ผู้เชี่ยวชาญแนะ 6 วิธีเสริมอีคิว(EQ)


มติชน 28 กรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "บริหารอีคิว" เลี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ มติชน ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ เรียนเสนอให้แวะไปให้กำลังใจทีมงานมติชนกันครับ [ มติชน ]

...

[ บทความคัดลอก ] > [ มติชน ]

สภาพการณ์ของคนไทยกำลังเผชิญกับภาวะบีบคั้นรอบด้าน ทำให้ประชาชนเกิดความเครียด จากผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขปี 2551 พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตสูงถึงร้อยละ 20 หรือประมาณ 6-12 ล้านคน [ มติชน ]

ที่น่าตกใจ คือ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านและต้องมีภาระรับผิดชอบดูแลครอบครัว!!
 

...

นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลมนารมย์ ระบุว่า คนไทยมีความรู้และความเข้าใจเรื่องของสุขภาพจิตน้อย จึงไม่สามารถบริหารจัดการความเครียดได้

อีกทั้งสังคมยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาไอคิว ความฉลาดทางสติปัญญา จนมองข้ามในเรื่องของอีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งจุดนี้เองทำให้คนไทยเกิดความเครียด และมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นทุกปี

...

นพ.กัมปนาทบอกอีกว่า อีคิวมีความสำคัญมากในการทำงาน และดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะการมีอีคิวดีถือว่าเป็นพื้นฐานทางด้านจิตใจ เพราะอีคิวคือความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง 

"คนที่มีอีคิวดีจะสามารถยับยั้งชั่งใจในการแสดงออกทางอารมณ์และตอบสนองความต้องการของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง

...

เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้ และยังตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ในปัจจุบัน"

นพ.กัมปนาท ได้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะความฉลาดทางอารมณ์ ว่า 

...

  • 1. รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกตนเอง มากกว่าการคอยกล่าวโทษคนอื่นๆ
  • 2. สามารถแยกแยะระหว่างความคิดและความรู้สึกของตนเองได้ โดยการคิดอย่างมีเหตุผล

... 

  • 3. รู้จักใช้ความรู้สึกบ้างในบางครั้งเพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรจะควบคู่กับการใช้สติด้วย
  • 4. นับถือในความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงคนที่เก่งน้อยกว่าว่าบางครั้งวิชาการด้อยแต่อาจจะมีประสบการณ์ที่ดีกว่าก็ได้

... 

  • 5. เมื่อถูกกระตุ้นให้โกรธสามารถควบคุมจิตใจไม่ให้โกรธหรือการแสดงอารมณ์ที่มากเกินไป 
  • 6. รู้จักฝึกหาคุณค่าในทางบวกจากอารมณ์ในทางลบ เช่น เวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ เครียด ท้อแท้ อาจจะลองตั้งสติทบทวนหาสาเหตุ เมื่อทำได้บ่อยๆ จะเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น และมีประสบการณ์ที่เข้มแข็งมากขึ้น

...

อารมณ์ดี ชีวีมีสุข หน้า 25.

[ บทความคัดลอก ] > [ มติชน ]

หมายเลขบันทึก: 280853เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท