ลักษณะของการวิจัย
การวิจัยที่ดีควรมีลักษณะ
ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2543 : 10)
1.
การวิจัยเป็นการคำนวณที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ
และความมีระบบ
2.
การวิจัยเป็นงานที่มีเหตุผลและเป้าหมาย
3.
การวิจัยจะต้องมีเครื่องมือ
หรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความ เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
4.
การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่และได้ความรู้ใหม่
กรณีที่ใช้ข้อมูลเดิมจุดประสงค์ต้องแตกต่างไปจากจุดประสงค์เดิม
ความรู้ที่อาจได้จากความรู้เดิมในกรณีที่มุ่งวิจัยเพื่อตรวจสอบซ้ำ
5.
การวิจัยมักเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งข้อเท็จจริง
เพื่อให้อธิบายรูปปรากฎการณ์หรือพัฒนากฎเกณฑ์ ทฤษฎี
หรือตรวจสอบทฤษฎี หรือพยากรณ์ปรากฎการณ์ต่าง ๆ
หรือเพื่อวางนัยทั่วไป (Generalization) หรือเพื่อแก้ปัญหาต่าง
ๆ
6.
การวิจัยต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์
กล้าหาญ บางครั้งต้องเฝ้าติดตามและบันทึกผลอย่างละเอียด
ใช้เวลานาน
บางครั้งผลการวิจัยคัดแย้งกับความเชื่อของบุคคลอื่นอันอาจจะให้ได้รับการโจมตี
ผู้วิจัยจำต้องใช้ความกล้าหาญเสนอผลการวิจัยตามความเป็นจริงที่ค้นพบ
7 การวิจัยจะต้องมีการบันทึก
และเขียนรายงานการวิจัยอย่างระมัดระวัง
เอกสารอ้างอิง
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2543.
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมครับ
8. การวิจัยเป็นการค้นหาความจริงซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ๆ ๆ ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล องค์ความรู้ ทฤษฎี ปรากฎการณ์ที่ถูกต้อง ถูกต้อง และถูกต้อง
9. การวิจัยจะต้องเกิดประโยชน์กับตัวผู้ทำเอง (มีความสุขกับการทำ) เกิดประโยชน์กับกลุ่มตัวอย่าง (ผู้ที่ตอบแบบสอบถาม,ผู้ร่วมกระบวนการ) เกิดประโยชน์กับแหล่งทุน, สังคม และประชาชนและประเทศชาติครับ
จากประสบการณ์ครับ
ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ