แรกเริ่มเดิมทีใช้ไม้พันสำลีเช็ดหูทุกครั้งหลังอาบน้ำ --> โรคมีเนีย (Meniere’s disease)


หมอถามคำนึงว่าเคยใช้ไม้พันสำลีเช็ดหูไหม ได้ตอบไปว่าใช้ประจำทุกครั้งที่อาบน้ำ หมอจึงบอกว่านั่นแหละเหมือนเราค่อย ๆ อันให้มันแน่นเข้าทีละนิด ๆ จนเป็นอย่างที่เป็นนี่แหละ

 

     ลึก ๆ แล้วน้องเดม ลูกสาวอาจจะไม่เข้าใจ ที่เขาเคยถามว่าทำไมไม่ให้เขาใช้ไม้พันสำลีสำเร็จรูปเช็ดหูหลังอาบน้ำ  เพียงแต่ได้อธิบายง่าย ๆ ว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ เพียงเช็ดเอากับผ้าผืนเล็กที่ใช้เช็ดหน้าเวลาอาบน้ำก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่อะไรเข้าไปในหู ขี้หูนั้นโดยธรรมชาติแล้วมันจะโดนขับออกมาเองได้ และน้องเดมก็รับรู้และเป็นห่วงเวลาพ่อเขาอยู่ไกล ๆ เขามักจะถามว่าพ่อเวียนหัวอีกบ้างไหม เพราะเป็นเรื่องเดียวที่เขาเคยเห็นพ่อของเขาอาการหนักเมื่อมีอาการบ้าน "โคลงเคลง" และเวียนหัวบ่อย ๆ และยังเป็นมาจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ระยหลัง ๆ จะนาน ๆ ครั้ง

     เริ่มต้นจำไม่ได้ว่านานแค่ไหนก่อนปี 2535 คิดว่าไม่ต่ำกว่า 10 ปีก่อนหน้านั้น ที่ได้ใช้ไม้พันสำลีสำเร็จรูปเช็ดหูหลังอาบน้ำทุกครั้ง จนเรียกว่าขาดไม่ได้เลย มันจะรู้สึกคัน ๆ (อุปทาน=imagination) หากไม่ได้ใช้ และเมื่อใกล้ ๆ ปี 2535 ช่วงนั้นก็เริ่มรู้สึกว่าหูทั้งสองข้างฟังเสียงได้ไม่เท่ากัน เคนอุดทีละข้างแล้วทดลองฟังเสียงจากทีวีที่ดังเท่าเดิม มันได้ยินไม่เท่ากะนจริง ๆ โดยข้างขวาจะได้ยินชัดกว่ามาก แล้วมาวันหนึ่งในปี 2535 หูข้างซ้ายก็รู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรอยู่ข้างใน มันรบกวนมากเวลาฟังไม่เป็นไรแต่เวลาพูดมันจะรบกวน จึงไปหาหมอเพื่อตรวจดู และถูกส่งต่อไปยังหมอเฉพาะทาง ตอนนั้นเริ่มตกใจ เพราะการไปหาหมอแล้วถูกส่งไปหาหมอเฉพาะทาง ย่อมไม่ธรรมดา กลัวมากคือการผ่าตัด ยิ่งในระหว่างที่ไปรอได้พบคนไข้ที่หมอนัดและมีร่องรอบผ่าตัดที่บริเวณหลังไปหูแล้วนึกกลัวมาก ปรากฎว่าหมอพบขี้หู (Cerumen) ก้อนใหญ่ที่กระเทาะหลุดออกมา แล้วออกไม่ได้ หมอบอกว่าแข็งมาก ตอนหมอพยายามคีบออกมาเจ็บจนน้ำตาไหล

     ในที่สุดหมอก็ตัดสินใจใช้ยาชาฉีดเข้าไปในหู แล้วดึงออกมา ตอนใช้เข็มแรกมันเจ็บและน่ากลัวมาก ปรากฎว่ายังเอาออกไม่ได้เนื่องจากเวลาดึงยังเจ็บจนทนไม่ได้ หมอจึงให้เข้าไปอีกเข็ม แล้วก็เอาออกมาได้ หมอไม้ดูแล้วตกใจในขนาดมาก หมอทิ้งลงถังมีเสียงดังกลับขึ้นมาชัดมาก บ่งบอกความแข็งของมัน จำได้ว่าทันทีที่หมอเอาออกมาแล้ว เสียงที่หมอและพยายาบาลพูดกันตามปกติกลับดังชัดขึ้นมาก ต่างไปจากเดิมอย่างเห็น(ฟัง)ได้ชัด และที่จำมาตลอดก็คือหมอถามคำนึงว่าเคยใช้ไม้พันสำลีเช็ดหูไหม (หมอถามด้วยยี่ห้อของไม้พันสำลี) ได้ตอบไปว่าใช้ประจำทุกครั้งที่อาบน้ำ หมอจึงบอกว่านั่นแหละเหมือนเราค่อย ๆ อันให้มันแน่นเข้าทีละนิด ๆ จนเป็นอย่างที่เป็นนี่แหละ จึงได้จดจำไปจนตายและคิดว่าต่อไปจะไม่ใช้อีกอย่างเด็ดขาด

     เสร็จจากที่หมอทำแล้ว หมอก็ทำแผลในหูให้อันเนื่องมาจากการเอาก้อนขี้หู (cerumen or earwax) ออก แล้วบอกให้ลุกขึ้น เพื่อไปรับยาและกลับบ้านได้เลย แต่แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น มันเกิดอาการบ้านหมุน เหยื่อออก และเป็นลมไปใที่สุด จากเรื่องเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ รักษาตัวอยู่หลายวันอาการก็ดีขึ้นและหลังจากนั้นอาการนี้ก็ยังรบกวนเป็นระยะ ๆ แต่ความถี่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ จนมาถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเริ่มมีอาการอีกครั้งจึงได้ทานยาดักไว้ เนื่องจากมีงานที่ต้องนำเสนอ และงานบางอย่างที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ทราบเพราะอาการหรือเพราะเมายา จึงกลายเป็นแย่ ๆ ไปหลายวัน ฤทธิ์ยาก็ทำให้หลับ จนถึงขั้นหลับตอนที่อาจารย์บรรยาย ซึ่งที่จริงชอบที่จะฟังมาก และไม่เคยหลับ 

     เรื่องนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ ที่อาจจะไม่คาดคิดว่าจะเกิดเป็นตัวกวนจนทุกวันคือการใช้ไม่พันสำลีเช็ดหูหลังอาบน้ำ (ที่จริงไม่ว่าเวลาไหน) ดูรายละเอียดคำแนะนำเรื่องนี้ได้ที่นี่ (คลิ้ก) คัดรายละเอียดมาไว้ดังนี้

          ถาม: 

               ผมอยากทราบว่าขี้หูมาได้ยังงัยครับ ทำไมจึงเกิดขึ้นมาได้
               แล้วถ้ามีสะสมมาก ๆ แล้วจะมีผลต่อหูรึเปล่าครับ
               มีการป้องกันไม่ให้เกิดได้รึเปล่าครับ

          ตอบ:

               ขี้หู ถูกสร้างจากต่อมสร้างขี้หูโดยตรง ซึ่งมีเฉพาะในช่องหูเท่านั้น
               ขี้หูมีประโยชน์หลายอย่างคือ
                  - ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไปทำร้ายบริเวณแก้วหูได้โดยง่าย และการมีขี้หูในช่องหูจะทำให้ช่องหูมีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อครับ
                  - ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้แคะหู  โดยปกติร่างกายจะมีกลไกกำจัดขี้หูโดยธรรมชาติอยู่แล้ว การแคะหูหรือปั่นหู อาจทำให้ร่างกายสร้างขี้หูที่ผิดปกติ และมากกว่าปกติครับ
                  - ขี้หูในภาษาอังกฤษใช้คำว่า wax แปลว่าน้ำมันเคลือบช่องหู ไม่เกี่ยวอะไรกับ ขี้ เลย และไม่ใช่ของสกปรกครับ จึงไม่ต้องแคะ หรือทำความสะอาดช่องหู 

            โดย นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ  แพทย์ หู คอ จมูก

     และดูรายละเอียดเรื่องโรคมีเนีย (Meniere’s disease) ได้ที่นี่ ภาษาไทย (คลิ้ก) ภาษาอังกฤษ (คลิ้ก)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 281675เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท