Bier Block : เทคนิค(แบบโบราณ)...ที่คนรุ่นใหม่ไม่(ค่อย)ได้เห็น..


หลายปีมาแล้วที่ไม่เห็นว่ามีใครทำเทคนิคนี้...ทั้งๆที่หลายคนกระหายใคร่รู้...

คุณหมอหลายๆคนอาจจะไม่เคยเห็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าให้ฟัง  และทราบว่าหลายคนอยากเรียนรู้แต่ไม่ได้จังหวะ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนโชคดีที่ ศ.นพ.สมบูรณ์ เทียนทอง หัวหน้าของผู้เขียนชวนทำ Bier Block ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดบริเวณนิ้ว

 

หลายปีมาแล้วที่ผู้เขียนไม่เห็นว่ามีใครทำ  และหลายคนก็กระหายใคร่รู้

ผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์ได้ช่วยมาในอดีต...นานมากจนจำได้คลับคล้ายคลับคลา

พอได้ช่วยจริงๆก็พอรื้อฟื้นได้บ้าง

...จึงขอนำมาถ่ายทอดเพื่อให้ท่านที่ไม่เคยช่วย ไม่เคยเห็น หรือเห็นแต่นานมาแล้วได้รับทราบ เพื่อทำให้การทำงานในแต่ละวันคล่องตัวขึ้นและมีผลให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากหัตถการที่เราไม่คุ้นเคยกันนัก

ขอนำเรื่องจริงที่ทำจริงในห้องผ่าตัดมาเล่าให้ฟัง

 

    Bier block (Intravenous regional anaesthesia : IVRA) : เป็นเทคนิคการระงับความรู้สึกเฉพาะที่เทคนิคหนึ่งโดยการทำให้ชาเฉพาะส่วน ตามปลายแขนหรือปลายขา โดยการฉีดยาชา(ที่เจือจางความเข้มข้นลงในขนาดที่เหมาะสม)เข้าสู่เส้นเลือดดำภายหลังจากมีการป้องกันพิษของยาชาเข้าสู่ระบบต่างๆของร่างกายด้วยการใช้เครื่องมือที่สามารถให้ความดันที่สูงกว่าความดันซิสโตลิคของผู้ป่วยราว 50 mmHg มักใช้ในหัตถการผ่าตัดที่ใช้เวลาสั้น และทำบริเวณแขนและขา

 

 เทคนิคการเตรียมและทำ 

1. เตรียมผู้ป่วย เหมือนเตรียมการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปตามมาตรฐาน  โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัตถการที่ทำ

2. การเตรียมอุปกรณ์

·        double tourniquet (ใช้ของ scrub ที่มีใน OR...ตรวจสอบความสมบูรณ์ และวิธีใช้ ก่อนใช้งานจริงกับผู้ป่วย) และสามารถใส่ความดันเข้าไปได้อย่างน้อยที่สุดมากกว่าค่า systolic blood pressure คนไข้ 50 mmHg และทดสอบว่าไม่รั่วซึม

           

·        Esmarch rubber bandage (ขนาดพอเหมาะกับแขนผู้ป่วยในการไล่เลือดก่อนขึ้น tourniquet)

·        อุปกรณ์ช่วยเหลือและพร้อม CPR (มีอยู่แล้วในมาตรฐานบริการ...)เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

   3. การเตรียมยา

·        ยาชา (0.5% Xylocain 40 ml...ต้องไม่มี adrenaline ผสม)

·        cannula เปิดเส้นเลือดดำ (เหมือนเปิดเส้นเลือดปกติ เบอร์22G)

 วิธีทำ

·        พัน  tourniquet รอบต้นแขน ต่อ T-way และเตรียมเปิด on cuff ด้านหัวไหล่ก่อน

·        ใช้ cannula เปิดเส้นเลือดดำส่วนปลายๆ(บริเวณหลังมือ)

·        ใช้ Esmarch rubber bandageไล่เลือดจากบริเวณปลายแขนสู่ต้นแขน

·        On 1 tourniquet (ด้านหัวไหล่) ตรวจสอบความตึง

·        นำ elastic bandage ออก

·        ฉีด Xylocain (0.5% 40 ml) เข้าหลอดเลือดดำ

·        ราว 5-7นาที เปิด T-way on cuff 2 ข้าง แล้วปิด tourniquet ด้านหัวไหล่(release ลมใน cuff ออก ให้เปิด on เฉพาะ cuff ด้านปลายมือ

·        บางท่านแนะให้ on cuff สลับไปมาทุก 5นาที(ประเด็นสำคัญ...ห้ามปล่อยลมออกหมดพร้อมกัน 2 cuff เด็ดขาด)  แต่เทคนิคบางคนให้สลับcuff เมื่อผู้ป่วยบ่นปวด

 

  ฉีดยาชาที่เตรียมไว้ผ่านเส้นเลือดดำที่เปิดช้าๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกแขนเริ่มร้อน ผิวหนังจะเป็นรอย จุดด่างดำให้เห็น

 อาการชาจะเกิดใน 3-4 นาทีภายหลังฉีดยา และสามารถเริ่มการผ่าตัดได้ 

 หากการทำผ่าตัดเสร็จเร็วก็ยังคง on tourniquet ไว้อย่างนั้นก่อน อย่างน้อย 15- 20 นาทีหลังการฉีดยาหรือการเกิดภาวะ serious toxic side-effects

 ความดันที่เหมาะสมที่ใช้ตลอดการผ่าตัดควรใช้มากกว่าค่าความดัน systolic blood pressure ของผู้ป่วย 50 mmHg

 เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดสามารถคลาย tourniquetได้ และความรู้สึกผู้ป่วยจะกลับมาทันที

....การดูแล เฝ้าระวังให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน...

ประเด็นสำคัญ...ขณะหัตถการกำลังดำเนินอยู่...ห้ามปล่อยลมออกหมดพร้อมกัน 2 cuff เด็ดขาด...

หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การหมุน T-way... ต้องถูกทางอย่างที่ตั้งใจให้เป็น

ภาวะแทรกซ้อน (Complications)

โดยทั่วไปแล้ว Intravenous Regional Anaesthesia...ปลอดภัยมีปัญหาน้อย

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ พิษของยาชา และจะเกิดขึ้นเมื่อ tourniquet ถูกปล่อยลมออกไม่นานหลังการฉีดยาเข้าเส้นเลือด โดยมีอาการเวียนศีรษะ มึนศีรษะ มีเสียงอื้อในหู กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก หมดสติ ชัก  อันตรายที่เกิดต่อหัวใจพบได้น้อย ซึ่งอาจเกิดได้หากการดูแลรักษาอาการชักไม่ดีพอหรือใช้ bupivacaine

30-45 นาทีหลังฉีดยา ยาในกระแสเลือดส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมผ่านสู่เนื้อเยื่อจนเกือบหมด จึงมีโอกาสเกิดพิษจากยาชาน้อย

การรักษาภาวะชัก(Convulsions)

      ·        ให้ออกซิเจน

      ·        ดูแล airway อาจจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจหากจำเป็น

      ·        รักษาอาการชักโดยให้ diazepam หรือ thiopentone  ทางหลอดเลือดดำ

สรุป

Bier Block (IVRA) เป็นเทคนิคที่ง่ายต่อการเรียนรู้และปฏิบัติ มีความปลอดภัยโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ใช้ขนาดของยาชามากเกินไป เฝ้าดูการทำงานของ tourniquet และต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการช่วยฟื้นคืนชีพได้ทันที

........................................................................................................

August Bier

August Karl Gustav Bier (24 November 186112 March 1949) was German surgeon and the pioneer of spinal anaesthesia. After professorships in Greifswald and Bonn, Bier became a professor at the Charité in Berlin.

Bier's breakthrough in spinal anaesthesia was made in 1898 when he performed the first planned spinal anaesthetic on a series of 6 patients for lower extremity surgery. Each of them received a spinal dose of cocaine and did well except for having nausea, vomiting and headache afterwards. After this series, Dr. Bier was to receive a spinal anesthetic administered by his assistant, one Dr. Hildebrandt. Unfortunately, although the spinal needle was placed correctly, with spinal fluid flowing freely from it, the syringe was only then discovered to not fit the needle. As a result, Dr Bier gained first-hand knowledge of the unpleasant post-spinal headache. Dr Hildebrandt instead became the recipient of the spinal anaesthetic which was achieved using cocaine. After the injection, Dr Hildebrandt's legs became numb and the two celebrated their success with wine and cigars. The profound analgesia of his legs was demonstrated with repeated kicks to his shins, which however, soon regained their sensation.

In 1908 he pioneered the use of intravenous procaine analgesia. Anesthesiologists still use the term Bier block for intravenous regional anaesthesia, where a local anaesthetic, usually Prilocaine, is injected into a vein in a limb below a tourniquet which is at a high enough pressure to trap the anaesthetic.

Bier's well-known quote is: "Medical scientists are nice people, but you should not let them treat you!"

(ที่มา : From Wikipedia, the free encyclopedia. http://en.wikipedia.org/wiki/August_Bier. Retrieved 24 July 2009)

 

หมายเลขบันทึก: 279952เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มารับความรู้ค่ะ
  • เอาเชอรี่ไทยมาฝากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

แวะมาหาอาหารสมองขอรับ..

เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามากครับ

สวัสดีค่ะ คุณ krutoi

  • ขอบคุณสำหรับอาหารกายที่น่ารับประทานยิ่งค่ะ
  • ปลูกเองหรือเปล่าคะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า  ธรรมฐิต

  • ขอบพระคุณที่แวะมาให้อาหารจิตค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ เบดูอิน

  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่เป็นพลังในการหาอาหารสมองได้เรื่อยๆอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยค่ะ
  • ขอบคุณมากๆนะคะ

แวะมาเยี่ยมในช่วงเช้า
และขอให้เช้านี้ เป็นเช้าชื่นแห่งชีวิต นะครับ

ขอบคุณกำลังใจของน้องแผ่นดินค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท