กายใจไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้ ประสบการณ์การดูจิตเพื่อฝึกสติ12 ให้สนใจเรื่องธรรมะหรือธรรมดาของโลก เล่าเรื่องพระอนุรุทธที่ไม่มองที่ตัวเราทำให้เนิ่นช้าและชมโยมแม่ว่าดีขึ้น


12-7-52

วันนี้ดิฉันและคุณชัยณรงค์เดินทางเช้าเป็นพิเศษที่จะไปวัดสวนสันติธรรมโดยคุณชัยณรงค์ทำพะโล้และผัดวุ้นเส้นพร้อมของที่ถวายวัดคือน้ำยาถูพื้น หลอดไฟ แป้งทาตัว น้ำยาล้างมือ

วันนี้หลวงพ่อท่านเริ่มให้คนสนใจเรื่องธรรมะหรือเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่มีเกิดแก่เจ็บตาย   แต่คนไม่สนใจการเรียนรุ้ตัวเองโดยเรียนรู้ที่กายและใจของเรา   ท่านเล่าว่าพระอนุรุธที่สามารถเห็นความเกิดดับของสัตว์โลกมากมายในเวลาสั้นๆ   แต่ไม่บรรลุธรรม   เมื่อท่านพระสารีบุตรให้มารู้กายใจตัวเองท่านสามารถบรรลุธรรมได้

หลวงพ่อให้เรามาเรียนรู้ของจริงๆที่เกิดขึ้นในกายใจของเราและจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเราทำให้มีสุขขึ้นภายในไม่เกินเดือน

ท่านเล่าว่ามีโยมที่ทำงาน5บริษัท  ต้องส่งลูกเรียนอัก2-3คนเรียนพิเศษจนบางครั้งงงเพราะส่งผิดโรงเรียน เป้นคนที่มีปัญหาครอบครัว   กว่าจะกลับบ้านก็5ทุ่ม   ไม่มีเวลาปฏิบัติ

หลวงพ่อแนะนำให้ดูกายจิต และเดินจงกรม     โยมใช้เวลา5ทุ่มเดินและพยายามดูกายจิต   ต่อมาโยมเห็นความทุกข์ของทั้งกายและจิตซึ่งเกิดขึ้นเอง บังคับไม่ได้   ไม่ใช่ตัวเรา   เมื่อจิตรวมก็บรรลุมรรคผลไดโสดาบันซึ่งใช้เวลาไมกแต่ขอให้ปฏิบัติจริง

ท่านว่าของฟรีไม่มีในโลกนี้   อยากได้ต้องทำเอง   

หลังจากท่านให้โยมส่งการบ้าน   ดิฉันไม่กล้ายกมือเพราะยังไม่มีอะไรมาส่ง   แต่มีโยมหลายคนที่อยู่รอบๆดิฉันถามท่านหลายคนโดยท่านให้โอกาสคนที่ยังไม่ค่อยได้มาวัดเพราะบางคนมาไกลๆ

ดิฉันคอยสบตาท่านเผื่อจะดูให้ดิฉันบ้างโดยไม่ต้องถาม   (บางครั้งท่านจะบอกให้ทราบเลยโดยไม่ถามเช่นหลงไปแล้วนะโยมคนเสื้อเหลืองๆเพื่อให้โยมเรียนรู้ตัวเอง    )

หลังจากท่านสอนโยมเสร็จท่านสอนพระต่อจากโยม    ในช่วงที่ท่านสอนพระดิฉันได้ยินท่านบอกพระป๋องว่าโยมแม่ดีขึ้นนะ      โยมพ่อไปใหนล่ะ    ดิฉันดีใจรีบหันไปเรียนท่านว่าไปเอาของที่รถมาถวายวัดค่ะ

พอคุณชัยณรงค์มาถึงก็รีบเล่าให้ฟังด้วยความดีใจ

แต่ความจริงดิฉันก็รู้สึกว่าตัวเองมีสติถี่ขึ้นกว่าเดิมค่ะ    ในใจก็อยากรู้ว่าเราดูเป็นหรือเปล่า   แต่ไม่กล้าถามก็คิดเอาเองว่าคงเริ่มเป็นแล้วนะแต่ต้องเพียรมากขึ้นค่ะ 

 ดิฉันได้หาข้อมูลของพระอนุรุทธมาให้พอเป็นข้อมูลเพราะดิฉันมีความรู้ทางพุทธประวัติน้อยค่ะ

ธรรมศึกษา  ชั้นโท

๑๕.   ประวัติ  พระอนุรุทธะเถระ

สถานะเดิม

                 พระอนุรุทธเถระ      พระนามเดิม        เจ้าชายอนุรุทธะ      เป็นพระนามที่พระญาติทั้งหลายขนานให้

                      พระบิดา      พระนามว่า      อมิโตทนะ      เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโะทนะ

                     มีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน      ๒     พระองค์            คือ      .   พระเชษฐา พระนามว่า       เจ้าชายมหานามะ       ๒พระกนิษฐภคินี      พระนามว่า     โรหิณี

. มูลเหตุแห่งการบวชในพระพุทธศาสนา

                       เมื่อพระศาสดาทรงทำการสงเคราะห์ญาติ      แล้วเสด็จจากกบิลพัสดุ์ไปประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน     สมัยนั้น     เจ้าชายมหานามะ     เสด็จเข้าไปหาเจ้าชายอนุรุทธะ     ตรัสว่า      พ่ออนุรุทธะบัดนี้         ศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงพากันบวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้า        แต่ตระกูลของเรายังไม่มีใครบวชเลย       เธอหรือพี่จะต้องบวช      ในที่สุดเจ้าชายอนุรุทธะตัดสินพระทัยบวชเองจึงพร้อมด้วยกษัตริย์อีก     ๕     พระองค์คือ       ภัททิยะ      อานันทะ        ภคุ   กิมพิละ      และเทวทัต      พร้อมกับอุบาลีภูษามาลา      ได้ไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยอัมพวัน           ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

.   การบรรลุธรรม

                      พระอนุรุทธเถระนี้    ครั้นบวชแล้วได้เรียนกรรมฐานในสำนักพระธรรมเสนาบดีแล้วได้ไปประจำอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน        ในเจติยรัฐ บำเพ็ญสมณธรรม     ตรึกมหาปุริสวิตกได้    ๗     ข้อ      คือ

                        .   ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย      ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก

                       .   ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่   ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ

                       .    ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว       ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ

                       .    ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร      ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน

                       .    ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง       ไม่ใช่ของคนหลง

                       .    ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง        ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง

        .    ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา  ไม่ใช่ของผู้ทรามปัญญา

          พระศาสดาทรงทราบว่า     ท่านลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่    ๘    จึงเสด็จไปยังที่นั้นตรัสอริยวังสปฏิปทา  ว่าด้วยการอบรมความสันโดษในปัจจัย  ๔  และยินดีในการเจริญกุศลธรรม       แล้วตรัสมหาปุริสวิตก       ข้อที่     ๘     ให้ บริบูรณ์ว่า

                         .    ธรรมนี้เป็นของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า         ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า

                 พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปยังเภสกลาวัน  ท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ได้เป็นพระขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์       เป็นพระอรหันต์ มีวิชา   ๓

งานประกาศพระศาสนา

                       ชีวประวัติของท่านน่าศรัทธาเลื่อมใส       จากผู้ที่เป็นสุขุมาลาชาติที่สุด      ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินคำว่า        ไม่มี          ต้องการอะไรได้ทั้งนั้น               แต่เมื่อเข้าบวชในพระพุทธศาสนาแล้วกลับเป็นผู้มักน้อยสันโดษ          เก็บผ้าจากกองขยะมาทำไตรจีวรนุ่งห่ม     โดยไม่มีความรังเกียจ       กลับมีความยินดีว่านั่นเป็นการ      ปฏิบัติตามนิสัย      คือที่พึงพาอาศัยของภิกษุ      ๔     ประการ

.   เอตทัคคะ

                      พระอนุรุทธเถระได้บรรลุพระอรหัตพร้อมวิชา     ๓     คือ     บุพเพนิวาสานุสสติญาณ        ทิพพจักขุญาณ       และอาสวักขยญาณ       ตามปกตินอกจากเวลาฉันภัตตาหารเท่านั้น    นอกนั้นท่านจะพิจารณาตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพพจักขุญาณ เปรียบกับคนธรรมดาก็เหมือนกับ     ผู้มีใจเอื้ออาทรคอยเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้อื่นตลอดเวลา )      เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ได้ทิพยจักษุญาณ

บุญญาธิการ

                     พระอนุรุทธเถระนี้       ได้สร้างสมบุญกุศลที่จะอำนวยผลให้เกิดทิพยจักษุญาณในพุทธกาลเป็นอันมาก       คือได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬารที่พระสถูปเจดีย์         ด้วยผลบุญอันนี้จึงทำให้ได้บรรลุทิพยจักษุญาณ       สมกับปณิธานที่ตั้งไว้

ปรินิพพาน

                       พระอนุรุทธเถระ        ครั้นได้เป็นพระขีณาสพ        สิ้นชาติสิ้นภพ         อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จหน้าที่ส่วนตัวของท่านแล้วได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระพุทธศาสนา     จนถึงพระศาสดาปรินิพพาน       ก็ได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย             เป็นผู้ที่รู้ว่าพระศาสดานิพพานเมื่อไร       อย่างไร      สุดท้ายท่านเองก็ได้ละสังขารปรินิพพาน       ไปตามสัจธรรม

อนุพุทธประวัติ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37

                     

     

 

หมายเลขบันทึก: 275696เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท