คุณอำนวย ผู้"เจ๊าะแจ๊ะ..."


ลักษณะของคุณอำนวยต้องเป็นคน “เจ๊าะแจ๊ะ”
เจ๊าะแจ๊ะในที่นี่คือ คุยเก่งแบบ “คุยไปเรื่อย”


ซึ่งคุณอำนวยที่ลงไปทำงานจะต้องแบ่ง r2r ที่พบเป็น 2 แบบ คือแบบจัดสร้าง จัดทำ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแบบ “ผักชีโรยหน้า” ไว้แบบหนึ่ง อันนี้ต้องสนใจ เพราะคนที่เขาให้เราลงไปเขาอยากนำเสนอแบบนี้ เราก็ต้องสนใจฟังของเขา เมื่อฟังแล้ว รู้แล้ว ก็พยายามเจ๊าะแจ๊ะ หาต้นสาย ปลายเหตุ ว่าการเกิด r2r แบบผักชีโรยหน้านี้มันจะต้องมีที่มา และที่ไป คุณอำนวยจะต้องเจ๊าะแจ๊ะให้รู้ ให้เห็น ให้พบ ให้ครบองค์ประกอบ
เพราะว่าจะเกิด r2r แบบผักชีโรยหน้าขึ้นมาได้นั้นก็ย่อมจะต้องเกิด r2r แบบธรรมชาติขึ้นมาก่อน
ลองเจ๊าะแจ๊ะดูซิว่า เรื่องนี้มีจุดกำเนิดหรือ “ปิ๊ง” มาจากใคร ใครปิ๊ง ใครสาน ใครต่อ แล้วขุด แล้วคุ้ยเอารายละเอียออกมาให้ได้มากที่สุด เวทีในห้องหรือการจัด workshop ก็มีประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่ที่จะได้ประโยชน์มาก ๆ คือการตามลงไปเจ๊าะแจ๊ะ ณ หน้างาน

คุณอำนวยจะต้องมีเวลาและความสามารถในการเดินลงไปเจ๊าะแจ๊ะ
การจะเดินไปเจ๊าะแจ๊ะนี้จะต้องได้รับไฟเขียวจากหัวหน้า ผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจ ให้ “บัตรเบ่ง” แต่อย่าไปเบ่ง วาดมาด วางกล้ามนะ แค่ใช้เป็นใบเบิกทางให้เข้าห้องโน้น ออกห้องนี้ได้
เพราะเมื่อเจอจุดหนึ่งย่อมเชื่อมโยงไปหาอีกจุดหนึ่ง
เจอแล้วต้องรีบค้น รีบหา รีบจด รีบบันทึก

 

คุณอำนวยจะต้องทุ่มเทและมีเวลามากกว่าเวลาการทำงานในชั่วโมงปกติ
คือต้องคิด ต้องนึก ต้องจินตนาการ รอยต่อ จุดเชื่อมอยู่ตลอดเวลา
ต้องคิดอยู่เสมอว่าเรื่องนี้น่าจะมีสาเหตุ มีต้นเหตุมาจากใคร ต้องตั้งสมมติฐานอยู่เสมอ
แล้วเดินตามสมมติฐานนั้น
การจัด workshop ในห้องเป็นการจุดประกาย จุดหัวข้อ ส่วนรายละเอียดนั้นต้องเดินลงไปคลุก
เมื่อได้รายละเอียดในระดับหนึ่ง (หาให้ได้มากที่สุด) จากนั้นจึงกลับมาทำ workshop สรุปผล (ควรเป็นเวทีแบบไม่เป็นทางการ) คุยกันในวงน้ำชา กาแฟ ในโต๊ะอาหาร หรือในห้องทำงานแบบ “สบาย ๆ”

คุยกันไปเรื่อย ไปบ่อย ๆ (แล้วคุณอำนวยจะไปไหมนี่...?)
ถ้าจะให้สำเร็จต้องทำด้วยใจจริง สถานที่ทำงานต้องอยู่ใกล้ หรือผ่านไปผ่านมาต้องแวะ แวะไปคุย ไปสนทนา สานสร้างความสัมพันธ์ คนสนิทชิดเชื้อกัน ไว้ใจกันมีอะไรก็บอก
แต่ถ้าเราเป็นแค่วิทยากร จ้างไปบรรยาย หรือจัด workshop วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน เขาก็บอกแค่สิ่งที่เขา “จำเป็น” ต้องบอก เรื่องลึก ๆ เขาไม่บอกเรา หรือถ้าไม่แน่จริง ไม่เก่งจริง เราก็จะได้แค่ Explicit Knowledge มา เพราะบางคนทำเก่ง แต่พูดไม่เก่ง โดยเฉพาะการพูดในเวที “เกร็ง” ทำร้อย พูดได้แค่สิบ หรือบางครั้งพูดไปคนละทิศ คนละทาง
หรือบางคนเขาก็หวงความรู้เขา เพราะว่าเราเป็น “คนแปลกหน้า”
บางคนเขาก็ไม่ถูกกับผู้บริหาร ไม่ถูกกับหมอ ไม่ถูกกับพยาบาล ในหน่วยงานเขาก็ไม่ถูกกัน อันนี้เราเข้าไปไม่รู้ตื้นลึก หนา บาง คุณอำนวยต้องใช้วิชาการมากกว่าห้าร้อยเล่มเกวียน

 

เรื่องคุณสมบัติ หรืออุปนิสัยข้อนี้ ถ้าจะให้ถูกและประหยัดที่สุดในการฝึก การสร้างคนก็คือ ต้อง “หนีบ” กันไป
ต้องมีคนเจ๊าะแจ๊ะคนหนึ่ง แล้วหนีบผู้เรียน ผู้อยากเรียน นักเรียน หรือคุณอำนวยฝึกหัด หนีบไปด้วยกัน ค่อย ๆ ให้เขาซึมซาบ ให้นักเรียนได้เจอสถานการณ์จริง

 

ต้องฝึกกันแบบ “หนึ่งต่อหนึ่ง” ไปมากเดี๋ยวจะเอิกเริก
หนึ่งต่อหนึ่งนี้หมายถึง หนึ่งงาน หนึ่งคน
ครู ก อาจจะมีนักเรียนได้มากห้าถึงสิบคน แต่ทว่า การหนีบไปออกงาน ลงพื้นที่ ให้ไปได้สักคนหนึ่ง เต็มที่ก็สองคน หนีบ ๆ กันไปแบบนี้มีคุณค่ามากกว่าการฝึก workshop ในห้อง
เพราะสี่ตาย่อมดีกว่าสองตา

เมื่อกลับมาแล้วค่อยมา workshop กันในทีม ในห้องเรียนคุณอำนวยฝึกหัด
ถ้ามีนักเรียนอยู่ 5 คน ก็นำห้าคนนั้นมาคุยกัน workshop กันในทีม
คุยกันแล้ว “จัดการความรู้ (Knowledge Management)” กันแล้ว ก็เปลี่ยนคนไปบ้าง เปลี่ยนทีมไป เปลี่ยนสถานที่กันไป คนโน้นไปที่นี้ คนนี้ไปที่นั้น สลับกันไป สลับกันมา ได้เปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนสถานที่ สนุกสนาน

ครู ก จะต้องเต็มที่ เต็มใจ และอยู่ใกล้ ๆ นักเรียน
นักเรียนของครู ก แต่ละทีมนั้นจะต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ได้มีเวลาให้กัน มีเวลาพบปะ สังสรรค์ (World Café) รู้อัธยาศัยใจคอซึ่งกันและกัน ฝึกกันไป ฝึกพ่อสอนลูก ครูสอนศิษย์ ฝึกกันไป เรียนรู้ร่วมกันไป
บางครั้งนักเรียนก็มีอะไรเด็ด ๆ มาบอกครู เห็นอะไรแล้วก็มาบอกกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ต้องหยิบและแต่งตั้งครู ก ขึ้นมาเป็นมุข เป็นประธานในพื้นที่ ในหน่วยงาน
เสร็จแล้วมอบหมาย ภาระกิจ อำนาจ ในการหานักเรียน หาตัวหนีบที่ครู ก เห็นว่า “มีแวว” ท่าทางจะรุ่ง ในมหาวิทยาลัยหาง่าย โดยเฉพาะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ หนีบเจ้าหน้าที่ไปคน หนีบนักศึกษา (เพศเดียวกัน) ไปคนก็สบาย เด็ก ๆ นักศึกษามักจะได้รับการต้อนรับและเอ็นดูจากผู้ใหญ่ ครู ก ก็สบาย ได้ใบเบิกทางเป็นความสดใสอีกทางหนึ่ง

ความรู้ ความคิด การขี้สงสัยของเด็ก มีประโยชน์มาก
ครู ก บางคนรู้มาก มองอะไรก็รู้ไปหมด รู้แล้วเลยไม่สงสัย ไม่สงสัยก็เลยไม่ถาม
อันนี้ต้องใช้ความไม่รู้ของเด็กนักศึกษาให้เป็นประโยชน์ เขาฉุก เขาคิด เขาถาม เราก็ได้คิด ได้ “เอ้อ” เรามองข้ามไป บางครั้งเราก็คิดว่าจุดเล็ก ๆ ไม่สำคัญ ไอ้จุดเล็ก ๆ เนี่ยแหละ “สำคัญ”

นักศึกษา เด็ก ๆ เขาเจ๊าะแจ๊ะเก่ง
เก่งกว่าเรา (ครู ก) เพราะเขามีอัตตา มีตัวตนน้อยกว่าเรา
ไอ้เราก็ชอบคุยแต่ผู้บริหาร ก็เลยได้แต่ภาพกว้าง ๆ แบบผู้บริหาร
R2r เป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในจุดเล็ก ดังนั้นต้องหาคนตัวเล็ก ๆ อัตตาน้อย ๆ ลงไปขุด ลงไปแซะ ลงไปคุ้ย ลงไปคุย เด็ก ๆ นักศึกษานี่มีประโยชน์เยอะนะ...

ถ้าอยู่ในโรงพยาบาลก็หนีบ “นักศึกษาฝึกงาน” ไปจึงจะดีมาก
ให้เขาฝึก r2r ตั้งแต่เริ่มแรก พอเขาออกไปทำงานจะต้องไม่ต้องเสียเงินจ้าง “จ้างให้เรียนรู้”
ตอนเด็ก ๆ ตอนเรียนหนังสือ อาจารย์หมอบอกให้ทำอะไรเขาก็ทำ บอกให้รู้อะไรเขาก็รู้ “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก”

เริ่มต้นถ่ายทอด ปลูกฝัง r2r ตั้งแต่ยังเป็น "นักเรียน" "นักศึกษา " “นักศึกษาแพทย์” หรือ “นักเรียนพยาบาล”
อุปนิสัยแห่งการเรียนรู้จะกลายเป็น “สันดาน” เวลาออกไปทำงานจะรักการเรียนรู้และวิจัยในหน้างาน (Research to Routine : R2R)

หมายเลขบันทึก: 281867เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เอ...เราจะเปลี่ยนศัพท์ คำว่า "เจ๊าะเเจ้ะ" เป้นคำไหนได้บ้าง

ผมรู้สึกเองว่า คำนี้ดูเหมือนพูดเรื่อยเปื่อยแบบไร้สาระ...

เราน่าจะใช้ศัพท์อะไรแทนดี??

อิอิ นึกว่าเจ๊าะแจ๊ะเหมือนกันส่ะอีก

เจ๊าะแจ๊ะแบบนี้ทำตัวมีประโยชน์ต่างหากน่ะค่ะ

เข้าใจผิดเลย แหะแหะ

ถ้าได้คำใดแล้วขอเมตตาแจ้งด้วย เพราะเราเองไม่มีเวลาคิดคำให้สละสลวย

เวลาของชีวิตนั้นมีจำกัด ต้องใช้เวลา "ทำงาน" ให้มีประโยชน์มากที่สุด

เมื่อครั้นยังมีเรี่ยวแรง มีกำลังก็ขอให้ใช้เวลานั้นสร้างสรรค์ในการ "ทำ" ให้ได้มากที่สุด

คนเรามีความสามารถแตกต่างกันไปในคนละด้าน เรื่องภาษาก็ปล่อยให้คนคิด คนเก่งด้านภาษาเขาจัดการ

เราคนทำงาน มีเรี่ยวแรง มีพละกำลังก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานไป

ประเทศเรามีนักกวี นักประพันธ์เยอะ

ตัวย่อ คำขวัญและอะไรก็มีแยะ

คำพูดสละ สลวย ทำให้ดีก็มีประโยชน์

แต่สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่านั้นคือการกระทำ การปฏิบัติ

การตีความในภาษานั้น ทำให้ชีวิตของคนเสียเวลา เสียค่าในการทำงานมามากหลาย

นำชีวิต นำร่างกายที่ยังมีเรี่ยว มีแรง มีประโยชน์อยู่นี้ไปทำงานที่มีประโยชน์มากที่สุดก่อน

หากชีวิตที่ยังมีอยู่นี้ไฉนเล่าเราจึงเสียเวลามากับการนั่งขัดสมาธิ ลดค่าตัวเองให้เหมือนกับหุ่นยนต์ เดินไป เดินมาแล้วพิจารณาลมหายใจ

หรือเปรียบได้กับการทำชีวิตตัวเองให้น่าขันโดยให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานดูถูกว่าพวกที่เขาฟิตเนทนี้ ทำตัวแปลกประหลาด ตัวเสียเงินมาออกกำลังกายสู้พวกเราไม่ได้ออกกำลังกายแล้วได้เงิน

ความทุกข์และปัญหาชีวิตของคนในสังคมนั้นมีมาก การปฏิบัติมีค่ากว่าคำพูดที่สละ สลวย

...

ปัญหาหนึ่งของวงการวิชาการไทยก็คือ นักวิชาการไม่รู้จักการ "เจ๊าะแจ๊ะ"

ทำอะไรก็เป็นวิชาการไปหมด เป็นอะไรก็เป็นงาน เป็นการ

r2r เป็นเรื่องของคนหน้างาน ที่เขาต้องทำงาน "ด้วยกันและกัน"

ความรู้ ประสบการณ์ที่ถ่ายทอดออกมาในเวที workshop นั้นมีค่าไม่เทียบเท่าครึ่งหนึ่งของการ "เจ๊าะแจ๊ะ"

อะไรต่ออะไรที่พูดไม่ออก พูดไม่ได้ คุณอำนวยต้องไปเจ๊าะแจ๊ะเอา

นักวิชาการเจอ เดี๋ยวนี้สั่งข้าวผัดแล้วต้องบอกแม่ค้าว่า "ไม่ต้องใส่ผักชี" เพราะกินผักชีจากเวทีมาจนอิ่มแล้ว

การจะทำการจัดการความรู้ให้ "เนียน" การจะสกัด r2r ให้ "เนียน" ต้องเรียนรู้และปฏิบัติควบคู่กับ "การเจ๊าะแจ๊ะ"

คุณอำนวยรุ่นใหม่ต้องคิด ต้องทำอะไรให้เป็น "กุศล"

คิดดี มองโลกในแง่ดี

ดังนั้นคุณอำนวยต้องมี "ศีล" ให้ถึงพร้อม จะเป็นผู้มีศีลขาดด่างพร้อยไม่ได้

หรือเป็นพวกชอบวางมาด วางกล้ามก็ไม่ดี

การเจ๊าะแจ๊ะของคุณอำนวยนี้ต้องเสียสละมากนะ

ไม่ใช่จะไปเจ๊าะแจ๊ะแล้วจะได้ตังค์ หรือได้เงิน

วิทยากรเดี๋ยวนี้จะไปไหน ทำอะไรก็ต้องมีค่าตัว ค่าชั่วโมง

การเจ๊าะแจ๊ะนี้ไม่มีค่าตัว ค่าชั่วโมงนะ ต้องเจ๊าะแจ๊ะด้วย "ใจ..."

อะไรต่ออะไรที่ดี ๆ เขาจะบอก จะเปิดเผยหากเรามีความจริงใจให้กันและกัน

ในเวทีเดือนหนึ่งเจอกันที ปีหนึ่งเจอกันที แล้วจะมีมากหรือที่ "ความจริงใจ..."

คนเป็นญาติ เป็นมิตร เป็นเพื่อนต้องรู้จัก "เจ๊าะแจ๊ะ" กันบ้าง

คุยเรื่องสัพเพเหระ สารทุกข์ สุขดิบ ถามไถ่ เอาอกเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน

กราบนมัสการครับ..  :)

กลับมาเจ๊าะแจ๊ะ ครับ

เห็นด้วยกับท่านครับ เราควรใช้เวลาในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล เกิดมรรคให้ได้มากที่สุด แต่องค์ประกอบในการทำก็สำคัญ

ทำไปเรื่อยๆ  กับ การทำให้ปราณีต นั้น คนละประเด็น

ดังนั้นหากให้พร้อมกันไป ทำไปด้วย คิดทบทวนไปด้วย ประเด็นเล็กประเด็นน้อยก็คงต้องใคร่ครวญ

ด้วยว่า "ศัพท์" การคิดคำใหม่ๆ หรือ คำที่ใช้เพื่อการสื่อสาร นั้่นสำคัญอย่างยิ่งครับ มีผลมากกับความรู้สึกของคู่สนทนา ผมจึงเห็นว่าเป็นเรื่อง"สำคัญ" เรื่องหนึ่งครับ

 

  • แต่ครูวรางค์ภรณ์ก็ว่าก็น่ารักดีนะคะ
  • คุณอำนวยผู้เจ๊าะแจ๊ะ

ถูกต้องและเป็นเรื่องที่ดีมากที่ท่านให้ความสำคัญและใคร่ครวญให้ถี่ถ้วนในทุก ๆ เรื่อง

ใช้คำศัพท์ให้ดีมีประโยชน์ แต่จะเกิดโทษถ้าคำศัพท์นั้นใช้เรา

ในเวทีครั้งหน้าฝากท่าน "เจ๊าะแจ๊ะ" คนหน้างานให้ด้วย

ตอนนี้ ที่นี่ ทุกวัน ทุกวินาที เรามีหน้าที่ "เจ๊าะแจ๊ะ" กับจิตใจ

จิตใจคนแต่ละคนนั้นซับซ้อน สับสน วุ่นวายนัก

ถ้าอยากรู้ อยากฝึก อยากหัด ต้องรู้จักใส่ใจให้ "ถึงใจ..."

เจ๊าะแจ๊ะด้วยการดูแล เอาใจใส่

เจ๊าะแจ๊ะด้วยความอ่อนนุ่ม ละมุน ละไม

เจ๊าะแจ๊ะด้วยใจที่ "บริสุทธิ์"

การใกล้ชิดนั้นสร้างความผูกพันธ์ฉันมิตร

การเจ๊าะแจ๊ะกันสร้างสัมพันธ์แห่งดวงจิต

มีเวลาเจ๊าะแจ๊ะกันวันละนิด เปิดดวงจิต ด้วยดวงใจ...

ขออนุญาตทำนำไปแปะไว้ที่บันทึกของท่าน อ.หมอวิจารณ์นะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

http://gotoknow.org/blog/thaikm/281525

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท