การตัดสินใจ


การตัดสินใจ
(Decision Making)

บทความของ  เทพ สงวนกิตติพันธุ์ นักวิชาการศึกษา  ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี

        ความสำคัญของการตัดสินใจ

                ความสามารถในการทำงานหรือการบริหารงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติแล้วสิ่งสำคัญประการหนึ่งของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ (Decision Making) การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงาน ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่ในแทบทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการของการทำงาน แม้แต่บุคคลทั่วไปก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงเรื่องการตัดสินใจได้ นับตั้งแต่บุคคลตื่นขึ้นมาก็จะมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกชุดที่จะใส่ เวลาที่จะออกจากบ้าน เส้นทางที่จะใช้เดินทาง เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่าการตัดสินใจในเรื่องทั่ว ๆ ไปเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมายนัก แม้ตัดสินใจแล้วผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก แต่ถ้าเรื่องที่ตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งหมายถึง เรื่องที่หากตัดสินใจแล้วผิดพลาดจะเกิดความเสียหายมากหรือแก้ไขได้ยาก การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆ เหล่านี้ควรต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงไป ทั้งนี้การตัดสินใจในบางเรื่องของบุคคลอาจหมายถึงชีวิตหรืออนาคตของบุคคลนั้น ทำนองเดียวกันกับการตัดสินใจในบางเรื่องของผู้นำหรือผู้บริหารอาจหมายถึงความอยู่รอดหรือไม่ ของกลุ่ม ของหน่วยงาน หรือขององค์การ เป็นต้น

        ความขัดแย้งใจของบุคคลในการตัดสินใจ

             เนื่องจากความต้องการของบุคคลหลาย ๆ อย่างอาจเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งใจเมื่อต้องเลือกตัดสินใจ ซึ่งปรากฏได้ 3 ลักษณะ คือ

2.1   Approach and Approach Conflict เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากต้องตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวจากสิ่งที่ต้องการหรือชอบทั้งคู่หรือทั้งหมด เช่น ต้องการทั้งรถยนต์และบ้านแต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว เป็นต้น

2.2    Avoidance and Avoidance Conflict เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากต้องตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวจากสิ่งที่ไม่ต้องการหรือไม่ชอบทั้งคู่หรือทั้งหมด เช่น ไม่ต้องการถูกลดขั้นเงินเดือน หรือตัดเงินเดือน  แต่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

2.3  Approach and Avoidance Conflict เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากต้องตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ จากสิ่งที่มีทั้งความต้องการหรือชอบและไม่ต้องการหรือไม่ชอบอยู่ในของแต่ละสิ่งนั้น ๆ เช่น ทางลัดแต่ถนนไม่ดีกับทางอ้อมแต่ถนนดี ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง หรือ ชอบของหวานแต่กลัวอ้วน ต้องเลือกว่า  จะกินของหวานหรือไม่กิน เป็นต้น

        ภาวะความขัดแย้งใจของบุคคลดังกล่าวจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเสมอ ก่อให้เกิดปัญหาแก่บุคคลในการตัดสินใจ ดังนั้นบุคคลจึงควรอาศัยประสบการณ์ และข้อมูล    ต่าง ๆ  ตลอดจนควรจะมีกระบวนการที่ดีในการตัดสินใจจึงจะช่วยลดปัญหาความผิดพลาดในการตัดสินใจลงได้

กระบวนการของการตัดสินใจที่ดี

                      การตัดสินใจของบุคคลจะมีตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายน้อยไปจนถึงเสียค่าใช้จ่ายมาก มีเวลาในการตัดสินใจมากไปจนถึงมีเวลาน้อย เป็นต้น ดังนั้นการตัดสินใจที่ดีจึงควรมีกระบวนการที่ดีในการตัดสินใจจึงจะช่วยให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดน้อยที่สุดและเกิดผลดีมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วกระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

4.1       กำหนดเรื่องที่จะตัดสินใจ (Decision Statement)

4.2      กำหนดเกณฑ์ที่ต้องการ (Criteria)

4.3      ตัวเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดมีกี่ตัว (Alternatives)

4.4       วิเคราะห์ส่วนดีของตัวเลือกแต่ละตัว (Benefit Analysis)

4.5       วิเคราะห์ส่วนเสียของตัวเลือกแต่ละตัว (Risk Analysis)

4.6       เปรียบเทียบส่วนดีและส่วนเสียของตัวเลือกทุกตัวและตัดสินใจ (Decision)

สาเหตุที่ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด

                      การตัดสินใจของบุคคลที่มักจะเกิดความผิดพลาดอาจเกิดสาเหตุต่าง ๆ ได้หลายสาเหตุ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญ ๆ ที่พอจะยกมากล่าวได้ คือ

5.1       การตัดสินใจโดยอาศัยนิสัยและความเคยชิน

5.2      การตัดสินใจที่ขาดข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่ดี

5.3       การตัดสินใจที่มีเวลาจำกัดหรือรีบร้อน ขาดความระมัดระวัง

5.4       การตัดสินใจที่ถูกอิทธิพลบางอย่างครอบงำ ทำให้เกิดอคติหรือเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

5.5       การตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนกิเลส ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง

                จากบทความ เรื่องการตัดสินใจนี้  ทำให้เราทราบว่าการเป็นผู้บริหารนั้น ต้องบริหารทุกอย่างรวมไปถึงการบริหารใจของเราเองด้วย เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดต่อองค์กร และเกิดความเสี่ยง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

หมายเลขบันทึก: 272491เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การตัดสินใจของผู้บริหารไม่ว่าเราตัดตัดสินใจไปไหนทางไหนก็ตามเมือเลือกที่จะทำแล้วต้องยอมรับกับผลที่จะตามมาและพร้อมที่จะแก้ไขกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น จะไม่มีคำว่า"เสียใจ" ตามมาเพราะสิ่งที่เราตัดสินใจนั้นคือสิ่งที่เราต้องคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนแล้ว "จงเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนคิด" ดังเช่นพระราชดำรัสของในหลวง "เราจะปกครองด้วยความเป็นธรรม" คำพูดนี้ยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยาย จดจำ เป็นแบบอย่างที่ดี คิดดี ทำดี ได้สิ่งดีๆ ตอบแทน

พี่โอ๋ค่ะ

อ่านแล้วได้แง่คิด ดีๆ ขึ้นเยอะเลย

อ่านแล้วนะกำลังจะเอางานไปให้เรื่องนี้พอดีเลย

ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่เข้ามาให้กำลังใจนะคะ นางบ้านนา

ตัดอะไรตัดได้โดยไม่ต้องคิด แต่ตัดสินใจต้องคิดหน่อยเพราะถ้าพลาดพลั้งและเสียหาย

ดีค่ะได้ความรู้

อ่านแล้วครับ ได้แง่คิดดี ๆ เยอะเลย

ยื่งอยู่ในตำแหน่งที่สูง การตัดสินใจยิ่งต้องรอบคอบ เพราะต้องรับผิดชอบผลที่จะตามมา การตัดสินใจผิดพลาดอันเนื่องมาจากมูลเหตุ 5 ประการ ตามที่เขียนมาน่าจะหมดไปจากทำเนียบผู้บริหารของประเทศไทยได้แล้ว

การตัดสินใจในบางเรื่องเป็นเรื่องที่ยาก บางครั้งเรื่องที่ตัดสินใจอาจกระทบกับจิตใจของคนอื่น ดังนั้นก่อนตัดสินใจควรคิดให้รอบครอบทุกด้าน แวะมาให้กำลังใจ

พี่เปิ้ลมีเวลาอ่านแล้วนะคะได้รับความรู้มาก ๆเลยค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะคะ นางบ้านนา

                          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท