โปรแกรมกระตุ้นระบบความรู้สึก - ฝึกพ่อแม่ดูแลเด็กเล็ก


ขอบคุณกรณีตัวอย่างที่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลเพื่อการศึกษานำร่องผลของการนำกิจกรรมบำบัดและกรอบความคิดพัฒนาการมาใช้ฟื้นฟูเด็กอายุ 9 เดือน ที่กระจกตาเลือนลาง นาน 6 สัปดาห์ๆ 1 ครั้งๆ ละ 1 ชม.

ปัจจุบันการฟื้นฟูเด็กที่มีปัญหาการมองเห็นด้วยกิจกรรมบำบัด มักอยู่ตามโรงเรียนการศึกษาพิเศษในระดับเด็กเล็กอายุมากกว่า 2 ปี แต่เด็กทารกและเด็กเล็กน้อยกว่า 12 เดือนหลายรายที่มีสายตาเลือนลาง หรือ กำลังจะตาบอดเนื่องจากความเสียหายของประสาทจอตา ที่มีสาเหตุลึกๆ จากการคลอดก่อนกำหนดและไม่ได้รับการป้องกันแสงในตู้อบได้อย่างเหมาะสม

กรณีตัวอย่างหลายรายต้องเดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือไม่ พ่อและแม่ต้องนั่งรถโดยสารหอบลูกมาเพื่อพยายามเรียนรู้หนทางที่จะช่วยลูกเล็กและคาดหวังว่าจะให้ลูกเล็กมองเห็นเหมือนปกติ

ผมพยายามให้ความรู้เชิงจิตวิทยาว่า หากลูกมองไม่เห็น ก็สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอยู่ได้ พร้อมแนะนำให้เห็นความสามารถของเด็กที่ปรับตัวให้ใช้ระบบความรู้สึกอื่นๆ โดยธรรมชาติ เช่น กลอกลูกตาขณะสัมผัสกาย รับเสียง และเคลื่อนไหวอย่างเร็ว โดยตอบสนองแสงแต่ไม่ตอบสนองวัตถุ

ผมจึงสาธิตท่าทางที่เหมาะสมในการให้เด็กรับรู้อย่างสะบายและปลอดภัย ให้นึกว่าเราหลับตาและอยากรับรู้สิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยการให้อุ้มแกว่งในท่านั่ง ใช้ได้ทุกครั้งที่เด็กรู้สึกหงุดหงิดหรือยี้หลับตาเมื่อมีแสงจ้า จากนั้นจับนอนคว่ำเหมือน superman แล้วแกว่งให้เด็กรับรู้ในอีกทิศทางหนึ่ง เมื่อเด็กคุ้นเคยจึงมานั่งบนเบาะโยกแขก จับมือเล่นของเล่นแบบสัมผัสจากกายพ่อแม่ จากของเล่นมีเสียงสลับไม่มีเสียง การพูดคุย การเล่น การหม่ำนม เป็นต้น

จากนั้นตรวจพัฒนาการการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ที่สัมพันธ์กับการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ จะพบว่า เด็กเริ่มมีลำดับการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง จำเป็นต้องมีการสอนพ่อแม่ให้รู้จักการกระตุ้นในหลายรูปแบบ และนัดหมายมาอาทิตย์ละครั้งเพื่อปรับท่าทางการทำกิจกรรมตามพัฒนาการมากขึ้นตามความก้าวหน้าที่เด็กเรียนรู้อย่างสมวัย เช่น จับเด็กนั่งยองๆ เท้าแตะเบาะไปมา เคลื่อนจากนอนหงายมาคว่ำ จากคว่ำมาหงาย จากนอนคว่ำมานั่งชันคอ จากนอนหงายมานั่งชันคอ จนถึงคืบโดยแตะสัมผัสข้อเข้าทีละข้าง แต่ละท่าต้องกระตุ้นอย่างมีจังหวะและสังเกตการรับความรู้สึกสัมผัสกายผ่านข้อต่อและการเคลื่อนไหวส่วนๆต่างของร่างกาย หากเด็กหงุดหงิดจากการกระตุ้นท่าทาง เพราะไม่เคยมีประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาการอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ก็พักและนำมาผ่อนคลายด้วยการโยกไปมาในท่าทางอุ้มนั่ง superman และแขนเล่นต่างๆ

โปรแกรมข้างต้นต้องทำอย่างน้อย 30 นาที ค่อยๆ ทำให้สม่ำเสมอเพื่อการปรับตัวและเรียนรู้พัฒนาการของเด็กที่สายตาเลือนลาง ทำเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน ....จากนั้นผมลองให้คุณพ่อคุณแม่ของเด็กน้อยนี้ลองทำให้ผมดู จะได้มั่นใจว่านำกลับไปทำต่อที่บ้านได้ถูกต้อง ....ขณะนี้ผมและเพื่อนที่เป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กสายตาเลือนลางกำลังติดตามผลของกิจกรรมบำบัดอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร หากช่วยได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดลูกตาของเด็กน้อยผู้นี้

หมายเลขบันทึก: 277382เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมื่อผู้ปกครองของกรณีศึกษานี้ได้ฝึกกระตุ้นการรับรู้และการทำกิจกรรมการเล่น โดยปรับเปลี่ยนโปรแกรมทุกๆสัปดาห์ แต่ละสัปดาห์กิจกรรมจะปรับตามลำดับที่ท้าทายความสามารถในการพัฒนาของเด็กมากขึ้น ครั้งละไม่เกิน 5 ท่า

ปัจจุบันกรณีศึกษานี้สามารถมองตามการใช้มือ และมีการรับรู้แสงทางการมองเห็นมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีแรกในไทยที่มีการใช้กิจกรรมบำบัดในเด็กเล็กสายตาเลือนลาง และกำลังจะเผยแพร่สู่รายการทีวีเร็วๆนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท