ประวัติวงปี่พาทย์เมืองเหนือ จ.เชียงใหม่


เรื่องประวัติศาสตร์ด้านดนตรีพื้นบ้านไทย
                     ดนตรีล้านนาที่ปรากฎเรื่องราวของเครื่องดนตรีที่ใช้ในการเฉลิมฉลองการสร้างพระพุทธรูปยืน หรือพระอัฐฐารส ในศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูนซึ่งจารึกขึ้นเมื่อ พ.. 1913 (สำนักวัฒนธรรม, 2535 : 3) ประกอบด้วยพาทย์ พิณ ฆ้อง กลอง ปี่ไฉน ปี่เสนง กลองมาลายู กาหล (แตรงอน) แตรสังข์ กังสดาล มรทงค์ (ตะโพน) ดงเดือน (กลองทัด) งานมหรสพสมโภช เมืองเชียงใหม่ประกอบด้วยการฟ้อนต่าง ๆ การจ๊อย การซอ และการบรรเลงดนตรีมีพิณพาทย์ ฆ้อง กลองอุย ปี่แน แคน สะล้อ เปี๊ยะ บัณเฑาะว์ และหอยสังข์ เครื่องดนตรีที่ใช้กันในครั้งหลังได้อิทธิพลจากกรุงรัตนโกสินทร์ และพม่าเข้ามาในกลุ่มเครื่องดนตรีพื้นเมือง
                     ดนตรีล้านนามีอยู่หลายประเภท เช่น    วงสะล้อซอซึง วงปี่พาทย์เมือง ซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ  จากจารึกบางแห่งการดนตรีของชาวหริภุญไชยในระยะแรก น่าจะเป็น  วงพาทย์ฆ้อง หรือป้าดก๊อง (ภาษาถิ่นล้านนา) ได้มีเครื่องดนตรีบางชิ้นเข้ามาผสมวงพาทย์ฆ้อง 2 ชนิด ได้แก่ ปี่มอญ และกลองเต่งทิ้ง (ตะโพนมอญ) (ธีรยุทธ  ยวงศรี, 2540 :1) มีการสันนิษฐานว่า   วงกลองเต่งทิ้ง หรือวงปี่พาทย์เมือง    รับแบบอย่างมาจากพม่าต่อมาเมื่ออิทธิพลจากสยามขึ้นมาแพร่หลายในเชียงใหม่ จึงรับแบบอย่างการจัดการตามแบบวงปี่พาทย์ภาคกลางผสมผสานกับ   เครื่องดนตรีพื้นเมือง (สำนักวัฒนธรรม,  2535 :11)
                   วงพาทย์ ฆ้อง หรือวงป้าด ก๊อง ในการบรรเลงจะแตกต่างกันไปตามสติปัญญา และกำลังความสามารถของผู้เป็นหัวหน้าวงไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว จากการสัมภาษณ์ นายสวงษ์  ต่ายพูล ซึ่งเป็นหัวหน้าวงรักศิลป์ได้เล่าว่า คำว่าปี่พาทย์เมืองจริง ๆ แล้วเข้าจะเรียกว่าพวก   หมู่แห่  หรือ        ป้าดเมือง ก็จะบรรเลงตามงานต่าง ๆ แต่ที่บรรเลงกันมาก หรือเป็นประเพณีก็จะเป็นงาน ฟ้อนผี จะมีช่วงตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม หมู่แห่ที่เชียงใหม่มีอยู่มากแต่ที่มีชื่อเสียงก็จะมี        อำเภอเมืองมี 3 วง คือ วงครูรอด  วงป่าแดด และวงเชียงยืน อำเภอหางดงมี 1 วง คือ      วงสิงห์คำใต้   อำเภอสารภีมี   4 วง คือ วงศรีโพธิ์ธาราม วงกลู่เสือ วงน้ำโจ้   และวงปูแดง อำเภอ  สันทรายมี 1 วง      คือ วงเพชรพยอม   ซึ่งปัจจุบันก็มีวงเกิดใหม่ ๆ หลายวง และยุบไปหลายวง ส่วนใหญ่ลูกหลานไม่ค่อยสืบต่อ บ้างก็ขายเครื่อง บ้างก็ถวายวัด ทำให้วงปี่พาทย์เมืองไม่ค่อยมีรูปแบบการบรรเลง และถ้าเป็นปัจจุบันจะบรรเลงเพลงสตริงกันมาก   แต่ก็มีบางวงยังบรรเลงเพลงพื้นเมืองกันอยู่
 
หมายเลขบันทึก: 281279เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ความคิดเห็นที่ 1 และ 2 ให้กำลังใจกันดีมากๆ เลย

แต่บทความก็โอเคนะค่ะ บรรทัดข้างบนล้อเล่น

ได้สาระและยังได้ความรู้อีก

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายผู้มีใจรักดนตรีค่ะ เคยเล่นซึงเล็กค่ะ ยังจำเสียงได้ว่าไพเราะจับใจ..(มศว ประสานมิตร)

ขอ

เพลง

ที่

วง

ปี

พาทย์

ล้าน

นา

เล่น

หน่อย

ดิ........

น้ำบวยหลวง เชียงใหม่

ขอเพลงแหย่งหลวงคับ

ได้ความรู้ไปทำรายงานเเล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท