เคยทำ PAR เรื่องเบาหวานไว้


ต้องลองจึงรู้

ในตอนแรกเขียน รายงานวิจัยแบบทั่วไปออกแนวเชิงปริมาณ 

ตีพิมพ์วารสารการวิจัยระบบสาธารณสุข

ชื่อเรื่องคือ

การแก้ไขปัญหาผู้ป่วยเบาหวานโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน

ทำเมื่อปี 2550-2551 ได้ทุนจาก สปสช. เขตขอนแก่น

ในตอนสอง จะเขียนแนวใหม่ คือเน้นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ชื่อเรื่องตั้งไว้แล้ว

 จักรวาลวิิิิทยา  ของผู้ป่วยเบาหวาน

ปัญหาก็คือ การก้าวข้ามจากนักวิจัยเชิงปริมาณ

ไปสู่ เชิงคุณภาพ  ทำอย่างไรงาน

จึงไ้ด้กรอบแนวคิดใหม่ๆ มาอีกครับ โดยต้องแสดงให้เห็น

ว่า ได้เข้าถึงมุมมองคนใน

และใช้่กรอบแนวคิดใหม่ๆ ในการเข้าใจผู้ป่วย เพื่อที่จะได้ แนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา

หมายเลขบันทึก: 282460เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะรอชื่นชมผลงานนะคะ

ประสิทธิผลของโปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร

บทนำ

ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเสียชีวิต โดยมีความเสี่ยงจะเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 14 เท่า ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวาน ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในภาคชนบท หรือผู้ที่มีฐานะยากจน มีโอกาสน้อยในการเข้าถึงการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตผ่านช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายอวัยวะ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องงบประมาณและพึ่งมีโครงการนำร่องในการดูแลผูป่วยไตวายในปี พ.ศ. 2551 เท่านั้น ในการดูแลผู้ป่วยไตวายที่เป็นเบาหวานนั้น จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และใช้ยากลุ่มลดความดันโลหิตเพื่อชลอไตเสื่อม อย่างเหมาะสมเพื่อชลอภาวะไตวาย และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เภสัชกรถือว่ามีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง

จากการศึกษาที่ผ่านมา หลายการศึกษาพบว่าเภสัชกร สามารถให้การบริบาลผู้ป่วยจนส่งผลทำให้ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้นได้อย่างชัดเจน , , ในอดีตเภสัชกรจะมีบทบาทที่เน้นด้านยา ซึ่งได้แก่ การจัดยา การจ่ายยา และการเตรียมยาเท่านั้น แต่ปัจจุบันบทบาทของเภสัชกรจะเน้น การบริบาลผู้ป่วย โดยเฉพาะการจัดการปัญหาที่สืบเนื่องมาจากยา ซึ่งอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า การบริบาลทางเภสัชกรรม แต่อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย บทบาทของเภสัชกรในการบริบาลผู้ป่วย ยังไม่ชัดเจนมากนัก กิจกรรมส่วนใหญ่ยังเน้นกิจกรรมด้านยาเป็นหลัก สำหรับในต่างประเทศ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า เภสัชกร มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวาย โดยอาจสามารถ ลดอัตราการเสียชีวิต และ อัตราการเกิดไตวายระยะสุดท้ายได้อย่างชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาชิ้นนี้ ไม่ได้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง และที่สำคัญ กระบวนการในการศึกษาเป็น สร้างระบบคลินิกพิเศษ ซึ่งแพทย์ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เนื่องจากแพทย์กับเภสัชกรทำงานอยู่ภาควิชาเดียวกัน

โดยในการศึกษา นั้นแสดงให้เห็นว่า คลินิกพิเศษ ที่เภสัชกรมีส่วนร่วมทีมด้วยนั้น จะสามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการใช้ยาชลอไตเสื่อม เป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวคิดของ Disease management program นั้นเอง โดยเภสัชกรจะมีการค้นหาปัญหาที่สืบเนื่องจากยา และ สนับสนุนให้คนไข้มีความร่วมมือในการใช้ยามากขึ้น เภสัชกรต้องมีเวลาพูดคุยกับผู้ป่วย ทุก 4 เดือน และมีการติดตาม ผลทางห้องปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยไตวายมีอัตราการเสียชวิตต่ำกว่ากลุ่มที่ดูแลในระบบปกติถึงร้อยละ 78 และ มีผู้ป่วย ที่เกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมถึงร้อยละ 43 หลังติดตามผู้ป่วยนาน 2 ปี

ในจังหวัดขอนแก่น พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานมากเป็นอันดับสองของประเทศไทย โดยผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนหนึ่งมีสาเหตุมากจากภาวะไตวายเรื้อรัง ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ ต้องการพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยเภสัชกร แต่เนื่องจากข้อจำกัด ด้านงบประมาณ และ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายเรื้อรัง ในอำเภออุบลรัตน์มีจำนวนจำกัด จึงจำเป็น ต้องใช้ตัวชี้วัดอื่น ที่ไม่ใช่อัตราการตาย หรืออัตราการเกิดไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องใช้ผู้ป่วยไตวายเข้าร่วมการศึกษากว่า 160 คน และใช้การติดตามผู้ป่วยนานถึง 2 ปี ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายโดยเภสัชกร ที่สามารถชลอ การเพิ่มของระดับซีรั่มครีเอตินินเป็นวัตถุประสงค์หลัก ในส่วนการควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว น้ำหนักตัว และการเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายเป็นวัตถุประสงค์รอง

ลองดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท