โปรแกรมจัดการความคิด - ซึมเศร้า


ขอบคุณกรณีตัวอย่างที่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลเพื่อการศึกษานำร่องผลของการนำกิจกรรมบำบัดและกรอบความคิดการจัดการตนเองมาใช้ฟื้นฟูระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตหลังโรคซึมเศร้า นาน 6 สัปดาห์ๆ 1 ครั้งๆ ละ 1 ชม.

แก่นของการจัดโปรแกรมนี้ คือ พัฒนากระบวนการคิดอย่างลึกซึ้งเพื่อให้มีสมาธิจดจ่อกับการวางแผนกระทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผมทักทาย pt. และให้หลับตาเพื่อทบทวนความคิดของตนเองนาน 1 นาที จากนั้นให้เขียนความรู้สึกทางบวกสุดๆ ลบสุดๆ บวกและลบ และความคาดหวัง ในกระดาษเล็กอย่างละ 1 แผ่น (แยกกันเพื่อไม่ให้ถ่ายโอนความรู้สึก)

pt. เขียนทางบวกและลบ ว่า "สบายใจเมื่อได้ระบายอะไรออกไป แต่เมื่อมองไปที่ผู้ที่ทำกายภาพบำบัด ก็คิดว่าเรายังไม่แก่เลย ทำไมเราต้องมาทำอะไรซึ่งคล้ายกายภาพบำบัดด้วย คิดว่าต้องเป็นแบบนี้ไปอีกนานเท่าไร" [ผมอ่านวิเคราะห์ พบว่า มีความรู้สึกลบปนอยู่บ้าง บ่งชี้ว่า clear mind บ้าง]

pt. เขียนทางลบสุดๆ ว่า "อยากตายไปให้พ้นจากโลกนี้ไปเลย จะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมานต่อไปกับโรคบ้าๆนี้" [ผมอ่านวิเคราะห์ พบว่า มีความรู้สึกลบและกลัว บ่งชี้ว่ามีภาวะซึมเศร้าบ้าง]

pt. เขียนบวกสุดๆ ว่า "อยากมีอาการที่ดีขึ้นจากโรคนี้ โดยจะทำวิธีไหนก็ได้ ใช้เวลาแค่ไหนก็ตาม [ผมอ่านวิเคราะห์ พบว่า มีความรู้สึกคาดหวังและมุ่งมั่น บ่งชี้ว่ามีแรงบันดาลใจ]

pt. เขียนความคาดหวังว่า "อยากมีความสุขบนโลกนี้ อยากมีชีวิตที่เป็นปกติไม่ซึมเศร้า ไม่วิตกกังวลจนเกินไป อยากคอยดูแลพ่อแม่เมื่อพ่อแม่เจ็บไข้ได้ป่วย [ผมอ่านวิเคราะห์ พบว่า มีความรู้สึกคาดหวังแต่คิดไกลเกินไป บ่งชี้ว่าต้องปรับทัศนคติให้มองความสุขจากการกระทำกิจกรรมมากกว่าโรค และอยู่ในปัจจุบัน]

จากนั้นทดสอบสมาธิของการแยกแยะเสียงตัวโน้ต "โด" โดยผมกดตัวโน้ตอื่นๆ สลับกับ "โด" อย่างไม่เฉพาะเจาะจง รวมจำนวน 20 ครั้ง ให้ pt. ตอบว่าตัวโน้ตที่กด ใช่ หรือ ไม่ใช่ ตัว "โด"

ครั้งที่ 1 pt. คิดฟุ้งซ่าน เสียสมาธิ ทำให้แยกแยะเสียง Keyboard ผิดพลาดไป 10 ครั้ง

จากนั้นให้ pt. หลับตา แม้ว่าจะได้ยินเสียงภายนอก ก็พยายามลดสิ่งเร้าด้วยตนเอง มีสมาธิทบทวนตนเอง ฟังเสียงลมหายใจผ่านเข้ารูจมูกขวา ค้างไว้โดยใช้นิ้วโป้งปิด หายใจออกรูจมูกซ้าย หายใจเข้ารูจมูกซ้าย ค้างไว้โดยใช้นิ้วชี้ปิด หายใจออกรูจมูกขวา ทำเช่นนี้สลับไปมาจนมั่นใจว่าเรามีสมาธิจดจ่อ แล้วพร้อมที่จะทดสอบแยกแยะเสียงตัวโน้ต "โด"

ครั้งที่ 2 pt. เริ่มมีสมาธิ แยกแยะเสียง Keyboard ผิดพลาดไป 8 ครั้ง

จากนั้นให้ pt. ใช้ผ้าปิดตา ใช้ฟองน้ำเล็กอุดหู นั่งทบทวนความคิดว่า ณ เวลาปัจจุบัน เรากำลังทำกิจกรรมอะไร ย้อนเวลากลับไปเรื่อยๆ ถึงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เกิน 5 วัน แล้วเปิดตา เปิดหู มองดูตัวเองในกระจก เมื่อพร้อมก็ให้บรรยายความคิดสู่กระดาษว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ได้ทำไปแบบคิดย้อนกลับ (reversible thinking and clear mind) แล้ว(วงกลม)กิจกรรมที่ชอบพร้อมกับเล่าประสบการณ์นั้นอย่างสบายใจ

pt. เขียนว่า นั่งมองตัวเองในกระจกเพื่อทบทวนตนเอง

วันนี้ตื่นเช้าตอน 8.00 นั่งรถมาเพื่อมามาพบ ดร. ป๊อป

วันพุธ นอนหลับตอนเที่ยงคืน (ดูละครพร้อมกับทานข้าวเย็น) น้องชายมารับที่ออฟฟิต นั่งฟังการอบรม นั่งรถมาทำงาน (อยู่บ้าน) ตื่นนอน

วันอังคาร นอนตอนห้าทุ่ม ดูละคร ปรึกษางานรุ่นพี่ นั่งรถกลับบ้าน ทานม่าม่า ซื้อยา (ซื้อกางเกงใหม่) นั่งรถ  อยู่บ้าน ตื่นนอน

วันจันทร์ นอนตอนห้าทุ่ม ดูละคร (เล่นฟิตเนส) ทานข้าวนอกบ้าน อยู่บ้าน ตื่นนอน

วันอาทิตย์ เข้านอนตอนห้าทุ่ม ดูทีวี นั่งรถไปห้าง ทำงานบ้าง ออกจากบ้าน ตื่นนอน

[ผมอ่านวิเคราะห์ พบว่า มีการจัดตารางกิจกรรมการดำเนินชีวิตดี บางช่วงมี routine และมี relax บ้าง บ่งชี้ว่าต้องปรับทัศนคติเพิ่มการทบทวน leisure ในปัจจุบัน]

นำประสบการณ์ที่ดีสะท้อนความรู้สึกออกเป็นภาพศิลปะ อย่างช้าๆ อยู่กับการทบทวนความคิดของตนเองอย่างต่อเนื่อง...ปรากฎว่า pt. วาดรูปต้นไม้ใหญ่สีเขียวสดใส 1 ต้น มีผลไม้สีแดงลูกโต 4 ลูก บนต้นไม้ใหญ่ที่ตระหง่านท่ามกลางหญ้าเขียวขจี เรียงลายดอกไม้สีส้มสวยอย่างสมดุลข้างต้นไม้ใหญ่ละ 2 ดอกไม้ ทางมุมขวามีพระอาทิตย์ดวงโตสีแดงส่องแสงสีเหลืองอบอุ่น ...เมื่อพูดคุยพบว่า กิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่อยากทำและวางแผนไว้ข้างหน้าว่าจะทำให้ได้จะได้รู้สึกมีความสุขกับความชอบปลูกต้นไม้ [ผมวิเคราะห์ พบว่า มีความคิดวางแผนและฝันได้ดี แต่อยากปรับบริบทสู่ธรรมชาติมากกว่าผู้คนในสังคม บ่งชี้ว่ามีความเครียดทางสังคมบ้าง และอยากผ่อนคลายกับกิจกรรมยามว่างตามธรรมชาติ ซึ่งไม่มีโอกาสได้ทำเลยใน 5 วันที่ผ่านมา...ผมสะท้อนกลับไปที่ pt. ว่า หากมาทำโปรแกรมกิจกรรมบำบัดครั้งต่อไป แล้วได้วงกลมกิจกรรมปลูกต้นไม้นี้ ถือว่า pt. คิดและกระทำได้อย่างตั้งใจ]

จากนั้นให้เขียนความรู้สึกหลังทบทวนตนเองอีก 1 นาที pt. เขียนว่า "รู้สึกมีสมาธิในการฟังบ้าง แต่บางทีก็ใจลอยถึงเรื่องอื่น" แล้วทดสอบแยกแยะเสียงครั้งสุดท้าย

ครั้งที่ 3 pt. มีสมาธิและความตั้งใจแยกแยะเสียง Keyboard ได้ดีขึ้นหลังจากเรียนรู้โปรแกรม โดยผิดพลาดเพียง 3 ครั้ง

ก่อนจบโปรแกรมและนัดหมายอาทิตย์ถัดไป ให้ pt. สรุปสาระชีวิตที่ได้รับจากโปรแกรมวันนี้ คือ

"ให้คิดทบทวนย้อนกลับไปข้างหลังว่าทำอะไรมาบ้าง ให้อยู่กับตัวเอง มองตัวเรามากขึ้น โดยใช้วิธีต่างๆ โดยฝึกลมหายใจ โดยที่ไม่ต้องคิดกังวลไปถึงวันข้างหน้ามากๆ เพราะถ้าคิดไปข้างหน้ามากๆ จะทำให้เราเครียดมากๆ ได้"

ขอบคุณกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมที่ทำให้ ดร. ป๊อป คิดโปรแกรมนี้เพื่อ pt. ท่านนี้และท่านอื่นๆ ที่กำลังจัดการความคิดหลังซึมเศร้าอยู่

หมายเลขบันทึก: 277376เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

  •  เข้ามาเรียนรู้โปรแกรมจัดการความคิดด้วยคนค่ะ วิธีการของ Dr. Pop น่าสนใจมาก เป็นวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเองที่ดีทีเดียว ไม่ทราบว่าคล้ายๆ กับการนั่งวิปัสนา หรือเปล่าคะ
  •  ขออนุญาตนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้บ้างนะคะ
  •  ขอบคุณมากค่ะ

             

ยินดีให้ครูใจดีนำไปใช้ต่อได้ครับ จริงๆ ไม่คล้ายวิปัสสนา เพราะเน้นทบทวนความคิดอยู่กับตัวเองในสภาวะหลับตาครับ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณนะคะ จะลองนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กๆที่ป่วยดู...

ลองให้เขาเขียน...วาดสิ่งที่เป็นบวก....เล่าเรื่อง...

ขอบคุณนะคะ...

ยินดีอย่างยิ่งครับคุณแดง

ขอบคุณครับ ดร.สำหรับคำแนะนำดีๆอะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท