ชีวิตคืออะไร


หลักชัยของชีวิต

ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเวทีสมัชชาชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 20 ต.ค.2549  สโมสรราชพฤกษ์

ผู้เข้าประชุมจาก 23 อำเภอ 800 คน

ในหัวข้อ“จะแสวงหาความสุขได้อย่างไรในผู้สูงอายุ

แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมาถึงสามปีแล้วแต่เนื้อหาสาระที่ได้เคยบรรยายและบันทึกเก็บไว้ควรแก่การนำมาเผยแพร่ในยุคปัจจุบันนี้ที่สังคมเต็มไปด้วยปัญหามากมายหลายเรื่อง จนบางครั้งลืมคิดไปว่าชีวิตคนเราเกิดมาเพื่ออะไร ต่อสู้เอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย สุดท้ายได้อะไร สังคม ประเทศได้อะไร เพื่อเป็นข้อคิดแก่ผู้สนใจ

 ชีวิตคืออะไร         องค์ประกอบของชีวิต      ชีวิตเป็นสุขได้อย่างไร?

ชีวิตคืออะไร     ในทางโลก     - ดำรงอยู่  มีลมหายใจ

                     ในทางธรรม  - สดชื่น ความดีงาม  หลุดพ้น  -   นิพพาน (ไม่ตาย)

องค์ประกอบของชีวิต

1.กาย   -  เลือด  เนื้อ  อวัยวะ

2.จิต     - ความรู้สึก การรับรู้

3.สังคม-  สิ่งแวดล้อม

4.จิตวิญญาณ-การรับรู้ทางปัญญาความถูกต้อง ดีงาม

 ต้องศึกษาตัวตนให้เข้าใจ

ทางโลกตัวกู  ของกู อุปาทาน  ตัณหา เวทนา ผัสสะ   

 -ตัวตนที่ตายแล้ว  มีกิเลส  เป็นทุกข์

 ทางธรรม  - บรมอัตตา    ตัวตนที่ไม่รู้สึกตาย  และเป็นชีวิตที่นิรันทร์

 หลักชัยของชีวิต

1.วิชา   รู้หลัก  รู้รอบอันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว

                                  แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

                                  อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์

                                  ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี

2.วินัย  ความดี มีระบบ ระเบียบคนจะดีเพราะมีวินัย คนจะร้ายเพราะวินัยไม่มี

3.วิสัย   ความเป็นไปที่ถูกต้อง เช่นการใช้  พระเดช   พระคุณ

             เป็นอะไรเป็นให้เป็น  เป็นให้ถูก

             โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก  โง่มากๆก็ยากจะเป็นใหญ่

4.วิสุทธิ์  สะอาด  สุจริต ยุติธรรม

              ฝ่ามือถ้าไม่มีบาดแผล   แม้จะกำยาพิษก็ปลอดภัย

5.วิธี  ศิลปะ  ความสามารถในการเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน

           ความสุข  ความสำเร็จ เกิดจากเหตุประกอบหลายประการ

            ไม่ใช่เพราะ  -เทวดามาพลอยผสม

                                พระพรหมมาช่วยลิขิต

                                ญาติมิตรมาดลบันดาล

     แต่เป็นเรื่องของเสาะหาเกิดมาเป็น

                                     ต่อสู้       - นั่งดูดวง

                                     เชี่ยวชาญโชคช่วย

                                     ความสามารถ- วาสนา

                                    พรแสวงพรสวรรค์

ชีวิตเป็นสุขได้อย่างไร

1.คุณธรรม 10 ประการ

        1.1ทาน - สละ  วัตถุ  สิ่งของ กำลัง ความคิด

        1.2ศีล   - สุจริตกาย วาจา ใจ

        1.3 บริจาจจาคะเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน  เพื่อส่วนรวม

         1.4 อาชชวะความซื่อตรง

        1.5 มัททวะ  - ความสุภาพอ่อนโยน

         1.6 ตบะความเพียรพยายาม

         1.7 อักโกธะไม่โกรธแค้น  ชิงชัง

         1.8 อวิหิงสาไม่เบียดเบียน

          1.9 ขันติอดทน

         1.10 อวิโรธนะไม่ประพฤติ ปฏิบัติผิดไปจากทำนองคลองธรรม

2.คุณธรรมของผู้ให้

          2.1 ยิ้มให้เป็นมิตร

          2.2 ใจเย็นรอบคอบใคร่ครวญ

          2.3 เห็นชอบเห็นถูก เห็นควร

          2.4 ตอบรับไม่ปฏิเสธ กีดกัน กลั่นแกล้ง

          2.5  สนับสนุนทำดีมีประโยชน์

ชีวิตก้าวหน้าด้วย 5 สุข

1.ทำดีมีสุขละชั่ว ประพฤติดี กาย วาจา ใจ

2.มั่งมีศรีสุขขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตเหมาะสม

                       (ถ้าขาดความพอดี  จะเป็นหนี้ตลอดกาล)

3.สมบูรณ์พูนสุขไม่มีหนี้สิน พอกินพอใช้ ไร้โรคโศกภัย จิตใจเยือกเย็น

4.อยู่ดีมีสุขโอบอ้อมอารี   *เจ็บเยี่ยมไข้ ตายเยี่ยมผี มีช่วยเหลือ ไม่แล้งน้ำใจ

                    วจีไพเราะ     *พูดจาอ่อนหวาน พูดประสานสามัคคี  พูดมีสาระ

                     สงเคราะห์ทุกคน * การเสียสละ  เกื้อหนุนด้วยกรุณา ยังโลกาให้เป็นสุข

                     วางตนพอดี  * ไม่เป็นท้าวพระยาลืมก้น ต้นไม้ลืมดิน ปักษิณลืมไพร

5.อยู่เย็นป็นสุขรักกัน  * เมตตาธรรม

                          ช่วยเหลือกัน *กรุณาธรรม

                   ไม่ริษยากัน * มุติตาธรรม

                   ไม่ทำลายกัน * อุเบกขาธรรม

ความสุข

สามิสสุข  * ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาตอบสนองความต้องการของประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประการ

                   หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

*แสวงหาไม่รู้จบ หึงหวง ผูกพัน กลัวสูญเสีย

นิรามิสสุข  * ความสุขภายใน เกิจากใจที่สงบ สะอาด สว่าง

                    พอ  ไม่ดิ้นรน

สุขเกิดได้

1.ขอให้รู้จักสันโดษ  พอดี พอเพียง พอใจ ในสิ่งที่ตนเองมี

2.ขอให้รู้จักโทษของกิเลส  - โลภ   โกรธ หลง

3.ของให้รู้จักเหตุแห่งหายนะ  - อบายมุข ยาเสพติด

4.ขอให้มีพระทั้งสามในดวงใจพระศาสนา    พระบิดรมารดา  พระครูอาจารย์

เข้าใจกฎธรรมชาติ(ไตรลักษณ์)

      *ความไม่เที่ยง(อนิจจัง)

      *ความทุกข์(ทุกขัง)

      *ความไม่ใช่ตัวตน(อนัตตา)

เข้าใจกฎแห่งกรรม

       *ผู้ปฎิบัติย่อมรับผลของการปฎิบัติ

       *การกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมให้ผลของมัน

เข้าใจกฎของความเป็นเหตุผล

       *ทุกข์     - ปัญหา

       *สมุทัย  - เหตุของปัญหา

       *นิโรค    - เป้าหมายการแก้ปัญหา

        *มรรคทางแก้ปัญหา

หลักปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง

         *ทางสายกลาง

         *ความพอเพียงพอประมาณ  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี

นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ

2/08/2552

       

 

 

หมายเลขบันทึก: 282454เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากมุมมองของท่านว่า ทำไม นิพพาน(ไม่ตาย) คือความไม่ตาย

อาจมีบางสิ่งที่ผมมองข้ามไป รบกวนชี้แจงด้วยครับ

ผมเข้าใจว่า "นิพพาน" คือความตาย ความสิ้นไปของตัณหาทั้งปวง

ขอบคุณมากครับ

ความหมายของชีวิต จิง ๆ คือ การได้เรียนรู้ตัวเอง เราเกิดมาเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราเกิดมาทำไม นั่นแหละ คือคำถามที่ดีที่สุดของการหาคำตอบ เราต้องค้นพบตัวเองว่าเราเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อจมกับความทุกหรือเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุข ชีวิตไม่ใช่การต่อสู้ดิ้นรนแต่อย่างได เรานั่นแหละคือคำตอบของตัวเอง ถามใจว่าช่วงที่มีเวลาอยู่นั่นแหละจะทำอะไรให้ชีวิตเราบ้าง เมื่อไหร่ที่ค้นพบได้เมื่อนั่นแหละคือคำตอบในชีวิตของคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท