่อย  ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติอะไรหรอก พวกที่ทำวิทยานิพนธ์ในช่วงนี้  มีอาจารย์คุ้มดีคุ้มร้าย  ผะอืดผะอม อย่างนี้แหละ

        

แวะเข้ามาดูอีกที  ตรงย่อหน้าสุดท้าย  อาการคุ้มดีคุ้มร้ายนะ  ไม่ใช่อาจารย์ คงจะพิมพ์ผิด

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ ที่มีอะไรดีๆ มาแนะนำให้ลูกศิษย์คนนี้อยู่เรื่อยๆ

ช่วงนี้อยู่ในช่วง "กระดาก" ค่ะ หายกระดากเมื่อไหร่ จะแวะเข้าไปนะค่ะ

เข้าใจค่ะ ว่าตรงย่อหน้าสุดท้าย หมายถึง อาการของคนทำวิทยานิพนธ์ค่ะ ถ้าเป็นอาการของอาจารย์ แล้ว ลูกศิษย์จะเหลือเหรอค่ะ ^^"

 

ปล. ฝากถึงอาจารย์ ว่าอยากให้อาจารย์พักผ่อนบ้างนะค่ะ อย่าหักโหมทำงานหนักจนเกินไป เดี๋ยวจะไม่สบายอีกค่ะ

รักและศรัทธา

 

ได้มีโอกาสแวะเวียนเข้ามาทักทายงานเขียนของพี่ชาย หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน ไม่มีเวลาได้เงยหน้ามองผืนน้ำแผ่นฟ้าเลย แต่ถึงกระนั้น แนวความคิดเรื่องของการการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาผนวกกับวิถีชุมชน เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างศาสตร์สมัยใหม่กับวิถีไทยพื้นบ้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ยังคงเป็นแนวคิดที่จุดประกายให้นึกถึงวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ  อยากจะบอกว่า "เรียนดุษฎีบัณฑิตนี่หนักดีนะ"  แล้วจะแวะมาบ่อย ๆ นะ  รักษาสุขภาพตัวเองบ้างนะ จะได้มีแรงเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้เด็ก ๆ รุ่นหลังต่อไป แล้วจะเขียนมาขอคำปรึกษาเรื่องวิทยานิพนธ์บ้างค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท