.:: C๏mmU ❤ W☻nderC๏mp๏$t ::.
เด็กนิเทศศาสตร์บูรณาการ communication เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

ตะลุยแดนปุ๋ยหมักมหัศจรรย์


ปุ๋ยหมักมหัศจรรย์ ตอนที่ 1
       
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 
 
 
       "วันนี้พวกเราในกลุ่มนัดรวมตัวกันที่หน้าตึกภาค (อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ,สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ,คณะศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
มีพี่อาร์ต (ผู้นำสมาชิกในกลุ่มที่อาวุโสที่สุด) นำทางกลุ่มไปหา ผ.ศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ที่ตึกวิศวกรรมการเกษตรและอาหาร
ผ.ศ.ธีระพงษ์   ปัญญางกูร
 
วันนี้พวกเรากินข้าวเช้ากันไม่ทัน เพราะตื่นสาย แถมตึกวิศวกรรมฯก็อยู่ไกลพอควร แดดก็ร้อน
อาจเป็นเพราะพวกเราหิวด้วยจึงรู้สึกว่าตึกวิศวกรรมนั้นอยู่ไกลมาก"  :P
    
       "และในที่สุด..พวกเราก็มาถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ พี่อาร์ต พากลุ่มทั้ง 4 คน ไปหาอาจารย์ที่จะมา ให้คำแนะนำและให้ข้อมูลในเืรื่องของปุ๋ยหมักให้กับพวกเรา และแล้วพวกเราก็ได้พบกับ *ผ.ศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร* อาจารย์ท่านเป็น ผ.ศ.ระดับ8 สอนอยู่ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตรและอาหาร  อาจารย์คนนี้ท่านเก่งมาก ท่านได้รับรางวัลระดับประเทศในเรื่องของการวิจัยคิดค้นการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ คือจากปุ๋ยหมักที่เคยใช้เวลาหมักนานถึง 6 เดือนจึงเป็นปุ๋ย มาเป็นเป็นเพียงเดือนเดียวก็เป็นปุ๋ยหมักได้แล้ว (ว้าว ปุ๋ยหมักมหัศจรรย์โดยอาจารย์วิเศษ )
สุดยอดไปเลย! ที่กลุ่มพวกเราได้คนเก่งๆอย่างอาจารย์มาแนะนำและให้ข้อมูลอันดีเยี่ยมให้กับพวกเรา.."
   
    "อาจารย์ได้แนะนำให้พวกเราลองไปศึกษาผลิตปุ๋ยหมักด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่สมจริงยิ่งขึ้น อาจลองผิดลองถูกบ้าง แต่ก็ได้ลองทำด้วยตนเอง ทำให้เราได้ทั้งความรู้และประสบการณ์มากกว่าการอ่านหนังสือค้นคว้าจากตำราเพียงอย่างเดียว จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คู่มือการทำปุ๋ยหมักมา พวกเราก็ลองเปิดอ่านดู ทำให้เราได้รู้ถึงเคล็ดลับมากมายในการทำปุ๋ยหมักมหัศจรรย์ของอาจารย์"
 
 
        พวกเราได้ข้อมูลมาส่วนหนึ่งและเริ่มมีความสนใจในเรื่ีองนี้ พี่อาร์ตพากลุ่มของเราไปดูการทำปุ๋ยหมักกันที่ศูนย์สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ อยู่ในม.แม่โจ้ของเรานี่แหละ ถัดจากตึกวิศวกรรมไปไม่ไกลนัก พวกเรามาถึงที่ศูนย์สาทิตการทำปุ๋ยหมักฯ เราได้พบกับป้าไรและลุงชัย ท่านทั้งสองเป็นผู้ดูแลและทำปุ๋ยหมักที่นี่ พวกเราได้เจอกองปุ๋ยหลายกองมาก มีทั้งปุ๋ยที่ทำจากฟางข้าวและใบไม้ พอเดินดูรอบๆพวกเราก็เห็นรุ่นพี่แม่โจ้กำลังวัดความแรงดันของปุ๋ย
 
นี่คือเครื่ิองวัดความดันของอากาศในปุ๋ย
 
 
 
 
      พี่เขาบอกว่าเราต้องวัดแรงดันก่อนที่เราจะใส่อากาศเข้าไปเพื่อที่จะทำให้แรงดันของปุ๋ยเท่ากันทุกกอง  เราก็ไม่ได้ถามรายละเอียดจากรุ่นพี่มากมายนัก  เพราะพวกเราเห็นว่า  รุ่นพี่กำลังยุ่งอยู่กับงาน  เอาไว้วันหน้าเราจะหาข้อมูลมาฝากกันนะค่ะ 
 
 
 

"วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2552"
   
 ในวันนี้เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น.
พวกเราเดินทางมาที่...
ศูนย์สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศอีกครั้ง ระหว่างการเดินทางในครั้งนี้
เราเก็บภาพสวยๆมาฝากกันมากมาย ระหว่างทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ของเรา จะเห็นได้ว่ามีธรรมชาติที่สวยงามมากมาย  อยู่รอบตัวเราที่หลายๆคนมองข้ามไป และเราก็มาถึงศูนย์สาธิตฯ ในวันนี้พวกเราได้พบกับป้าไรเพียงคนเดียว  เราเห็นท่อที่เติมอากาศถูกต่อไปเป็นทางตามใต้กองปุ๋ยต่างๆ ซึ่งมีกองปุ๋ยอยู่หลายกองเลยทีเดียว มีกองใหม่ที่มาแทนปุ๋ยเก่าที่ยุบไปแล้วก็มี บางกองยังสูงอยู่เลย แล้วกองที่เคยเห็นเมื่ออาทิตย์ก่อนก็ยุบลงมาบ้างแล้ว
       เราต้องการลองทำปุ๋ยหมักกองเล็กๆของพวกเราดูเอง ป้าไรบอกว่า..ถ้าเป็นกองเล็กๆไม่ใหญ่มากนักก็อาจใช้เวลา  4 วันเท่านั้นในการพลิกกลับกอง~!!  4วันก็สามารถพลิกกลับกองได้แล้ว ถ้าเปิดท่อเติมอากาศเข้าไปใต้กองปุ๋ยหมักก็ต้องเติมอากาศวันละ 2 เวลา ครั้งละประมาณ 15 นาที  ภายในหนึ่งเดือนเราก็จะได้ปุ๋ยที่เราต้องการได้แล้ว
     
     ในช่วงนี้พวกเรากำลังติดสอบอยู่ ในสัปดาห์พวกเราก็จะเริ่มลองทำปุ๋ยหมักกันจริงๆ เราเริ่มรู้ข้อมูลกันมาบ้างแล้วแล้วพวกเราจะรีบนำข้อมูลที่ได้มาโพสต์ให้เพื่อนๆgotoknowได้ติดตามกันแน่นอนค่ะ~

 
 
 
 
"อยากรู้กันแล้วใช่ไหม? ..
  ว่าปุ๋ยหมักมหัศจรรย์ผลิตขึ้นมาอย่างไร?
  ต้องติดตามชมกันต่อไป...~!"
 
 
กองปุ๋ยหมักมหัศจรรย์ค่ะ
หมายเลขบันทึก: 281007เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าปุ๋ยหมักใส่มะม่วงมันจะได้ผลผลิตเยอะไหม!!!

ถ้าปุ๋ยหมักใส่มะม่วงมันจะได้ผลผลิตเยอะไหม!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท