ดาบสองคมของคนเก่ง (Talent )


คนที่เก่งควรอยู่ในขอบเขตของความพอดี อย่าทำตัวเด่นจนเกินไปจะเป็นภัยกับตนเสียเปล่า ๆ

                     

          จากบทความเรื่อง ดาบสองคมของคนเก่ง(Talent ) ของ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ สรุปความได้ว่า การเป็นคนเก่งแล้วสังคมก็ยอมรับว่าเก่ง(social role)อีกทั้งตัวเองก็รู้ว่าตัวเองเก่ง(self –image)เป็นเสมือนดาบสองคมสำหรับ talent เพราะสิ่งนี้จะสร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับ talent จนในบางครั้งอาจจะกระทำการใด ๆ ที่ขาดการพิจารณาอย่างถ้วนถี่ หรือหาเหตุของปัญหาอย่างจริงจัง ทำให้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจบนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่เคยทำสำเร็จมาซึ่งการกระทำนั้นอาจให้ผลต่างจากอดีตก็เป็นได้ เรื่องนี้คงเห็นได้ในหลาย ๆ องค์กร ที่ผู้บริหารมักจะมอบหมายงานสำคัญให้กับคนคนหนึ่งที่เคยทำงานให้ตนสำเร็จงานแล้วงานเล่า โดยลืมไปว่าเค้าคนนั้นมีขีดจำกัดของความสามารถเช่นเดียวกัน

             ส่วนคนที่รับเป็น talent นั้นก็ได้แต่ตั้งคำถามในใจว่าตนเป็นผู้วิเศษหรืออย่างไรที่จะทำได้ทุกอย่างที่ผู้บริหารมอบหมายมาหรือคิดว่างานนี้อยู่ในคำบรรยายลักษณะงาน(  job description )ข้อไหนของตน แต่ถ้าไปถามผู้บริหาร talent  ก็อาจหน้าแตกได้เพราะทุกเรื่องที่ผู้บริหารสั่งอยู่ในข้อสุดท้ายของคำบรรยายลักษณะงานเสมอ นั่นคือ รับผิดชอบงานที่หัวหน้างานมอบหมาย นอกจากนี้การกระทำของหัวหน้าที่มอบหมายงานแต่เฉพาะคนที่ตนเห็นว่าเป็น talent นั้นอาจทำให้เกิดการแตกสามัคคีในหมู่เพื่อนที่ทำงานด้วยกันกลายเป็นว่างานที่ควรจะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ กลับไม่มีคนอยากจะคิดอยากจะทำเนื่องจากตนรู้สึกด้อยกว่า talent การจัดการ talent จึงเป็นสิ่งที่น่าพึงระวังทั้งของคนที่ถูกยกย่องให้เป็น talent และคนที่ถูกคัดเลือก talent เพราะถ้าหากเลือกผิดพลาดก็เท่ากับส่งเสริมคนผิด แต่หากเลือกถูกก็มิใช่ว่าจะส่งผลดีต่อผู้เลือกและผู้ถูกเลือกเสมอไป ดังคำกล่าวที่ว่า “จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย”

                บทความนี้ดิฉันคิดว่า คนที่เก่ง คนที่มีความสามารถมักเป็นที่คาดหวังของหลาย ๆ คนเพราะฉะนั้นคนที่เก่งควรอยู่ในขอบเขตของความพอดี อย่าทำตัวเด่นจนเกินไปจะเป็นภัยกับตนเสียเปล่า ๆควรวางตนให้เหมาะสมมิฉะนั้นก็จะเหมือนดาบสองคมถ้าไม่รู้จักประมาณตน

 

 

 แหล่งที่มา  :   หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

หมายเลขบันทึก: 282023เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม ครับ

รู้ ไม่รู้ แก้ไข พัฒนา ต่อยอด ประมาท ประสบการณ์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เก่ง ไม่เก่ง หลายคนมี หลานคนไม่มี ทำให้คนแตกต่างกัน แต่สร้างได้ เปลี่ยนแปลงได้ ครับ

ทุกคนเขาอยากเห็นเราทำดี พอเราเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้

จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน

ทำดีแล้วก็จงทำต่อไปตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าคือ เดินสายกลาง

เห็นด้วยกับพี่แจ๋นค่ะ บทความดีอย่างนี้ต้องมีรางวัลค่ะ

แต่การมีพนักงานtalentสูงก็นับว่าเป็นเรื่องดีขององค์กรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท