Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กฎหมายไทยยอมรับแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดตลาดเสรีหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?


แต่ขอให้สังเกต กฎหมายไทยก็มิได้ยอมรับให้มีการเปิดตลาดเสรีโดยไม่มีเงื่อนไข
       เมื่อมาตรา ๘๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ บัญญัติว่า “รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค”
        จึงไม่อาจโต้แย้งได้ว่า กฎหมายสูงสุดของประเทศไทยยอมรับ “ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด” หรือแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดตลาดเสรี
          แต่ขอให้สังเกต กฎหมายไทยก็มิได้ยอมรับให้มีการเปิดตลาดเสรีโดยไม่มีเงื่อนไข จะเห็นว่า กฎหมายฉบับนี้เองกลับกำหนดพันธกรณี ๕ ประการ แก่รัฐไทยในขณะดำเนินการเปิดตลาดเสรี กล่าวคือ (๑) กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม (๒) คุ้มครองผู้บริโภค (๓) ป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม (๔) ยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และ (๕) ไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน ทั้งนี้ เพราะการกระทำหรือการละเว้นกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการริดรอน “เสรีภาพในการประกอบการ” กล่าวคือ แนวคิดตลาดเสรี
          แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์อันเป็นข้อยกเว้น กฎหมายนี้ก็ให้อำนาจแก่รัฐไทยที่จะการกระทำหรือการละเว้นกระทำดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็น ซึ่งกฎหมายนี้ยอมรับให้มีได้ใน ๓ กรณี กล่าวคือ (๑) ความมั่นคงของรัฐ (๒) ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือ (๓) การจัดให้มีการสาธารณูปโภค
หมายเลขบันทึก: 28207เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นว่าตลาดเสรีโดยแท้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลยในสังคมไทย ซึ่งในที่นี้อาจรวมถึงประชาคมโลกด้วยเพราะแต่ละประเทศย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศตนเป็นหลักอยู่แล้ว ดังนั้นหากสามารถหาทางเอาเปรียบประเทศที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่าได้ประเทศ(มหาอำนาจ)ก็คงจะทำ จึงไม่อาจปฎิเสธได้เลยว่าถ้าไม่มีเงื่อนไขใดๆ เลยมาควบควบคุมนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม เช่น การกำกับดูเเลจากรัฐ เป็นต้น ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กย่อมเสียเปรียบโดยไม่มีข้อโต้แย้งเพราะประเทศมหาอำนาจย่อมอ้างหลักระบบกลไกตลาด  ดังนั้นเมื่อดูตามรัฐธรรมนูญแล้วอาจเรียกได้ว่าประเทศไทยใช้ระบบกลไกตลาดโดยจำกัดมากกว่าโดยเสรี....

    

เห็นด้วยกับดวงเด่นค่ะ

การเปิดตลาดเสรีย่อมเป็นไปได้ภายใต้ผลประโยชน์ที่ต่างตอบแทนกัน แต่ผลประโยชน์นั้นอาจมีลักษณะที่อาจไม่เห็นว่า ตกแก่เรื่องเดียวกัน การเปิดเสรีในตลาดการค้าเกษตรอาจทำให้พ่อค้าไทยเสียประโยชน์ แต่พ่อค้าอุตสาหกรรมอาจได้ประโยชน์

คนรวยอาจได้ประโยชน์ แต่คนจนอาจเสียประโยชน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท