การศึกษาและจิตวิทยาในสูเราะฮฺยูซุฟ (4)


เรื่องราวในอัลกุรอาน ไม่ใช่เรื่องที่กุขี้น แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุกแก่เราที่มีปัญญา

أعوذ بالله من الشيطان الرجيم

เราจะเล่าเรื่องราวที่ดียิ่งแก่เจ้า ตามที่เราได้วะฮีอัลกุรอานนี้แก่เจ้า
และหากว่าก่อนหน้านี้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ไม่รู้เรื่องราว

(อัลกุรอาน : สูเราะฮฺยูซุฟ 12/3)

ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับการศึกษาและจิตวิทยาจากอัลกุรอานในสูเราะฮฺยูซุฟมาสามตอนแล้ว จากนั้นก็ได้หยุดไป มัวเพลินกับไปเขียนเรื่องอื่นๆ เรื่องในสูเราะฮฺนี้ก็เลยไม่จบสักที (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3)

วันก่อน ดร.สุกรี มันยูนุ หัวหน้าสาขาวิชาชีพครู มาเยี่ยมผมถึงที่ทำงาน และสิ่งที่หนึ่งที่ท่านได้บอกผม ทำให้ผมรู้สึกว่าผมไม่เรื่องเลย ท่านบอกว่าถ้าจะศึกษาความหมายอัลกุรอานเกี่ยวกับการศึกษาต้องไปศึกษาจากตัฟซีร อิบนุอาชูร (ابن عاشور) บอกตรงๆว่าผมไม่เคยได้ยินเลย ผมก็เลยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดช่วยหาให้ผมหน่อย เขาหาไม่เจอครับ แต่เขาขอชื่อเต็มๆ บางทีอาจจะเจอ ผมก็เลยกลับไปสืบหาชื่อเต็ม  คือ تفسير التحرير ولتنوير ที่นี้เจ้าหน้าที่ก็หาก็เจอครับ ที่ห้องสมุดมีหลายชุด ชุดละ 15 เล่มโตๆ สมแล้วที่ ดร.สุกรี เขาบอกว่าเขาอยากซื้อมาก แต่ซื้อไม่ได้เพราะมันแพงเกินกว่าที่เงินเขามีอยู่

ผมก็ลองเซิรชหา e book ในอินเตอร์เน็ทนี้ ก็เจอครับ และผมก็ download มาเรียบร้อยแล้ว ใครสนใจหาดาว์นโลดได้จากนี้ครับ http://www.archive.org/details/tahrer_tanwer

เมื่อมีให้ผมอ่านแบบนี้ ผมก็อ่านไปเรื่อยๆครับ และนึกได้ว่าเคยเขียนการศึกษาจากสูเราะฮฺยูซุฟ ก็พลิกไปดูเล่มที่หกที่มีสูเราะฮฺยูซุฟ ก็ได้อ่านและทำให้มีความคิดว่า อ่านได้อะไรน่าจะบันทึกต่อในนี้

ในอายัตที่ 3 ในสูเราะฮฺยูซุฟนี้ อัลลอฮฺ ตรัสว่า  

ความว่า "เราจะเล่าเรื่องที่ดียิ่งแก่เจ้า ตามที่เราได้วะฮีย์อัลกุรอานนี้แก่เจ้า และหากว่าก่อนหน้านี้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ไม่รู้เรื่องราว"

อายัตก่อนหน้านี้อัลลอฮฺได้ตรัสว่าพระองค์ได้พระทานอัลกุรอานด้วยภาษาอาหรับ และในอายัตนี้พระองค์ก็ได้ตรัสอีกว่า ในอัลกุรอานนี้พระองค์ได้เล่าเรื่องราวที่ดียิ่ง และเรื่องในสูเราะฮฺยูซุฟนี้เป็นเรื่องของนบียูซุฟ ที่ครบสมบูรณ์ทั้งบทเรียนและข้อคิด

เรื่องเล่าต่างๆที่อัลลอฮฺเล่าในอัลกุรอาน ชนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เชื่ออัลกุรอาน ไม่ยอมรับอิสลาม เมื่อท่านนบีบอกเรื่องราวที่มาจากอัลกุรอานลักษณะนี้ พวเขาจะบอกว่า เป็นนิยายที่กุขึ้น ตามที่อัลลอฮฺได้ตรัสให้รู้คำพูดของพวกนั้นว่า

 وَقَالُوا أَسَاطِيرُ الْأَوَّلِينَ اكْتَتَبَهَا فَهِيَ تُمْلَى عَلَيْهِ بُكْرَةً وَأَصِيلاً 

ความว่า "และพวกเขากล่าวว่า "(อัลกุรอาน)เป็นนิยายของคนเก่าๆ ที่(มุฮัมมัด)เขียนขึ้น แล้วถูกนำมาอ่านให้ขึ้นใจ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น"" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลฟุรกอน 25/5)

โดยนิสัยของคนปฎิเสธแล้ว สมองเขาถูกปกปิด ตาของเขาแม้จะมองเห็นสิ่งของ วัตถุต่างๆ แต่ใจเขาไม่คิดหาความจริงเลย พวกเขาถูกมารมาหลอกหลอนให้ห่างไกลจากความจริง

เรื่องที่นบีเล่า พวกเขาหาว่าเป็นเรื่องที่กุขึ้น แต่งขึ้นแล้วมาเล่าในฝังรุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงและที่เล่ามาเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่คนที่มีปัญญา และเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในสมัยนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสในตอนหนึ่งว่า

  وَتِلْكَ الأيَّامُ نُدَاوِلُهَا بَيْنَ النَّاسِ

ความว่า "และบรรดาวันเวลาเหล่านั้นเราได้หมุนเวียนในระหว่างมนุษย์" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอาละอิมรอน 3/140)

เรื่องราวต่างๆที่มีในอัลกุรอาน เป็นประวัติศาสตร์ที่เที่ยงตรงที่สุด เพราะมาจากผู้สร้าง ไม่เหมือนประวัติศาสตร์บางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์คาดเดาแล้วนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราว บางกรณีหาหลักฐานไม่ได้เลย

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์นี้นับเป็นผลดีแก่เรามาก ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต

เมื่อวันเวลาที่อัลลอฮฺได้หมุ่นเวียนในหมู่มนุษย์อย่างเราๆ เหตุการที่คล้ายคลึงกัน จุดยืนของแต่ละคนในสมัย การตัดสินใจของพวกเขา เป็นบทเรียนแก่เราทั้งสิ้น และเป็นแบบอย่าง (Model) แก่ผู้มีปัญญาทุกคน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 272064เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เมื่อวานผมอ่านอัลกุรอานในซูเราะห์อัลอิสรอห์ แล้วสะดุดใจประเด็นหนึ่ง ซึ่งบังเอิญว่า มาตรงกับที่อาจารย์นำเสนอครับ วรรคที่ผมอ่านแล้วสะดุดเป็นวรรคที่ได้ยินกันบ่อยครับคือ

ผมคิดต่อนที่อ่านได้ว่า ภายใต้การอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตา อ่อนโยน จึงจะทำให้บุตรของเราเป็นผู้ที่อ่อนโยน และเป็นบุตรที่ดีที่เฝ้าคอยขอพรให้แก่เราเมื่อเรากลับไปหาอัลลอฮ์

หากพ่อแม่ เป็นแข็งกระด้าง ลูกก็เป็นอย่างนั้น ตามแบบเรา ดังเช่นวรรคนี้ที่นำเสนอว่า ในการขอพรให้พ่อแม่นั่น บุตรอ้างอิงไปยังการกระทำที่พ่อแม่เคยทำไว้

والله أعلم

 

 

  • ครับ แต่เป็นการมองอีกมุมมองหนึ่งของอายัตนี้
  • ผมก็เคยพูดถึงอายัตนี้ในเรื่อง "รูแย้"
  • ถ้าเราต้องการให้ตัวเราพอแก่เฒ่าแล้วได้ไปอยู่บ้านคนชรา หรือพอลูกเติบโตแล้วตัวใครตัวมัน (อย่างกรณีพ่อฟ้องลูก ลูกฟ้องพ่อที่มีข่าวอยู่ทุกวันนี้) ก็จงเลี้ยงลูกตามทฤษฎีที่พวเขาใช้ แต่ถ้าให้ลูกนบน้อม เคารพในบิดามารดามาตลอด (ทั้งคำพูดและการกระทำ)ก็จงเลี้ยงดูอย่างอายาตในสูเราะฮฺนี้
  • ตามมาบันทึก  เสาะห้องเด็กค่ะ
  • มาทำความรู้จักด้วยคน
  • เป็นคนยะลาเช่นกัน
  • แต่ก่อนๆเคนไปขี่จักรยานแถวๆมหาลัยฯนี้ด้วยบ่อยๆ
  • อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
  • แต่ชอบอ่าน
  • โดยเฉพาะบทสวด (หรือเปล่าคะ)
  • น่าฟังมาก

ตามมาเรียนรู้...อัลฮัมดุลิลละฮิมากครับ สำหรับบทเรียนในวันนี้ ผมเปิดเว็บไซต์ที่อาจารย์โหลดมานึกว่ามีฉบับแปลภาษาไทยด้วย อิอิ พอเจอปุ๊บ ขำกับตัวเองเลยครับ ฮ่าๆ ยังไงก็อย่าลืมดูแลสุขภาพนะครับ

  • ขอบคุณมากครับ คุณ มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)
  • ถ้าเรียนคณะราษฏรฯ เราก็เป็นพี่น้องกัน
  • และถ้าเป็นเสีอภูเขาด้วยแล้ว ผมก็เป็นคนหนึ่ง ปั่นจากบ้านมาเมืองยะลาบ่อย(๒๐ กว่ากิโล) แต่ช่วงนี้ขอพักจนขาหายดีก่อน(ไม่รู้เมื่อไร) แล้วจะกลับไปเป็นอีก
  • บันทึกที่ผมเขียนนี้ อาจจะอ่านยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย
  • ไม่ใช่บทสวดครับ แต่เป็นคำสอน พวกเราถือว่า เป็นธรรมนูญชีวิต ภาษาอาหรับเป็นภาษาต้นฉบับ(ผมพออ่านรู้เรื่องบ้าง) เวลาอ่านเขาจะอ่านเป็นทำนอง ถือว่าได้บุญมากกว่าอ่านธรรมดา และมันจะเพราะมาก
  • กลับยะลาเมื่อไรบอกด้วยนะครับ อาจจะได้เจอกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท