7 วิธีสู้หวัดแบบไคโรแพรคติค


ไทยรัฐ 28 กรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "7วิธีห่างไกลหวัด 2009 แบบไคโรแพรคติก" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ ไทยรัฐ ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ เรียนเสนอให้แวะไปให้กำลังใจเว็บไซต์ "ไทยรัฐ" กันครับ [ ไทยรัฐ ]

...

[ ข้อความคัดลอก ] > [ ไทยรัฐ ]

สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ ทำให้มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว [ ไทยรัฐ ]

โดยแนวทางป้องกันหนึ่งที่มีการแนะนำในช่วงนี้ก็คือ การดูแลร่างกายให้มีระบบภูมิต้านทานโรคที่แข็งแรง  แต่มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้ระบบภูมิต้านทานในร่างกายของเราแข็งแรงขึ้นได้หล่ะ ?

...

ดร.ทอม สมิธ ไคโรแพรคเตอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำคลินิกกายภาพบำบัดดีสปายน์ ไคโรแพรคติก  กล่าวถึงความการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อภูมิต้านทานของร่างกายว่า 

เพราะทุกระบบ ทุกส่วนในร่างกายมีความสัมพันธ์กันหมด โดยมีสมองและศูนย์กลางของระบบประสาทคอยทำหน้าที่รับผิดชอบเชื่อมโยงร่างกายและเซลล์ต่างๆ ซึ่งมีความหมายมาก

... 

ถ้าหากสมอง ศูนย์กลางระบบประสาททำงานได้ดี ร่างกายก็จะมีความแข็งแรง แต่ถ้าหากการทำงานเสื่อมลง หรือมีการติดขัดของเซลล์ หรือบางระบบภายในร่างกาย ก็จะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ติดขัด ร่างกายก็จะอ่อนแอลง

เนื่องจากระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย   เพราะระบบภูมิต้านทานร่างกาย (Immune System) คือระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของร่างกายที่ทำหน้าที่คอยป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทำอันตราย และทำลายเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย 

...

ด้านนางบัณลักข ถิรมงคล ผู้อำนวยการคลินิกกายภาพบำบัดดีสปายน์ ไคโรแพรคติก  กล่าวว่า  แนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพแบบไคโรแพรคติกนั้น ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 

ซึ่งการดูแลระบบโครงสร้างร่างกาย การทำงานของกระดูสันหลัง กล้ามเนื้อ ระบบประสาท ให้อยู่ในสภาพที่ดี สมดุล ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

... 

เพื่อให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ มีความสำคัญต่อระบบภูมิต้านทานที่แข็งแรงของร่างกายมาก  ซึ่งในช่วงนี้มีประชาชนที่มารับการบริการรักษาที่คลินิกเป็นจำนวนมากต่างตื่นตัว

... 

ซึ่งนอกจากไคโรแพรคเตอร์  จะให้การรักษา ปรับ คืนความสมดุลให้กับระบบโครงสร้างร่างกาย แก้ไขปัญหากระดูกเคลื่อน ชะลอการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังฯลฯ

เพื่อให้ระบบเชื่อมต่อในร่างกายต่างๆ ทำงานได้สมดุล มีประสิทธิภาพ  ก็จะให้ความรู้ ถึงแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพในชีวิตประจำวัน

...

เพื่อสร้างภูมิต้านทานที่แข็งแรงให้ร่างกายตามแนวทางของศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกดังนี้  

1. ควรดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำทุกวัน
โดยเฉพาะช่วงเช้าเวลาตื่นนอน และช่วงระหว่างวัน เฉลี่ย 1.5 ลิตร จะช่วยทำให้ร่างกายขจัดของเสียออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

... 

เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งและความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบนที่จะช่วยป้องกันและดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

นอกจากนั้นยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายคงรูปทำงานได้อย่างปกติ เพื่อสามารถนำอาหารไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ และช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อ กระดูก และช่วยหล่อไขข้อต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย

...

2. รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่นผักสด และผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารพวกเบต้าแคโรทีน วิตามินซี อี บี เช่น ฟักทอง แครอท ผักบุ้ง มะละกอ มะเขือเทศ ส้ม มะนาว ฝรั่ง ข้าวกล้อง ผักใบเขียว ถั่ว และกระเทียม (ควรเลือกผัก ผลไม้ อินทรีย์ ปลอดสารพิษ)

เพื่อช่วยในเรื่องของการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะกระเทียมจะมีสารอัลลิซิน (Allicin) และซัลไฟด์ (Sulfides) จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค

... 

ที่สำคัญที่สุดควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์  และทำให้ระบบภูมิต้านอ่อนแอลง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ อาหารที่ปรุงด้วยผงชูรส หรืออาหารที่มีรสหวาน และรสจัด  

3. ควรรักษาความสะอาดส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ ที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง โดยควรล้างมือบ่อยๆ และแปรงฟันหลังอาหารอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรสอนใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรคตามซอกฟัน 

...

4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะ ไม่หักโหมเกินไป เพื่อรักษาสภาวะภูมิต้านทานที่ดี

5. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำวันละ 7 ชั่วโมง เพราะการนอนไม่พอนั้นมีผลต่อการสร้างเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน เช่น แอนติบอดี

...

6. พยายามลดความเครียด เพราะอารมณ์เครียดจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง  และยังทำให้ร่างกายเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทานของร่างกาย 

ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลง คนเครียดจึงมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย 

...

7. ควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาอยู่ในที่ชุมชนและคนแออัด เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรค และหากมีการไอหรือจามควรจะยืดกล้ามเนื้อหลัง และงอเข่าขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหลัง หรือข้อกระดูกเคลื่อนที่

เนื่องจาก การไอและจาม ที่รุนแรงจะเกิดแรงสั่นสะเทือนที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของข้อกระดูกในร่างกายได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อการทำงานระบบอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลงด้วย [ ไทยรัฐ ]

[ ข้อความคัดลอก ] > [ ไทยรัฐ ]

หมายเลขบันทึก: 280854เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ขยันหาข้อมูลจริงๆค่ะ ต้องขอชม

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมออัจฉราครับ... // ขอขอบคุณไทยรัฐเป็นอย่างมากๆ เลย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท