เรื่องของข้าว เก็บมาฝาก


จากที่ได้อ่านบทความเรื่องการหุงข้าว อย่าให้มีควัน ของอาจารย์ นพ.วัลลภ ดิฉันก็นึกถึงเรื่อง การกินข้าวหม้อเดียวกัน ดิฉันได้ไปอ่านเจอ บทความหนึ่งของ อาจารย์ ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล เรื่องการกินข้าว จึงเก็บมาฝากทุกคน บทความเกี่ยวกับ การกินข้าวหม้อเดียวกัน  ซึ่งดิฉันได้ประสบกับตัวเอง คือเรื่องมีอยู่ว่าดิฉันกับน้องจะเล่นอะไรด้วยกันเสมอ เล่นไปเล่นมาก็ทะเลาะกันทุกที จนแม่ดิฉันก็พูดออกมาว่า กินข้าวหม้อเดียวกัน ทะเลาะกันเหมือน หมา เลย  นี่ก็เป็นคนพูดที่ดิฉันจำมาตลอด ก่อนที่ดิฉันจะเข้าเรียนเสียอีก

เราลองไปดูความหมายของคำว่า กินข้าวหม้อเดียวกันเลย

กินข้าวหม้อเดียวกัน แปลว่า กินข้าวจากหม้อที่หุงข้าวใบเดียวกัน. 

         คนที่กินข้าวจากหม้อใบเดียวกัน ถือเป็นคนครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวขนาดเล็กที่มีเพียงพ่อแม่กับลูก ครอบครัวขยายที่รวมปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา หรือครอบครัวที่รวมข้าทาสบริวารตลอดจนคนงานที่อยู่ในบ้านนั้น. 

         เมื่อนำมาใช้เป็นสำนวน กินข้าวหม้อเดียวกัน จะมีความหมายว่า คนในคณะเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน เช่น คณะลิเก คณะดนตรี ซึ่งผู้ที่แสดงด้วยกันมักต้องเดินทางกินนอนด้วยกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน จึงมักรักใคร่กลมเกลียว ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่นเดียวกับคนในครอบครัวเดียวกัน.

ผู้เขียน  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

หมายเลขบันทึก: 27638เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์สมัทรชา...คนเขียนข่าว
  • บันทึกของอาจารย์น่าสนใจ
  • ภาพสไลด์โชว์ดูดีมากครับ ทว่า...อาจจะทำให้การอ่านบล็อกช้าลงไปได้มาก
  • 1). ลองเปิดด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำดู แทบจะอ่านบล็อกไม่ได้เลย เพราะภาพขึ้นช้ามาก...
    2). ถ้าเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วปานกลางขึ้นไป... ใช้ได้ครับ
  • การกินข้าวหม้อเดียวกัน จะรักกันนะครับ
  • ขอบใจมากที่นำมาให้อ่าน

ขอบคุณ อาจารย์ทั้งสองท่านมากนะคะ ที่เข้ามาติดตาม และให้ข้อเสนอแนะแก่ดิฉัน

สิ่งที่อาจารย์ นพ.วัลลภ แนะนำมา ดรีมจะลองไปปรับเปลี่ยนดูตามที่แนะนำนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ ขจิต ที่เสริมบทความนี้นะคะ

กินข้าวหม้อเดียวกันแล้วยังมีเรื่องทะเลาะกันอีกแบบนี้เขาเรียยกว่าไม่รักกัน แล้วอย่างนี้จะไปสู้คนข้างนอกได้ไงในเมื่อบ้านยังไม่สงบเลย

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา

ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่สอนคนที่ทะเลาะกันได้ดี แต่ทั้งนี้คนที่นำมาพูดต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องคอยห้าปราม ไม่ใช่คนที่ชอบทะเลาะกับผู้อื่นตลอดเวลา

เหมือนสุภาษิตที่ว่า "ขว้างงูไม่พ้นคอ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท