“ปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง”


ประเด็นที่มุ่งหวังในครั้งนี้คือ การวางแผนการดำเนินงานในปี 2553 โดยประเมินจากจุดอ่อนของปี 2552

วันที่  23   กรกฎาคม 2552   ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่  13 (บ้านชัฏปลาไหล) ตำบลกะบกเตี้ย

วันที่  24   กรกฎาคม 2552   ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่    6 (บ้านน้ำพุ) ตำบลสะพานหิน

วันที่  27   กรกฎาคม 2552   ณ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 2 (บ้านหนองกระเบียน) ตำบลวังหมัน

วันที่  29   กรกฎาคม 2552   ณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลไพรนกยูง

ประเด็นที่มุ่งหวังในครั้งนี้คือ การวางแผนการดำเนินงานในปี 2553  โดยประเมินจากจุดอ่อนของปี 2552   โดยชี้แจงให้สมาชิกทุกคนได้เข้าใจว่า การดำเนินงานทุกอย่างย่อมมีจุดแข็ง และจุดอ่อน คือสิงที่เราต้องการให้เป็นได้ดังใจมุ่งหวังนั่นเอง  แต่คงไม่ต้องมาวิจารณ์หาว่าใครผิดใครถูก หรือหาคำตอบว่าทำไมคนนั้นได้สิ่งนั้น หรือคนนี้ทำไมถึงไม่ได้สิ่งนั้น เพราะการเสวนานั้นคงไม่จบอย่างแน่นอน แต่มาช่วยกันคิดที่จะช่วยให้การดำเนินงานในปี 2553 มีความสมบูรณ์มากที่สุด แต่ก่อนที่จะทำการประเมินได้รับการสนับสนุนวิทยากรฝีมือดีจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชัยนาท คือ คุณพี่ธวัช  หม้อเหล็ก  นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ ได้มาสร้างองค์ความรู้การบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์ พร้อมด้วยนิทานที่สอดคล้องกับวิชาการที่หนักสมองและเข้าใจยาก ให้เกิดความสนุกสนานและเข้าใจในวิชาการได้ง่าย

หลักการบริหารงานสหกรณ์ 7 ประการ ประกอบด้วย

1. หลักการเปิดรับสมาชิกทั่วไปตามความสมัครใจ

2. หลักการดำเนินกิจการตามหลักประชาธิปไตยโดยมวลสมาชิก

3. หลักการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก

4. หลักการปกครองตนเองด้วยความเป็นอิสระและเป็นกลาง

5. หลักการให้การศึกษา ฝึกอบรม และข้อมูลข่าวสาร

6. หลักการความร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์

7. หลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน

การบริหารงานสหกรณ์แนวใหม่ สรุปประเด็นสำคัญดังนี้  พัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง  คล่องตัว  มีประสิทธิภาพ  สามารถสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิกได้ทุกระดับ การสร้างความหลากหลายในการบริหารทั้งในเรื่องการงาน  การเงิน  และธุรกิจอื่น ๆ  สร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นด้านการออมเงิน  การกู้เงิน  และด้านอื่น ๆ  ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกับสหกรณ์หรือกลุ่มอื่น ๆ 

อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดส่งวิทยากรคือนางสาวมิตทิรา  บรรทัด  แนะนำเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน คราวนี้เกษตรกรคงจะไม่หลงทิศทางและประหยัด เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อไป

หลังจากทุกคนได้นั่งฟังวิชาการต่างๆ ได้นั่งพักรับประทานอาหาร เพื่อการย่อยอาหารและจะได้ไม่นั่งหลับจึงถึงคราวระดมแนวคิดพัฒนาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง  หลายคนหลายแนวคิด   ถ้าท่านใดไม่ยอมเสนอความคิดก็กระตุ้นด้วยคำถามที่โดนใจ  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เขียนได้สังเกตและเคยสอบถามนอกรอบแล้วเวลาพักรับประทานกาแฟ หรือพักรับประทานอาหาร สรุปประเด็นต่างในภาพรวม  ดังนี้

กิจกรรม

จุดอ่อน

ข้อเสนอแนะ

1. คัดเลือกเกษตรกร

-

- ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบและเข้าใจ

- รับสมัครผู้สนใจ และคัดเลือกผู้เหมาะสม

- เกษตรกรควรมีพื้นที่ใกล้กันเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกแก่การบริหารจัดการในกิจกรรมต่างๆ

2. อบรมก่อนดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

น้อยไป

- ระยะเวลา 2 วัน

- อบรมต่างจังหวัดป้องกันหนีกลับบ้าน(พิษณุโลก)

3. พันธุ์มันสำปะหลัง

- ไม่ตรงตามความต้องการ(หันคา และเนินขาม)

- จัดส่งไม่ตรงตามต้องการ

- กิ่งพันธ์ไม่สมบูรณ์

- ใช้พันธ์ที่มีในพื้นที่

- รัฐสนับสนุนพันธุ์ที่ไม่มีในพื้นที่(ตามความต้องการของเกษตรกร)

- เกษตรกรบริหารจัดการ ในการเข้ารับกิ่งพันธุ์

- รัฐสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาท่อนพันธุ์ ดี(เกษตรกร อ. หันคา 21 %)

4. การเตรียมดิน

- ระเบิดดินดาน

- การประสานงาน

- ไม่ตรงตามต้องการ

- แปลงที่ได้รับมีน้อย

- เครื่องมือมีจำกัด

- ระบุวันดำเนินการให้ชัดเจนเมื่อเริ่มโครงการ และแจ้งเกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อม

- ทุกรายๆ ละ 5 ไร่

- จัดหาเครื่องมือเสริม

- ปัจจัยปรับปรุงบำรุงดิน

- ขาดการวิเคราะห์ดิน

- จัดหาชุดตรวจวิเคราะห์ดิน

- เครื่องหาพิกัดพื้นที่เพื่อบ่งชี้หาค่าชุดดินในโปรแกรมดินไทย

- ใช้ปุ๋ยสั่งตัดตามค่าวิเคราะห์ดิน

            ปุ๋ยหมัก

ได้เฉพาะราย

ตั้งกลุ่มกองทุนผลิตปุ๋ยหมัก รัฐสนับสนุน

-          มูลสัตว์                                        500   กก.

-          กากอ้อย(ขี้เค้ก)                            500  กก.

-          แกลบดิบ(แกลบขี้ไก่ยิ่งดี)         1,000   กก.

-          รำละเอียด                                    150   กก.

              ปุ๋ยพืชสด

ไม่มี

สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า หรือปอเทือง รายละ 3-5 ไร่

5. สระน้ำ

มีน้อย

- แบบและขนาดสระไม่ถูกใจ

(ต่อยอด) จัดทำระบบน้ำหยด

แบบสระควรจัดทำคันสระที่เหมาะสม และควรจ้างเหมาขุดเป็นปริมาณของดินที่ขุดขึ้นมา จะได้ความลึกที่ตรงตามความต้องการของเกษตรกร  อีกทั้งบางครั้งไม่เปลืองพื้นที่ ความลึกที่เหมาะสม 5-6 เมตร

-จำนวน 5 สระ/กลุ่ม

6. แปลงสาธิต

มีน้อย

ทุกคนทำแปลงทดสอบพันธุ์ 3 พันธุ์ (รัฐสนับสนุนพันธุ์ที่ไม่มีในพื้นที่)

7. โรค-แมลงศัตรูพืช

ไม่มีการดำเนินการ

-          จัดหาชุดผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย

-          จัดทำแปลงพิสูจน์ทราบ

-          ถ่ายทอดความรู้การทำงานเป็นทีม

8. การจัดเวทีเสวนา

-

- ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร

- สนับสนุนค่าเดินทางรายละ 100 บาท/วัน

9. การศึกษาดูงาน

เวลาน้อย

-          3 วัน  2 คืน

-          ศึกษาดูงานเขตจังหวัดระยอง

10. เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

ไม่มี

การทำมันเส้นสะอาด(กลุ่ม อ.หันคา)

-          ลานตาก พื้นที่ 5 ไร่

-          เครื่องชั่งขนาดใหญ่

-          รางล้างหัวมัน

-          ระบบน้ำ

-          รถตัก

-          การตลาด

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #casava#มันสำปะหลัง
หมายเลขบันทึก: 285155เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท