เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน


โครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ดี

การเสวนาในแต่ละครั้งนั้น สร้างความรำบากใจแก่ผู้จัดเป็นอันมาก ไม่เหมือนกับการถ่ายทอดความรู้  ที่สามารถเตรียมเอกสารวิชาการต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และจากประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวมาจากแห่งต่างๆ ที่ผ่านพบมา  โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม 2552  จะต้องจัดติดต่อกัน เนื่องจากต้องเร่งรีบใช้งบประมาณตามนโยบายรัฐบาลนั่นเอง

วันที่ 14    กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่  13 (บ้านชัฏปลาไหล) ตำบลกะบกเตี้ย

วันที่ 15   กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่  6 (บ้านน้ำพุ) ตำบลสะพานหิน

วันที่ 16   กรกฎาคม 2552 ณ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 2 (บ้านหนองกระเบียน) ตำบลวังหมัน

วันที่ 17   กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลไพรนกยูง

ประเด็นของแต่ละกลุ่ม ได้ตั้งประเด็น การปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน โดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน ศูนย์บริหารศัตรูพืชชัยนาท และสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท เข้าร่วม

การเสวนาดำเนินการด้วยดี  จะขอกล่าวในภาพรวมของทุกกลุ่มซึ่งดำเนินการในแนวทางเดียวกัน  โดยเริ่มตั้งแต่การลงแปลงสาธิตสำรวจสภาพการเจริญเติบโต และรับปัญหาที่พบของการปลูกมันสำปะหลัง โดยสอบถามเกษตรกรเจ้าของแปลงนั้นๆ  เป็นการเปิดประเด็นคำถาม และความต้องการหาเหตุและผลของเกษตรกร  เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนต่อไป

1.     แปลงที่ได้รับการระเบิดดินดาน  มันสำปะหลังจะไม่แสดงอาการเหี่ยวเมื่อฝนทิ้งช่วง น้ำจะซึมลงสู่ใต้ดินเร็วกว่า ลดปัญหาการชะล้างหน้าดิน  แต่เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกับแปลงไม่ได้ระเบิดดินดานไม่พบ เนื่องจากการกระจายตัวของน้ำฝนสม่ำเสมอ

2.        แปลงใช้ปุ๋ยอินทรีย์  สภาพดินดี  การเจริญเติบโตดี ใบมันสำปะหลังใหญ่ และหนากว่าแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์

3.     สระน้ำ  ในพื้นที่ของตำบลกะบกเตี้ยกล่าวว่าตื้นเกกินไป และขอบสระนั้นมีลักษณะลาดชันตั้งแต่ปากสระลงไป ส่งผลให้เกิดการชะล้างสูง และเข้าไปปฏิบัติงานยาก คราวหน้าขอให้ลึกกว่านี้ โดยออกแบบตามใจเกษตรกร หรือจ้างเหมาขุดเป็นปริมาณของดินที่ขุดขึ้นมา จะได้ความลึกที่ตรงตามความต้องการของเกษตรกร  อีกทั้งบางครั้งไม่เปลืองพื้นที่ด้วยนะ เพราะเพิ่มปริมาณน้ำจากการเพิ่มความลึกครับผม

4.       เพลี้ยแป้งรบกวนมาก ทำให้การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังปีนี้ไม่ดีเท่าที่ควร

จากปัญหาที่พบนำเข้าสู่การเรียนรู้ร่วมกัน โดยเริ่มจากการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้มันสำปะหลังแข็งแรง ยกเวทีให้กับพี่ไพศาล มงคลหัตถี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ  ในพื้นที่อำเภอหันคา และเนินขาม นายสายชล  ปิ่นนาค นักวิชาการเกษตร  ในพื้นที่ วัดสิงห์ และเนินขาม  ประเด็นสำคัญคือการปรับปรุงดินและการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่จะใช้นั้นยิ่งใช้มากเท่าไร่ยิ่งดี เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฯลฯ หรือถ้าจะให้ดีอาจใช้ปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า ฯลฯ มาหว่านลงในไร่ทันทีหลังจากมีฝนแรกตกลงมาแล้วปล่อยให้พืชที่จะใช้เป็นปุ๋ยพืชสดโตตามธรรมชาตินานประมาณ 40-50 วัน จึงไถกลบทิ้งไว้สัก 1-2 อาทิตย์ เพื่อให้ต้นถั่วเน่าสลายแล้ว ด้วยเกษตรกรจะปลูกมันสำปะหลัง หลังฝนตกไม่สามารถปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกมันสำปะหลังได้จึงแนะนำ ปลูกพืชตระกูลถั่วเช่นถั่วพุ่ม ถั่วพร้า หรือปอเทือยงเป็น ในลักษณะปลูกพืชแซม หลังจากปลูกมันสำปะหลังได้ 15 วัน ให้ทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า โรยเป็นแถวแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลัง เพื่อป้องกันวัชพืช เมื่อพืชปุ๋ยสดมีอายุ 50 วัน ให้ทำการตัดแล้วนำมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

ในส่วนของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน  เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริหารศัตรูพืชชัยนาทไม่ว่างผู้เขียนจึงต้องดำเนินการเอง  ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ในระยะนี้คือ เพลี้ยแป้งที่สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรอย่างมาก  ความรู้ลักษณะทั่วไปของเพลี้ยแป้งนั้นเกษตรกรมีความเข้าใจพอสมควรคือ เพลี้ยแป้งลาย เป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจนยอดมันเหี่ยวม้วนงอ ใบบิดเบี้ยว ยอดแห้งตาย หรือยอดแตกพุ่ม และต้นไม่เจริญเติบโต ตัวเต็มวัยมีแป้งปกคลุมมาก ดื้อต่อสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่น   และอาจมีผลกระทบต่อการสร้างหัวหากพืชยังเล็ก การแพร่ระบาดเพลี้ยแป้งจะแพร่กระจายตามลำต้น ซอกใบ ใต้ใบมันสำปะหลัง ปริมาณจะเพิ่มขึ้นจนเต็มต้น จะแพร่กระจายมากหากสภาพอากาศแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน  การติดต่อจะแพร่กระจายไปกับท่อนพันธุ์หรือกระแสลม 

การป้องกันกำจัดแนะนำให้เกษตรกรเฝ้าระวัง ตรวจสอบถ้าพบให้เร่งทำลาย และอย่านำต้นพันธุ์ในแปลงที่พบการทำลายของเพลี้ยแป้ง   ถ้าพบการระบาดแนะนำให้ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย หรือ เชื้อราขาว สำหรับการกำจัดเพลี้ยแป้งที่ถูกวิธีและปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้สารเคมีนั้น การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย หรือเชื้อราขาว ฉีดพ่นถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด  การผสมเชื้อราขาวเพื่อการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยแป้งจะใช้เชื้อราขาวในอัตรา 1 กก.ต่อ นำ 20 ลิตร ผสม และนำไปฉีดพ่นต้นมันสำปะหลังโดยการฉีดพ่นจะต้องฉีดพ่นบริเวณใต้ใบของมันสำปะหลัง และฉีดพ่นในช่วงเย็นจะได้ผลดีที่สุด โดยใช้ระยะเวลาพ่นเชื้อราขาว 4 วันครั้ง จนครบ3 ครั้ง อย่างไรก็ตามเกษตรกรก่อนที่จะปลูกมันสำปะหลังควรมีการนำเชื้อราขาวใน อัตราส่วน 1 ต่อ น้ำ 1 ส่วน ผสมกันและนำท่อนมันสำปะหลังลงไปแช่ในน้ำที่ผสมเชื้อราขาวเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งที่อาจจะฟักตัวอยู่ในท่อนมันที่จะนำมาปลูก โดยเพลี้ยแป้งนั้นจะมีมดเป็นพาหะนำแมลง ส่วนไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรที่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งควรทำการตัดยอดของต้นมันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยแป้งระบาดทิ้งและนำออกมาเผานอกพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

 จากการระดมความคิดเปรียบเทียบการใช้สารเคมี และเชื้อราบิวเวอร์เรีย ผลดังนี้

สารเคมี

เชื้อราบิวเวอร์เรีย

ข้อดี

ข้อเสีย

ข้อดี

ข้อเสีย

ทันใจ

หาใช้ง่าย

ได้ผลแน่นอน(ตาย)

ใช้ปริมาณน้อย

สร้างความร่ำรวยให้กับผู้ขาย

เก็บไว้ใช้ได้นาน

เสียเงินมาก

อาจเจอยาปลอม

ทำลายสภาพแวดล้อม

แมลงดีก็ตาย

เกษตรกรรับผิดด้วย และอาจจนได้

เมื่อหมดฤทธิ์ยาแมลงกลับมาระบาดอีก

ต้องให้ถูกตัวถึงจะตาย จึงต้องผสมยาดูดซึมอีกตัว

ปลอดภัยต่อชุมชน

ผลิตใช้เองได้ในชุมชน

ราคาถูก

ไม่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง

เสียแรงงานทำ

อายุเก็บรักษาสั้น

ขาดอุปกรณ์ผลิต

ประเมิน เต็ม 10

4.5  คะแนน

8  คะแนน

 

จากการประเมิน 10 คะแนน  ประเมินสารเคมี  4.5 คะแนน และสนับสนุนการใช้ 8 คะแนน แต่ควรจัดทำแปลงพิสูจน์ทราบ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย  อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 285151เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท