จับภาพงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 2


"งานมหกรรม R2R ปีนี้ต่างจากปีที่แล้วอย่างไร?"

คือ...โจทย์ที่ทันทีที่ข้าพเจ้าได้เจอท่าน อ.หมอวิจารณ์ ท่านก็ถามทันที ณ ขณะนั้นข้าพเจ้าตอบท่านเพียงแค่ว่าสถานที่ ที่เป็นลักษณะไม่เป็น "จุดร่วม" เพราะถูกกระจายด้วยโครงสร้างของตัวอาคาร...

เท่านี้ที่เรียนท่านไป...

แต่นั่นข้าพเจ้านำมาใคร่ครวญในตนเองว่า อะไรที่เป็นความเหมือนและความต่าง...

สถานที่นั้นแน่นอน ... ตามการจัดที่เป็น forum หรือเป็นในลักษณะงานมหกรรม ควรจะมีจุดที่เป็นที่รวมพลังให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว...เป็นจุดศูนย์กลาง ที่ที่ใครๆ ก็ไปรวมกันก่อนกระจายออกไปสู่พื้นที่ย่อยอื่นๆ แต่ในงานครั้งนี้ พลัง ณ ประเด็นนี้ดูจะเป็นจุดอ่อนกว่าครั้งก่อนที่จัดขึ้น...

ลักษณะของโครงสร้างอาคารบังคับให้ต้องจัดงานค่อนข้างเป็นการกระจาย สำหรับ Theme ที่เป็นประเด็นของการเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...และเน้นในเรื่องของการจัดการความรู้ ในทัศนะส่วนตัวของข้าพเจ้าเองมองว่า หากมีจุดศูนย์กลางของงาน...จะทำให้มีความโดดเด่นมากขึ้น

เป็นที่รวมและกระจายออก...

 

ประเด็นที่สอง...

เครือข่าย R2R เข้ามาสู่งานมหกรรมครั้งนี้มากขึ้น ความรู้สึกร่วมของการเป็นหนึ่งคนหน้างานของ R2R จะมีมากขึ้นในความรู้สึกของคนมาร่วมงาน นั่นอาจเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่เริ่มรู้จัก R2R ที่ผ่านช่องทางการบอกต่อ เวบไซต์ การเชื่อมโยงของเครือข่ายต่อ การประชาสัมพันธ์ ดังนั้น คนที่เข้าในร่วมในงานปีนี้จะดูมีเป้าที่มุ่งมั่นชัดเจนขึ้น ...นั่นอาจเป็นเพราะว่าอาจจะเป็นบุคคลที่กำลังอยู่ในช่วงของการคิดที่อยากจะทำ กำลังลงมือทำ และอยู่ระหว่างการทำ ตลอดจนได้ทำไปแล้ว...

ดังนั้น...การมาครั้งนี้ ผู้คนจะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เหมือนเป็นที่มารวมญาติ คนรู้จัก เครือข่าย คนคอเดียวกัน... ซึ่งต่างปีที่แล้วนั่นคือ...ดูจะเป็นคนแปลกหน้ามาเจอกัน

ประเด็นที่สาม...ความเข้มข้นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share & Learning) จะมีมากขึ้น อาจเชื่อมโยงมาจากประเด็นที่สอง เพราะคนที่เข้ามาร่วมงานดูจะมีเป้าหมายมากขึ้น และเมื่อมาแล้วย้อนกลับไปสู่การกลับไปมองหน้างานของตนเอง และคิดต่อว่าจะไปขยับขับเคลื่อนงานของตนเองต่ออย่างไรบ้าง.. และลักษณะของการเข้ามาร่วมงานนี้จะเป็นทีมมากขึ้น ทีมในที่นี่คือ ทีมของผู้ที่เป็นทั้งคนทำ R2R และผลักดันให้เกิดการทำ R2R ในหน่วยงานของตนเอง...

ภาพของคณะทำงานที่เครือข่ายดูมีความชัดเจนขึ้นกว่าปีที่แล้ว

แต่เสียดายว่าปีนี้...ไม่ได้ฟังทัศนะของ อ.หมอโกมาตร ในรูปแบบศิลปินทางการแพทย์ จะมีเพียงแค่ช่วงAAR คณะทำงานแต่ละระดับเท่านั้น ซึ่งดูเป็นทางการ... ความมีสีสรรของเวทีกลางจะขาดไฮไลท์ของงานไปซึ่งปีที่แล้วจะเปิดงานด้วยการเสวนากันใน Theme "ความสุขในการทำ R2R" ที่ อ.หมอโกมาตรเป็นผู้ดำเนินรายการนั้นจะเป็นที่กล่าวถึงและประทับใจ ... เท่าที่สอบถามพูดคุยกับเครือข่ายจะไม่มีจุดประทับใจมากนัก ของเวทีกลาง เพราะเป็นภาพที่มักปรากฏของงานมหกรรมอยู่แล้ว...แต่ความประทับใจในห้องย่อยในแต่ละช่วงนั้น ก็ยังคงเป็นที่กล่าวขานกันอยู่

 

แต่โดยภาพรวมของงานมหกรรม...ก็ยังคงจุดประกายการทำ R2R สำหรับคนหน้างาน...

หากเปรียบเป็นคนแล้ว R2R ก็เริ่มดูเหมือนเป็นเด็กที่สามารถเดินหรือวิ่งได้บ้าง...เริ่มเคลื่อนเข้าสู่สภาวะความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าเป็นห่วงก็คือ "ความสุขในการทำ R2R"... เพราะเมื่อไรที่ละทิ้งความสุขแล้วเมื่อนั้นเราก็จะเริ่มติดกับดักของการทำงานตามทัศนะอันคับแคบอยู่เฉกเช่นเดิม

สุข สนุก ในงาน

ฉันทำ งานมาก เหลือทน         แต่สุข ใจจน            จักโลด จักเต้น เผ่นผยอง

ทั้งนี้ เพราะจิต คิดปอง           เพียงว่า เราครอง      ชีพอยู่ เพื่ออยู่ ตามธรรม

ตามเหตุ ตามปัจ-  จัยนำ        อันเป็น ตามกรรม      สมส่ำ ไว้เอง เพรงกาล

หากตาย เหมือนได้ หยุดงาน  หลับหนึ่ง รัตติกาล     พักผ่อน หย่อนใจ ไว้ที,

รุ่งขึ้น จับงาน ขมี                   ขมัน ทันที                สืบต่อ งานค้าง ปางบรรพ์

วันใหม่ คือเกิด ใหม่,นั่น          แหละช่าง ตรงกัน      ทุกวัน สุขสนุก เพราะงาน.

 

จาก โลกรอดเพราะกตัญญู

จงเป็นคน กตัญญู รู้คุณโลก

ท่านพุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 278896เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่ก็รู้สึกเช่นกันว่า สถานที่ดูไปมาหากันลำบาก ทำให้เกิดข้อจำกัดเล็กน้อยค่ะ แต่การได้นั่งฟังผู้เล่าแบบใกล้ชิด ทำให้รู้ว่าคนที่ได้รางวัลมา ทุกคนทำงานมามาก งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รางวัล เหมาะสมทุกคนที่ได้รางวัลในห้องที่กลุ่มพี่จาก รพ ศรีนครินทร์ดำเนินการค่ะ ประทับใจทุกคน

ขอบคุณที่มีโอกาสมาร่วมทำงานให้ สวรส

ดีใจจังค่ะที่ประทับใจ...

ขอบคุณพี่แก้วด้วยเช่นกันที่มาร่วมทำสิ่งดีดี เพื่อโลกค่ะ...การที่เราได้นั่งลงและตั้งใจฟังเรื่องราวของบุคคลที่อยู่เบื้องหน้านี้ทำให้ใจเราอ่อนลงนะคะ...และได้มองเห็นความงดงามในจิตใจเขามากขึ้นค่ะ

 

สวัสดีครับอาจารย์ทั้งสองท่าน

พี่กะปุ๋มครับ

จะมีคนประมาณ 60 คนต่อรุ่น

อยากทราบว่าอาจารย์จะจัดที่นั่งแบบไหนครับ

กับพื้นหรือว่านั่งเก้าอี้ครับ

สวัสดีค่ะ...คุณหมอสุพัฒน์

พี่ยกเรื่องนี้ให้กับทางผู้จัดออกแบบเลยนะคะ เน้นในเรื่องการเรียนรู้ที่ไม่เครียด ผ่อนคลาย สบาย สบาย...และเป็นกัลยาณมิตรต่อกันนะคะ...

ให้ความสำคัญกับทุกท่านที่ได้เข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ครั้งนี้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท