การมาพบแพทย์ถ้ามีการเตรียมตัว เตรียมใจ(อาจต้องรอตามลำดับการมา) ให้พร้อมก่อนมาตรวจ จะทำให้ได้รับความสะดวก ทั้งต่อตัวคนไข้ ตัวผู้ให้บริการ สถานบริการ และ คนไข้คนอื่น ๆที่มารอตรวจ โดยการเตรียม.........................
ก.เตรียม บัตรโรงพยาบาล , บัตรประชาชน , บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น บัตรทอง30 บาท บัตรข้าราชการ และ นำยา หรือ ซองยาเก่า ที่ใช้ หรือ เคยใช้มา ให้แพทย์ผู้รักษา ทราบด้วย และ ถ้าคาดว่าเป็นหนักแพทย์น่าจะให้นอนค้าง รักษาตัวใน สถานพยาบาล ก็อาจเตรียม ของใช้มาไว้เลย เป็นต้น
ข.เตรียม เลือกสถานพยาบาล ใกล้บ้าน ใกล้ใจ จะเป็นสถานพยาบาลประจำครอบครัว ที่จะระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิ เป็นอันดับแรก จะได้สะดวกในการมาหา เป็นสถานพยาบาลประจำครอบครัว ที่มีประวัติการรักษา สนิทสนม มาใช้บริการประจำ จนคุ้นเคย เพื่อให้บริการ ด่านแรก ก่อน เพราะ ถ้าด่านแรก ดูว่าเกินความสามารถ ก็จะให้คำแนะนำ มีใบส่งต่อ ให้ไปสถานพยาบาลที่เหมาะสม จะได้รับบริการ ได้รวดเร็วกว่าไปโดยไม่มีใบส่งตัว และ ยังใช้สิทธิ 30 บาทรักษาฟรี ได้ตามสิทธิ ถ้าให้นอน ก็สะดวกกับการมาเยี่ยมของญาติ ไม่ควรไปรักษาสถานพยาบาลที่ไกลจากบ้าน ที่ไม่ได้ ระบุไว้ในบัตร
ยกเว้น ในกรณี ฉุกเฉิน หรือ อุบัติเหตุ เกิดเหตุในที่ไกลจากสถานพยาบาลประจำครอบครัว สามารถเข้ารักษาสถานพยาบาลอื่นที่ใกล้ที่สุดได้
ค.เตรียมให้ความร่วมมือกับแพทย์ เพื่อให้ แพทย์ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวบรัด และ ครบถ้วน จะทำให้แพทย์ ได้ คำวินิจฉัยโรค ได้ง่าย ถูกต้อง และ รวดเร็ว โดยให้ความร่วมมือ ดังต่อไปนี้
จากหลักการวินิจฉัยโรค (วินิจฉัย แปลว่า การรู้ตลอด รู้อย่างชัดแจ้ง เกี่ยวกับการไม่สบายกาย ไม่สบายใจ) แพทย์จะทราบ คำวินิจฉัย จะต้องใช้ ข้อมูล ที่ได้ จาก 3 แหล่ง ต่อไปนี้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาคำวินิจฉัยแหล่งทั้ง 3 ที่จะหาข้อมูล ได้แก่ หาข้อมูลจาก……
1.การซักประวัติ เป็นข้อมูลที่จำเป็นมาก แพทย์สามารถให้คำวินิจฉัยได้ถึง 8 ใน 10 คนที่มาหา จากการซักประวัติ นี้อย่างเดียว ถ้าได้ประวัติ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ดังนั้น ตัวผู้ป่วย หรือ ญาติ จะต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ดี ได้แก่...
1.1-อาการไม่สบาย ต้องอธิบายให้ละเอียด ให้แพทย์เข้าใจ และ ระยะเวลาที่ไม่สบายมานานเท่าใดแล้ว
1.2-ประวัติสาเหตุ ที่คิดว่าอาจทำให้เกิดการไม่สบาย ขึ้น เช่น มีอาการคันมีผื่น หลังทานอาหารทะเลทุกครั้ง ก็จะรู้คำวินิจฉัย ได้จากประวัติว่าเป็นโรคผื่นแพ้จากอาหาร ทะเล
1.3-ประวัติ การรักษามาก่อนมาพบ ควรนำยาที่ใช้อยู่ มาให้ดูด้วย หรือ ถ้ายาหมด ก็ควรเก็บซองยาไว้เพราะซองยาจากสถานพยาบาลทางราชการจะมีการเขียนชื่อไว้ว่าเป็นยาชื่ออะไร วิธีใช้ยาอย่างไร เพื่อเป็นประวัติว่าทานยากลุ่มนี้แล้วดีขึ้น หรือ ไม่ดีขึ้น จะได้มาประมวลให้การรักษาได้ง่ายขึ้น และ
1.4-ควรแจ้งโรคประจำตัว , การแพ้ยาให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายจากการให้ยารักษา เช่น เป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือ เรียกโรค G-6-PD (โรค จี-ซิค-พี-ดี) ห้ามให้ยาแอสไพริน ถ้าทานไปจะทำให้เม็ดเลือดแดง แตก ทำให้เกิดเลือดจาง ได้ หรือ แพ้ยา เพนนิซิลลิน ถ้าทานไปอาจทำให้เกิดผื่นบวมแดง บางคนแพ้มากบวมในเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ อุดกั้นทางเดินหายใจ อาจทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้
2.การตรวจร่างกาย เป็นข้อมูลที่จำเป็นรองลงมา แพทย์สามารถให้คำวินิจฉัยได้ถึง 1-2 คนจาก 10 คน จากการตรวจร่างกาย เช่น ถ้าเดินตัวงอ มาให้เห็น ก็นึกถึงไส้ติ่งอักเสบ จะเจ็บท้องน้อยด้านขวามาก จึงต้องเดินงอตัว เพื่อให้ไม่กระเทือนถึงท้องน้อยด้านขวา , ที่เปลือกตาบน มีปื้นสีเหลือง นึกถึง มีไขมัน ในเลือดสูง , การมีผื่นเป็นวง นึกถึง ผื่นจากเชื้อรา การมีรอยฟกช้ำ ที่ใต้ชายโครงขวา ในคนประสบอุบัติเหตุมา ให้ระวังตับแตก ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ตับแตก หรือ ไม่ ดังนั้น จะต้องเปิดเผยส่วนที่ผิดปกติ ให้แพทย์ได้ตรวจ ดูด้วย
การ แต่งกาย มาตรวจควร ให้สะดวกต่อการตรวจ ร่างกายของแพทย์ เช่น เป็นผื่นที่ขา ก็ไม่ควรใส่กางเกงขายาว ควรใส่ขาสั้น มา เป็นต้น
3.การทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นข้อมูลที่เจ็บตัว และ เสียค่าใช้จ่ายมาก หากไม่ จำเป็น แพทย์มักจะไม่ส่งตรวจ เพราะ ส่วนใหญ่ จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ ถูกต้อง ก็มักได้คำวินิจฉัย แล้ว เกือบทุกคน มีส่วน น้อยกว่า 5 % ที่จำเป็นต้องส่ง ตรวจ เพื่อ การวินิจฉัยโรค ใน บางโรค เช่น
-สตรี ถูกข่มขืน มา การ เก็บ สิ่งต่าง เกี่ยวกับการ ถูกข่มขืน จะต้องเก็บรักษาไว้ ให้เหมือนเดิม และ รีบมาให้แพทย์เก็บส่งตรวจโดยเร็ว น้ำอสุจิที่เปื้อนกางเกงใน ค้างอยู่ ในช่องคลอด ต้องเก็บไว้ไม่ควรชะล้างหลักฐานสำคัญนี้ออก เพราะ สามารถตรวจยืนยันว่าเป็นน้ำอสุจิ จริงหรือไม่ และยังสามารถตรวจ ดีเอ็นเอ ได้ ว่าเป็นของของใคร ไม่ต้องกลัวถ้าไม่รีบชำระออกจะตั้งครรภ์ได้ เพราะ ถ้ารีบมาภายใน48 ชั่วโมง หลังถูกข่มขืน จะมียาให้รับทานป้องกันการตั้งครรภ์ ได้ ดังนั้น การรีบมาเร็วที่สุด จะดีกว่าการมาช้า
-ปัสสาวะขัด ก็ควรกลั้นปัสสาวะไว้ให้แพทย์ตรวจ แต่ ถ้าปวดปัสสาวะมากก็ปัสสาวะออกพอให้หายปวดแต่ให้เหลือปัสสาวะไว้บ้าง เพื่อให้ห้องแล็ป ตรวจได้ เป็นต้น
ง.และที่สำคัญอีกอย่างยิ่ง ต้องเตรียมคำถาม เมื่อได้รับการตรวจแล้ว อย่าเพิ่งคิดว่าเสร็จสิ้น แล้ว ไปรับยาอย่างเดียว ควร ต้องถามเพื่อให้รู้ด้วยว่า
1.เราป่วยเป็นอะไร ถ้าแพทย์ลืมบอก จะต้องถามด้วย และ จำให้ได้ เพื่อจะได้บอกแพทย์ถูก เมื่อไม่สบายคราวหน้า
2.เราป่วย เกิดจากการปฏิบัติตัวผิดอย่างไร จะได้ไม่ทำผิดอีก เช่น โรคกระเพาะ เกิดจากทานผิดเวลา จะได้ทานให้เป็นเวลา จะได้ไม่ป่วยด้วยโรคกระเพาะอีก และ
3.เราควรรู้ด้วยว่าแพทย์ให้ยาอะไรบ้าง ถ้าได้ไม่ครบ หรือ สงสัย เรื่อง การรักษา จะได้ถามกับแพทย์ได้เวลานั้น เลยไม่ต้องเดินกลับมาถามอีก และ ควร ถามการ ปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้หายได้ง่ายขึ้น และ
4.อาการที่ไม่ปกติ ที่ควรกลับมารักษาซ้ำ หรือ ถ้าไม่ดีขึ้น ก็ควรจะกลับมาหาสถานพยาบาลแห่งเดิม ไม่ควรเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่
จ.ควร ขออนุญาติ ขอ เบอร์โทรฯมือถือ ของ แพทย์ประจำครอบครัว (แพทย์ประจำตัว)ไว้ด้วย เพื่อเป็นที่ปรึกษา เมื่อไม่สบาย เฉพาะ เวลากลางวัน และ เบอร์สถานพยาบาลประจำครอบครัวไว้ สำหรับ เวลากลางคืน เพื่อให้คำปรึกษา ในเวลาไม่สบายตอนยามวิกาล
สรุปเมื่อเตรียมให้พร้อม ก่อนมา ย่อมดีกว่า การไปแบบ รีบร้อนลืมสิ่งนั้น ลืมสิ่งนี้ จะทำให้เสียความรู้สึกในการมารับริการ
ไม่มีความเห็น