เทคนิคการใช้คำถามสำหรับครู : แนวคิดจาก ดร.นิพนธ์ ไทยพานิช


เทคนิคการใช้คำถาม,คำถาม
          ผู้ทำหน้าที่ในการสอนหรือจัดการเรียนรู้  ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการถามคำถาม  แก่นักเรียนกันมาแล้ว แต่เพื่อให้พฤติกรรมการสอนมีระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  จึงขอเสนอเทคนิคการใช้คำถาม ตามแนวคิดของ ดร.นิพนธ์ ไทยพานิช ซึ่งท่านได้แนะนำไว้ 2 ประการ ดังนี้
    ประการที่ 1 ทักษะการเตรียมคำถาม
             ทักษะการเตรียมคำถามและใช้คำถามที่มีประสิทธิภาพเป็นภารกิจที่ผู้สอนต้องฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ  เพราะคำถาม เป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดกระบวนการคิดขึ้นในผู้เรียน และเกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ  คำถามที่ดีทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้หลายระดับ  ตั้งแต่ระดับความจำไปจนถึงระดับประยุกต์ วิเคราะห์และประเมิน  หากจะกล่าวโดยกว้างๆแล้ว  คำถามมี 2 แบบ คือคำถามแบบแคบ   กับคำถามแบบกว้าง
      1.คำถามแบบแคบ  หมายถึง  คำถามที่ถามเพื่อเป็นข้อเท็จจริง หรือใช้ความคิดในระดับต่ำ ให้จำหรือเข้าใจ  คำถามแบบนี้ผู้เรียนจะตอบเพียงว่าใช่หรือไม่ใช่ หรือตอบเฉพาะเจาะจงลงไปตามข้อ
เท็จจริง คำถามแบบแคบๆยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
             1.1 คำถามระดับความจำ  เป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบจากการจำหรือสังเกตสิ่งที่พบเห็น หรือจากประสบการณ์การเรียนโดยตรง
             1.2 คำถามจากกว้างไปแคบ  คำถามชนิดนี้กว้างกว่าคำถามระดับความจำ  แต่คำตอบที่ถูกต้องมีข้อเดียว ผู้เรียนต้องรวบรวมความจริงจากความจำ หรือสังเกต แล้วนำมารวมเป็นความคิดหรือความเข้าใจใหม่เพื่อตอบคำถามนั้น
        2. คำถามแบบกว้าง  หมายถึงคำถามที่เมื่อถามแล้วผู้เรียนต้องคิด และมีคำตอบที่ถูกได้หลายข้อ ซึ่งผู้เรียนอาจจะตอบจากการตั้งสมมุติฐานหรือคาดคะเน หรือประเมิน คำถามแบบกว้างยังแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
             2.1 คำถามจากแคบไปกว้าง หมายถึงคำตอบที่ถูกมากกว่าหนึ่ง  และคำตอบนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่นักเรียนคาดเอาไว้  และอาจเป็นคำตอบซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่อไป เช่นถามถึงจุดเด่น จุดอ่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน เมื่อผู้เรียนสามารถตอบได้ ผู้สอนจะได้ถามต่อไปถึงวิธีแก้ไข พัฒนาเป็นต้น
            2.2 คำถามเพื่อประเมิน  หมายถึงคำถามที่ผู้เรียนต้องพิจารณาหาเหตุผลว่าคำตอบนั้นถูกต้องเพียงไร เช่นคำถามให้คาดคะเนเหตุการณ์ตัวอย่าง  ถ้าเรียนหัวข้อนี้อีกครั้งหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
  ประการที่ 2 หลักบางประการที่ผู้สอนควรตระหนักในการถามคำถาม
    จากคำถามแบบต่างๆแล้ว การถามนั้นผู้สอนควรตระหนักในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
     1. ควรให้เวลาผู้เรียนคิดตอบปัญหา กล่าวคือหลังจากที่ผู้สอนป้อนคำถามต่อผู้เรียนแล้ว ถ้าเป็นคำถามที่กว้างควรให้โอกาสผู้เรียนคิด  เพราะถ้าเร่งให้ผู้เรียนตอบ ผู้เรียนที่รวบรวมความคิดช้า อาจจะหยุดคิดและแยกตัวเองออกหรืออาจสร้างเจตคติทางลบได้
     2.ควรเริ่มจากคำถามที่ง่าย
     3.ปรับปรุงคำถามให้เข้าใจดีขึ้น  ถ้าถามแล้วยังไม่ได้รับคำตอบ อาจเป็นเพราะผู้เรียนไม่เข้าใจ
คำถาม ผู้สอนต้องพิจารณาปรับปรุงคำถามใหม่ที่มีความหมายเหมือนกันหรืออธิบายให้กระจ่างขึ้น
     4.ปรับปรุงคำถามให้ง่ายขึ้น ถ้าผู้เรียนยังไม่ตอบ แม้อธิบายให้กระจ่างแล้ว  ผู้สอนควรปรับปรุง
คำถามให้ง่ายขึ้น
     5.การปฏิบัติถ้าผู้เรียนตอบไม่ได้จริงๆ  ผู้สอนไม่ควรตอบคำถามแต่ควรแนะหาวิธีให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาคำตอบ โดยแนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นแนวทาง ทั้งนี้เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมการใฝ่หาความรู้ของผู้เรียน
     เทคนิคการใช้คำถามที่เสนอนี้ นอกจากครูผู้สอนแล้วผู้นิเทศไม่ว่าจะเป็นผู้นิเทศภายนอกหรือภายในโรงเรียนอาจนำไปประยุกต์ใช้กับผู้รับการนิเทศได้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27349เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  บทความจากการอ่าน เป็นการดึงความรู้จากผู้รู้ จากตำรา ผู้บันทึกน่าจะวิเคราะห์เพิ่มเติมสู่แนวปฏิบัติมากกว่านี้ นะจ๊ะ
เย็นนี้ถ้าไม่ไปไหน อย่าลืมไปสังสรรค์กันที่หัวลำโพงหน่อยนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท