บทบาทของอายุรแพทย์และความสมดุลย์ระหว่างงานบริการกับงานพัฒนาคุณภาพ


พัฒนางานในฝ่ายอายุรกรรมให้ดีทั้ง ดีต่อตัวเรา และดีต่อส่วนรวม (สถาบันและผู้ป่วย)

                เนื่องจากผมได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในส่วนของ HA ที่ทางสถาบันฯ ของพวกเรายื่นขอรับการตรวจ และได้รับการ Accredited ผ่านไปแล้วนั้น ทำให้ผมมีโอกาสมองเห็นปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหา รวมถึงคาดการณ์สถานการณ์บางอย่างเกี่ยวกับทางฝ่ายอายุรกรรมในอนาคตใกล้นี้ได้หลายเรื่อง โดยผ่านการทบทวนเรื่องราวต่างๆ ผ่านแบบประเมินตนเองของ พรพ. (Unit profile) ตามที่พวกเราทราบกันดีว่า การบริหารจัดการหลายประเด็นในงานของสถาบันฯ มี work load อยู่ที่ฝ่ายอายุรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และยังไม่เป็นที่น่าพอใจในการบริหารจัดการ  การ service อยู่หลายประเด็นเช่นกัน ดังนั้นใน Unit profile  ช่วงที่มีการเสนอ พรพ. ผมได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการที่แพทย์อายุรกรรมเป็น Critical factor ในการทำให้เกิดหรือไม่ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพให้ทางผู้บริหาร และคณะพรพ. ได้รับทราบ โดยได้เสนอแนวทางการจัดปริมาณงานและการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมให้แก่อายุรแพทย์ เพื่อชักนำให้อายุรแพทย์ให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพ เพื่อที่จะนำ Care team ในส่วนอื่นๆ ให้มีการพัฒนาตามกันไป ทุกท่านคงได้รับทราบมติจากผู้อำนวยการเรื่องการเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับอายุรแพทย์ในส่วนของการรับ Consult case ผู้ป่วยในที่ได้เวียนผ่านไปเร็วๆ นี้แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาระบบงานตามระบบ HA ที่ถูกเขียนอยู่ใน Unit profile แน่นอนคงไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ พวกเราคงต้องช่วยกันพัฒนางานในฝ่ายอายุรกรรมให้ได้ดีทั้ง 2 ด้าน
                1. ดีต่อตัวเราเอง                   2. ดีต่อส่วนรวม (สถาบัน และผู้ป่วย)
                เนื่องจากผมเองเป็น Clinician ซึ่งทุกท่านก็เป็นเหมือนผม ดังนั้นผมขอเสนอแนวคิดที่นำเอางาน Service ขึ้นต้น เพื่อให้ได้งานที่ดีต่อส่วนรวม โดยมี concept ว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำงานหนัก sweating เกินความจำเป็น ทุกคนควรมีเวลา Break  พักผ่อน, หาความรู้จากการประชุมตามอัตถภาพ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องมี commitment ต่อตนเองและฝ่ายอายุรกรรม ในเรื่องของการพัฒนางาน รับผิดชอบต่องานที่ผมจะใช้ความพยายามให้มีความเหมาะสมทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ โดยจะวางแผนพ่วงเข้าไปให้สามารถประยุกต์ใช้ในการทำ HA ได้ด้วย หรืออีกนัยหนึ่งคือ จะใช้งานบริการ routine เป็นตัวตั้ง ส่วน HA เป็นตัวผลพลอยได้จากงาน routine ไม่ใช่ใช้เอกสารเป็นตัว dictate ให้พวกเราทำตามเอกสาร แต่อาจต้องยอมรับว่าพวกเราอาจต้องพัฒนางานบางอย่างให้มีประเด็นครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงอาจต้องมีการบันทึกข้อมูล หรือกิจกรรมที่เป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น
                ในปัจจุบันพวกเราเริ่มมีกำลังคนมากขึ้นพอที่จะรับมือ work load ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ทั้งหมด) กลยุทธ์ที่ผมคิดว่าต้องนำมาใช้ในขณะนี้คือ การบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยนอก ซึ่งมักเป็นจุดที่อ่อนไหวในกรณีที่พวกเราติดงาน ติดประชุมพร้อมกันทีเดียวหลายคน ในมุมมองของผมแล้ว คิดว่าน่าจะจัดการได้โดยการทราบตารางการลาล่วงหน้า
                สุดท้ายนี้ผมคิดว่าในยุคนี้น่าจะเป็นยุคที่เราจะสบายมากขึ้น ในแง่การดูแลผู้ป่วยในสถาบัน เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา ถ้าบวกกับการร่วมคิดร่วมทำในเรื่องการบริหารจัดการอีกเล็กน้อย ผมคิดว่า พวกเราน่าจะอยู่ในภาวะอยากทำในสิ่งที่ทำในเชิงวิชาการได้ โดยมีภาระงานน้อยลง (เท่าแผนกอื่น) แต่ไม่ใช่สบายจนไม่มีงานทำ ผมคงมีหน้าที่เหมือน Conductor, Lobbyist, Co-ordinator แล้วแต่จะเรียกมากกว่า ที่จะเป็นหัวหน้าอายุรกรรม (จริงๆ ผมไม่ชอบตำแหน่งนี้เท่าไร)  เพื่อที่จะทำให้พวกเรามี 2 งาน  1. Clinician     2. งานพัฒนาคุณภาพ จาก Service สู่ HA โดยทำแบบ well-planed ภายใต้เงื่อนไขของความสมดุลย์

นพ.วิศิษฏ์  ประสิทธิศิริกุล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27469เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งที่สถาบันได้รับทั้งจากแพทย์และพยาบาลค่ะ      จะติดตามตอนต่อไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท