ออกนอกห้องเรียน...ชี้แนะแต่ไม่ชี้นำ


พยายามอย่าติดยึดกับวิถีการเดิมๆ แล้วการก่อเกิดความเพิ่มพูนขององค์ความรู้จะเกิดขึ้น

หากเปลี่ยนได้ไหม๊เราแค่ชี้แนะแต่อย่าชี้นำ...


 

  วันนี้ระหว่างนั่งรอที่ประชุมคณะฯ ขณะที่นั่งทำงานไปพลางๆอยู่นั้นก็มีอาจารย์ท่านนึงเดินเข้ามาพูดคุยผมเองจำท่านได้ดีครับว่าเคยเจอท่านมาก่อนที่ ม.ทักษิณ สมัยยังต้องเดินทางไปเรียนที่ ม.ทักษิณ คุยไปคุยมาท่านบอกว่าท่านทำงานอยู่ที่นี่แหละนานแล้วแต่อยู่ที่กองการเจ้าหน้าที่ปีนี้ได้โอกาสให้มาช่วยสอน(อัลฮัมดุลิลละฮฺ) อาจารย์เริ่มประโยคกับผมว่า "ผมอ่านงานของอาจารย์แล้วชอบมาก...อัลฮัมดุลิลละฮฺ" แล้วต่อด้วยการเปิดประเด็นว่า ผมยังใหม่สำหรับการสอนอยากได้รับคำแนะนำในวิถีคิดและมุมมองจากหลายๆท่านที่มีประสบการณ์ในการสอนแต่ก็ไม่กล้า ก็เลยได้โอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

    ท่านถามว่านักศึกษากลุ่มนี้ (ขอไม่บอกนะครับสาขาใด) เป็นไงบ้าง ท่านสะท้อนว่าไม่รู้ท่านสอนเป็นนไงบ้างเห็นนักศึกษาไม่ค่อยพูดคุยเลย ไม่อยากรับโอกาสที่เขาให้มาแล้วทำหน้าที่ได้ไม่ดี (ท่านมีความตั้งใจมากครับดูจากการพูดคุย) คราวนี้ได้ทีของผมเสนอมุมมองต่อท่าน อิอิ ได้โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมก็เลยเสนอท่านว่าทำไมเราไม่ให้เขาได้พูดเองบ้างหละครับ หรือ ไม่ก็ไปเรียนรู้นอกห้องที่ไม่ใช่ในห้องเรียนเพราะเขาเป็น "นักศึกษา ไม่ใช่ นักเรียน" บางคร้งการเรียนแต่ในห้องมันทำให้เด็กมีวิถีคิดสลัดไม่พ้นคราบของความเป็นนักเรียนเลยฟังอย่างเดียว (เรียนจริงๆ) ลองให้เขาได้พยายามอ่านโดยหาบทความที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือหยิบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนมาแล้วมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนกันโดยที่เราไม่ชี้นำก่อนแต่รอคอยชี้แนะดีกว่าเพื่อฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ตามมุมมองด้วยเหตุและผลของเขาเอง ผมเสนอใ้ห้ไปเรียนใต้ต้นไม้หากนักศึกษาไม่เยอะหรือสถานที่ไหนก็ได้ในมหาวิทยาลัยในเมื่อเราเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ วิธีการนี้เคยเสนอเพื่อนอาจารย์(รุ่นพี่ที่ ม.อ.) ที่เพิ่งมาสอนใหม่ก็อัลฮัมดุลิลละฮฺ ท่านบอกว่าได้ผลเด็กสนทนากันอย่างออกรส


 

เหตุผลที่ผมเสนอท่านไป...ผมมองอย่างในรูปครับ

   ผมมองว่าคนเรามีความคิดและคิดได้หลากหลายแน่ครับ หากเราไม่ปิดกั้นและยึดติดกับวิถีคิดเดิมๆ แม้กระทั่งเรื่องการสอนเพราะผมมองว่า คงไม่มีวิธีการสอนใดดีที่สุดเมื่อบริบทเปลี่ยนไปวิธีการสอนใหม่ก็ต้องมาแทนที่วิธีการสอนเดิมเพื่อเพิ่มเติมส่วนที่ควรจะก่อเกิดและขาดหายไปให้สมบูรณ์ และที่สำคัญผมมองว่าวิธีการสอนที่อิงกับบทบัญญัติทางศาสนา อย่างที่อาจารย์ IBM ครูปอเนาะ (อ.อิบรอเฮม หะยีสะอิ) ได้พยายามถ่ายทอดบทเรียนในหลายๆบล๊อกให้ได้อ่านทำอยู่ จะเป็นการสอนและบทเรียนที่ล้ำค่ามากๆครับ

   เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ไหม๊ ? ที่นักศึกษาไม่ควรอยู่แต่ในห้องเรียน แล้วเนื้อหาบทเรียนเป้นไปตามที่เขาอยากจะเรียนภายใต้กรอบของการนำไปใช้ได้จริงและไม่หลุดแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน

     ผมเชื่อครับว่า นักศึกษา เขามีความเป็นผู้แสวงหาอยู่ในตัวเพียงแต่เราต้องพยายามอย่ายัดเยีดความเป็นนักเรียนให้เขาอยู่ร่ำไปพยายามชี้แนะแต่อย่าชี้นำให้เขาได้สลัดคราบความเป็นนักเรียนและเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็นในการแสวงหาความรู้เปิดเวทีพื้นที่ให้เขาให้มากที่สุด จุดจบของคำตอบก็จะเป็นเราและเขาที่มีความสุขกันทั้งสองฝ่าย เราเองก็ได้มุมมองใหม่และการพัฒนาก็เกิดขึ้นเรื่อยเมื่อเรายอมรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

     บางครั้งมุมมองของนักศึกษาอาจดีกว่าเราก็ได้ใครจะไปรู้...วัลลอฮฺอะลัม

 

หมายเลขบันทึก: 272431เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชีวิต ต้นไม้ ใบหญ้า ยังเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ฉันใด วิถีคิดเดิมๆย่อมเปลี่ยนและเติบโต ไปตามกาลเวลา ฉันนั้น

ขอบคุณมากครับ

ไม่มีรูป 1. ปมอารมณ์

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

  • วันนี้ได้อ่านบทความของอธิการบดีบทหนึ่ง ท่านเขียนไว้นานมากแล้ว เอาว่างๆ ผมจะลงรายละเอียดอีกที
  • มีรายงานว่า ท่านนบีกล่าว ซึ่งมีความว่า ถ้านักศึกษามาหาท่าน ท่านจงกล่าว ยินดีต้อนรับ ด้วยคำสั่งเสีย(วะศิยะฮฺ) ของนบี
  • อุลามาอฺ อธิบายว่า คือ ท่านนบีสั่งเสียให้ให้เกียรติแก่นักศึกษา การที่ให้เขาพูด เขาแสดงความเห็น นั้นก็นับว่าเป็นการให้เกียรติอย่างหนึ่ง

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P 3. Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ขอบคุณที่เข้ามาเติมเต็มและเพิ่มพูนความรู้ที่ชัดแจ้งมากขึ้นครับเพื่อความสมบูรณ์แบบให้มากที่สุดของเนื้อหาครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท