พัฒนาสมาชิกในองค์การให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (Total Person)


ดอกบัวสี่เหล่า

1. พัฒนาสมาชิกในองค์การให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (Total Person) ซึ่งมีอยู่ 6 ด้านคือ

1.1 ด้านร่างกาย มีสมรรถนะพร้อมต่อการทำงานหรือไม่ หรือจัดบรรยากาศให้เอื้อ
ต่อการทำงานอย่างปกติราบรื่นหรือไม่ โดยเน้นที่ตัวบุคคลในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาบรรยากาศดังกล่าวด้วย อาจใช้กิจกรรม 5 ส. เป็นฐานก็ได้

1.2 ด้านจิตใจ การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การอาจมีความเครียดเกิดขึ้นได้จึงต้องจัดระบบการบริหารความเครียดให้กับพนักงาน เช่น การฝึกคลายกล้อมเนื้อโดยการออกกำลังกาย การจัดที่ปรึกษาด้านจิตหรือรับฟังความวิตกทุกข์ร้อนของสมาชิก

1.3 ด้านสติปัญญา ประเมินจากการเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานก็ได้ว่า พนักงานสร้างแนวทางใหม่ ๆ ที่จะปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ประหยัดขึ้น หรือสร้างสรรค์แนวคิดแปลก ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การหรือไม่ หากไม่มีทั้งนวตกรรมใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ใด ๆ เลย อาจตีความได้ว่าผู้บริหารยังไม่จัดบรรยากาศ หรือเปิดโอกาสให้เขาแสดงบทบาทได้อย่างเต็มที่

1.4 ด้านความรู้และคุณธรรม ประเมินจากผลงานที่เกิดขึ้นว่าได้เข้าไปพัฒนา ความรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญ แก่พนักงานหรือไม่ โดยตรวจวัดจากปริมาณ และคุณภาพของผล ผลิตหรือบริการ ในขณะเดียวกันการพัฒนาแต่ความรู้โดยไม่ผนวกความรับผิดชอบต่อตนเองและ ส่วนรวม มุ่งแต่จะพัฒนาผลผลิตโดยไม่สนใจผลกระทบใด ๆ ต่อบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมก็คงเป็น การลำบากอย่างยิ่งที่จะเป็นมุนษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งความรู้และคุณธรรมต้องพัฒนาไปด้วยกัน แยก ส่วนไม่ได้

1.5 ด้านจริยธรรม และวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน จิตเป็นนายและกายเป็น บ่าว หากจิตมีลักษณะอย่างไรก็จะกำกับหรือสั่งกายให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น ดังนั้นการ พัฒนาคุณธรรมของสมาชิกในองค์การจะมีส่วนในการนั้นพฤติกรรมได้ เช่น การรับผิดชอบต่อตน เอง ต่อผู้อื่น ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อองค์การ

1.6 สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สมาชิกในองค์การที่ตัดสินปัญหา ด้วยเหตุผล แทนการตัดสินปัญหาด้วยอารมณ์จะสามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การ จัดระบบให้มีการตรวจประเมินสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในองค์การอยู่เนือง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น กล่าวโดยสรุปตัวชี้วัดที่ไวที่สุดที่จะวัดว่าสมาชิกในองค์การ ปฏิบัติงานอย่างมีความ สุขหรือไม่ คือ "อาการทน" หรือ "ความรู้สึกทน" ถ้าหากต้องปฏิบัติงานอย่างทนทำ สักวันหนึ่ง ความเครียดสะสมก็จะถึงจุดที่เรียกว่า "ทนไม่ได้" หรือ "ทนไม่ไหว" สมาชิกก็จะต้องออกจากองค์ การไป หากเขาเป็นกำลังสำคัญขององค์การ องค์การก็จะต้องสูญเสียสิ่งที่เรียกว่าเป็นอวัยวะที่ดีไป

      สรุปการจะบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ต้องบริหารคนในองค์กรก่อนเห็นด้วยกับบทความนี้มาก

คำสำคัญ (Tags): #คนดีองค์กรดี
หมายเลขบันทึก: 272911เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทความที่ดีครับชอบครับผมจะนำไปใช้ครับ

ถ้าสมาชิกในองค์กรดีก็จะพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าค่ะ

 รับรางวัลด้วยค่ะ

P      ขอบคุณที่มอบให้รางวัลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท