หลักสูตรในบ้าน : ในบ้านก็จัดการเรียนรู้ได้


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

       

          หลักสูตร (หลัก+สูตร) คงหมายถึง แนวทางหรือข้อกำหนดที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ไปใช้ได้บรรลุสิ่งที่ต้องการไว้กับแนวทางนั้น นักวิชาการและผู้รู้ได้เขียนไว้คล้ายๆกัน เช่น

                 กรมวิชาการ (2544 : 3 - 8)ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า เป็นข้อกำหนดว่าด้วยจุดหมาย แนวทาง วิธีการ และเนื้อหาสาระในการวัดผลการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ เจตคติและพฤติกรรมตามที่กำหนดในจุดมุ่งหมายของการศึกษา

                 สุมิตร คุณากร (2523 : 2 – 3) ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 2 ระดับ ได้แก่ หลักสูตรหมายถึง แนวทางการจัดการศึกษาของชาติเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะตามที่สังคมประเทศชาติต้องการ ซึ่งเป็นไปตามปรัชญา ค่านิยมของคนในชาติ และนโยบายของประเทศ และหลักสูตร หมายถึง แนวทางของโรงเรียนที่จะจัดการศึกษาและบริหารการศึกษาเพื่อความเจริญงอกงามของนักเรียนทุกด้าน

                วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 3) ให้ความหมายหลักสูตร ในความหมายที่แคบที่สุด คือ วิชาที่สอนซึ่งจะบ่งบอกความมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งทรัพยากร และการประเมินผลให้กับครูผู้สอน

               ธำรง บัวศรี (2531 : 7) ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง แนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งครูจะต้องคอยตะล่อม ชักจูง และตกแต่งการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

               สงัด อุทรานันท์ (2532 : 12) ให้ความหมายว่า หลักสูตรในความหมายของขอบเขตข้อกำหนดเกี่ยวกับการเรียนการสอน หมายถึง เอกสารที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยรายละเอียดของจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน รายละเอียดของเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน และเวลาที่ใช้ในการเรียน

                 ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 107) ให้ความหมายว่าหลักสูตรท้องถิ่นหมายถึงมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ

                เอกวิทย์ ณ ถลาง ให้ความหมายของหลักสูตรว่า หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดให้กับเด็กได้เรียนเนื้อหาวิชา ทัศนคติ แบบพฤติกรรม กิจวัตร สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ฯลฯ เมื่อประมวลกันเข้าแล้วก็จะเป็นประสบการณ์ที่เข้าไปในการรับรู้ของเด็ก

                ภิญโญ สาธร ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการศึกษาที่กำหนดให้ นักเรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามแผนการศึกษา

                กมล สุดประเสริฐ กล่าวว่า หลักสูตร มิได้หมายความแต่เพียงหนังสือหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้นแต่ยังมีความหมายถึงกิจกรรมและประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับเด็ก จึงรวมถึงการสอนของครูต่อนักเรียนด้วย

                 วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ และถ้ากล่าวถึงในแง่เอกสารจะใช้คำว่า หนังสือหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร

                หลักสูตรในบ้าน  คงหมายถึง การจัดประสบการณ์ในครอบครัว เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งเป็นสมาชิก ได้เรียนรู้สิ่งที่ครอบครัวกำหนดขึ้น เช่น

  • ด้านการดำรงชีวิต

  • ด้านการปฏิบัติตามระเบียบหรือวัฒนธรรมประเพณี

  • การเรียนรู้เรื่องอาชีพตามความถนัด

  • กีฬา

  • ดนตรี ศิลป

  • คหกรรม งานบ้าน

  • ฯลฯ

                  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากขึ้น มากกว่าในตำรา ที่สำคัญคนที่จัดประสบการณ์คือบุคคลที่เป็นพี่ เป็นพ่อ เป็นแม่ หรือเครือญาติอื่นๆที่มาร่วมจัดประสบการณ์เพื่อให้หลักสูตรในบ้านมีความสมบูรณ์มายิ่งขึ้นอยากให้ลองทำดู

                  สิ่งสำคัญ....อย่าลืมวัดผลประเมินผลด้วยครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตรในบ้าน2
หมายเลขบันทึก: 274139เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

กราบสวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.

  • ครูอ้อย มาเรียนรู้ และสนับสนุน เรื่องนี้ ที่จัดการได้ ในบ้าน ในครอบครัวค่ะ
  • ทุกสิ่ง ในโลกใบนี้ เป็นความรู้
  • อยู่ที่เรา ผู้อาศัย จะจัดการอย่างไร ให้โลกนี้ สวยงาม น่าอยู่ และมีประโยชน์
  • บ้าน ครอบครัว ก็เช่นกันค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ

  • เข้าใจว่าหลายที่จัด Home school
  • ได้ดีทีเดียว
  • ที่นครปฐมเข้าใจว่ามีหลายครอบครัวครับ
  • ผอ สบายดีไหมครับ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • กับแนวทางและการกระตุ้นความคิดที่ดีค่ะ

เรียนท่านผอ.ประสิทธิ์

หลักสูตรความรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร

รวมเบ็ดเสร็จ วิชาชีวิต

บ้านมีความสุข แบ่งปัน 

เพื่อนบ้านก็เป็นสุขตามค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • วันนี้พูดกับเด็กนัทว่า...ปิด ๕ วันนี้เรียนรู้อะไรบ้าง  เขียนหลักสูตรให้ตัวเองด้วยนะ
  • เธอตอบว่า..ค่ะ  โดยไม่ถามต่อ
  • อ๊ะ...จะรอดูผลงานค่ะ

สวัสดีค่ะท่านผอ.เขต

  • ได้เข้ามาเยี่ยมและติดตามผลงานผอ.เขตที่นี่บ่อยๆมาเป็นแรมเดือนแล้ว
  • แต่ยังไม่มีโอกาสโพสต์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย
  • เนื่องจากหยุดเขียนบล็อกมาเกือบปีแล้วได้แต่ผ่านมาอ่านแล้วเลยผ่านไป
  • วันนี้ พอมีเวลา เลยได้มาขำกลิ้งกับภาพนางแบบตกน้ำ
  • ยังไงก็...ยังคงติดตามผลงานของท่านต่อไปค่ะ
  • สวัสดี

สวัสดีค่ะ

ครอบครัวมีความพร้อมก็สามารถทำได้ เพราะครอบครัวจะสามารถจัดประสบการณ์ที่ดีและเป็นสถานที่ให้ความอบอุ่นมากที่สุดค่ะ

สวัสดีคะท่านผอ.วันประชุมครูเรื่องรักษาความปลอดภัยที่ผอ.บอกว่าครูที่สอนอนุบาลและป.๑ ควรเป็นคนที่ตั้งใจสอน ดิฉันข้องใจมานานแล้วว่าทำไมคนที่เรียนจบเอกไทยมาถึงไม่ให้สอนช่วงชั้นที่๑ เพราะจะได้เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในชั้นที่สูงขึ้น ถึงไม่จบเอกไทยก็ขอให้เป็นคนผิดชอบในการทำงานไม่ต้องสอนเก่งมากมายแต่ขอให้ขยันสอน ลองถามดูซิเรื่องเกี่ยวกับหลักภาษาตั้งแต่ ชั้นป๑-๓ ส่วนใหญ่ไม่เน้น ให้ไปเรียนรู้ในชั้น ป.ปลาย เคยคุยกันเล่นๆว่าเหมือนบ้านหลังคาสวยแต่เสาปลวกกินเคยขอผู้บริหารสอนแต่เขาก็ไม่ให้เพราะห่วงว่าถ้าไม่ให้ครูจบเอกไทยสอน ป ปลายเดี๋ยวจะสอบแล้วผลสัมฤทธิ์จะตำทำไมไม่คิดว่า ขึ้นมาถึงป.ปลายต้องแก้เรื่องเขียนหนังสือไม่ถูกต้อง เขียนไม่มีหัวไม่มีหาง วางรูปสระไม่ถูกต้อง อ่านออกปาวๆแต่จับใจความไม่ได้คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ขอความกรุณาให้ท่านผอ ช่วยเน้นให้ผู้บริหารโรงเรียนแก้ปัญหาในจุดนี้ด้วยคะ เคยคุยกับเพื่อนที่สงขลาเขาบอกว่าที่สงขลาส่วนใหญ่ถ้ามีคนจบเอกไทยเขาให้สอนป.๑-๒เพื่อสร้างพื้นฐานให้กับนักเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท